อำเภอเมืองสระบุรี
อำเภอเมืองสระบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Saraburi |
คำขวัญ: พระพุทธฉายสูงค่า ครกหินชั้นดี ถิ่นคนดีมีน้ำใจ ล้ำสมัยเมืองชุมทาง | |
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอเมืองสระบุรี | |
พิกัด: 14°31′38″N 100°54′35″E / 14.52722°N 100.90972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 301.6 ตร.กม. (116.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 117,032 คน |
• ความหนาแน่น | 388.04 คน/ตร.กม. (1,005.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 18000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1901 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี ถนนเทศบาล 3 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองสระบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดสระบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองสระบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแก่งคอย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวิหารแดงและอำเภอหนองแค
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองแซงและอำเภอเสาไห้
ประวัติ
[แก้]อำเภอนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียวริมแม่น้ำป่าสักที่คลองแยกออกมา คลองนี้มีลักษณะปากคลองกว้าง และเรียวไปตลอดทางคดไปคดมา คลองนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า "คลองเพรียว" ตำบลที่ตั้งอยู่ในปากคลองนี้จึงเรียกว่า "ตำบลปากคลองเพรียว" แต่เมื่อเรียกกันมากๆ เข้าคำว่าคลองจึงตกหายไป จึงเรียกว่า "ปากเพรียว" ซึ่งมาจากคำว่า "ปากคลองเพรียว" นั่นเอง
อำเภอเมืองสระบุรีตั้งอยู่ในตำบลนี้ขึ้นต่อจังหวัดสระบุรี ซึ่งที่ตั้งศาลากลางจังหวัด อยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ครั้นต่อมาทางราชการเห็นว่าชื่ออำเภอที่มีชื่อว่า อำเภอเมืองสระบุรีนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียว และอยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ จึงได้เปลี่ยนชื่อของอำเภอ เป็นอำเภอปากเพรียว ครั้นต่อมาได้มีการสร้างทางรถไฟจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรี (สมัยนั้น) ไปยังจังหวัดนครราชสีมา ได้ผ่านตำบลปากเพรียว การคมนาคมทางบกจึงสะดวกขึ้น ความเจริญของตำบลปากเพรียวจึงได้เจริญขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้ย้ายตัวที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระบุรี จากตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ มาตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียว เป็นอำเภอเมืองสระบุรีตามเดิม เพื่อให้สมกับเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด จึงได้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันนี้[1]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี เป็นเทศบาลเมืองสระบุรี[2]
- วันที่ 7 มีนาคม 2480 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[3]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านเขาตะกร้า (ในขณะนั้น) ของตำบลปากข้าวสาร มาขึ้นกับตำบลปากเพรียว[4]
- วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลพึ่งลาว อำเภอเมืองสระบุรี เป็น ตำบลผึ้งรวง และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองเอี่ยน อำเภอเมืองสระบุรี เป็น ตำบลหนองปลาไหล[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโคกสว่าง แยกออกจากตำบลหนองโน และตำบลนาโฉง[6]
- วันที่ 16 ตุลาคม 2494 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (1,2,3)[7]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 1 ทั้งหมู่ และหมู่ 2 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลดาวเรือง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 2 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 9 ตำบลดาวเรือง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 1 และ 2 ของตำบลดาวเรือง
- (2) โอนพื้นที่หมู่ที่ 2 บางส่วน และหมู่ 4 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลนาโฉง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 2 บางส่วน และหมู่ 4 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 3 ตำบลนาโฉง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 2 และ 4 ของตำบลนาโฉง
- (3) โอนพื้นที่หมู่ที่ 1 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลผึ้งรวง ซึ่งถูกตัดเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปขึ้นกับตำบลปากเพรียว และโอนพื้นที่หมู่ 1 บางส่วน ที่เหลือจากการถูกตัดโอนเข้าอยู่ในเขตเทศบาล ไปรวมกับหมู่ 2 ตำบลผึ้งรวง และยุบพื้นที่หมู่ที่ 1 ของตำบลผึ้งรวง
- วันที่ 26 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลหน้าพระลาน ในท้องที่บางส่วนของตำบลพุแค[8]
- วันที่ 8 กันยายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองโน[9]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลหน้าพระลาน แยกออกจากตำบลพุแค[10]
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2517 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[11]
- วันที่ 13 มีนาคม 2522 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหน้าพระลาน เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[12]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลเขาดินพัฒนา แยกออกจากตำบลห้วยบง[13]
- วันที่ 27 กันยายน 2526 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดนกเปล้า ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลปากข้าวสาร[14]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลเขาดินพัฒนา ตำบลบ้านแก้ง ตำบลผึ้งรวง ตำบลพุแค ตำบลห้วยบง และตำบลหน้าพระลานอำเภอเมืองสระบุรี มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[15] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก เป็นเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองสระบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 77 หมู่บ้าน
1. | ปากเพรียว | (Pak Phriao) | - | 7. | ปากข้าวสาร | (Pak Khao San) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | ดาวเรือง | (Dao Rueang) | 8 หมู่บ้าน | 8. | หนองปลาไหล | (Nong Pla Lai) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | นาโฉง | (Na Chong) | 3 หมู่บ้าน | 9. | กุดนกเปล้า | (Kut Nok Plao) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | โคกสว่าง | (Khok Sawang) | 12 หมู่บ้าน | 10. | ตลิ่งชัน | (Taling Chan) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | หนองโน | (Nong No) | 10 หมู่บ้าน | 11. | ตะกุด | (Takut) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | หนองยาว | (Nong Yao) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองสระบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากเพรียวทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองโน
- เทศบาลตำบลกุดนกเปล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดนกเปล้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตะกุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดาวเรือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดาวเรืองและตำบลนาโฉงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสว่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากข้าวสารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาไหลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]ประวัติอำเภอเมืองสระบุรี
- ↑ [2]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘
- ↑ [3]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๐
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอหนองโดน อำเภอสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [5] เก็บถาวร 2012-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒
- ↑ [6] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอบ้านหมอ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
- ↑ [11]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหน้าพระลาน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- ↑ [15] เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙