ชุดาภา จันทเขตต์
ชุดาภา จันทเขตต์ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ชุดาภา จันทเขตต์ |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2511 จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2530–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ทองประกาย - ทองประกายแสด วันแรม - สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ผีอีเม้ย - รอยไหม |
นาฏราช | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2554 - รอยไหม |
คมชัดลึก | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 - รอยไหม |
ชุดาภา จันทเขตต์ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2511) ชื่อเล่น ชุ เป็นนักแสดงและผู้กำกับละครชาวไทย
ประวัติ[แก้]
ชุดาภา จันทเขตต์ หรือ ชุติมา จันทเขตต์ ชื่อเล่น ชุ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2511[1] เป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และ ละครเวที เป็นชาวอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรสาวของ วิจิตร และสุรางค์ จันทเขตต์ มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน โดยเธอเป็นบุตรคนที่ 4 [1]
ชุดาภา จันทเขตต์ สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. จากพณิชยการธนบุรี โดยเธอผ่านการทดสอบจากผู้สมัครกว่า 5,000 คนเข้าเป็นนักเรียนการแสดงของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รุ่นที่ 8 ในปี พ.ศ. 2530 ทำให้ได้เรียนรู้วิชาการแสดงและทักษะในด้านต่างๆของวงการบันเทิงจากคณาจารย์ชั้นนำในประเทศไทย เช่น สดใส พันธุมโกมล หรือ ฮันส์ เฮอดินัลด์ ฯลฯ[1]
ชุดาภา จันทเขตต์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกในละครโทรทัศน์เรื่อง ทายาท ทางช่อง 3 และจากละครโทรทัศน์เรื่องนี้ทำให้เธอได้รับการติดต่อจาก ชนะ คราประยูร ที่กำลังหานางเอกใหม่มาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ทองประกายแสด[2] ที่สร้างจากนิยายของสุวรรณี สุคนธา ของทางบริษัทไฟว์สตาร์ ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้เธอเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วประเทศ [1]
ชุดาภา จันทเขตต์ มีผลงานการแสดงละครโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง เช่น ทายาท, ช่างร้ายเหลือ, สุดแต่ใจจะไขว่คว้า, กฤตยา, เปลือก, วิมานไฟ, สมเด็จพระสุริโยทัย, พริกหวานน้ำตาลเผ็ด, หมาดำ, บังเกิดเกล้า, จำเลยกามเทพ ฯลฯ โดยมีผลงานละครโทรทัศน์ที่มีความโดดเด่นในช่วงยุคหลังอย่าง สี่แผ่นดิน, ทาสรัก และ รอยไหม ในบทบาท อีเม้ย [3] ซึ่งบทบาทนี้ได้รับรางวัล MThai Top Talk-About 2012 สาขา Top Talk About Best Scene ,รางวัล คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม และ รางวัลนาฏราช สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม[4]
นอกจากการเป็นนักแสดงแล้ว ยังเป็นครูผู้ฝึกสอนการแสดงของบริษัทชลลัมพีและสถาบันฝึกสอนการแสดง Suwanan Akademy ได้รับการยอมรับและได้รับความนับถือ [1]
ผลงาน[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
- 2531 ทายาท ช่อง 3 คู่กับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
- 2532 ช่างร้ายเหลือ ช่อง 3 คู่กับ ไพโรจน์ สังวริบุตร
- 2532 สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ช่อง 3 รับบทเป็น วันแรม
- 2532 กฤตยา ช่อง 3 คู่กับ ฉัตรชัย เปล่งพานิช
- 2533 เปลือก ช่อง 3
- 2533 แม่ลาวเลือด ช่อง 3
- 2533 วิมานไฟ ช่อง 3 รับบทเป็น ทาทอง (นิด)
- 2534 บ้านสาวโสด ช่อง 3 รับบทเป็น คุณกลาง/โสภาภิณพิศ
- 2534 ปาก ช่อง 3 รับบทเป็น รอย คู่กับ รอน บรรจงสร้าง
- 2534 เขาวานให้หนูเป็นสายลับ ช่อง 3 รับบทเป็น ดาริกา
- 2535 สมเด็จพระสุริโยทัย ช่อง 3 รับบทเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์
- 2535 พริกหวานน้ำตาลเผ็ด ช่อง 3 รับบท สกุลเกศ คู่กับ รอน บรรจงสร้าง
- 2535 เดือนดับที่สบทา ช่อง 3
- 2535 หมาดำ ช่อง 5
- 2536 เพลงบินใบงิ้ว ช่อง 9
- 2536 ภูตพยาบาท ช่อง 3
- 2536 แม่ย่านาง ช่อง 9
- 2536 - 2537 แม่พลอยหุง ช่อง 3
- 2537 สาวรำวง ช่อง 3
- 2537 คุณนายโอซาก้า ช่อง 5
- 2537 แม่นาคพระโขนง ช่อง 5 รับบทเป็น พิม
- 2538 สกาวเดือน ช่อง 3
- 2538 สายน้ำไม่เคยหลับ ช่อง 3
- 2539 เข็มซ่อนปลาย ช่อง 3
- 2539 ทอฝันกับมาวิน ช่อง 5 รับบทเป็น ละดา (น้องสาวของหรรษา)
- 2540 ตามหัวใจไปสุดหล้า ช่อง 3 รับบทเป็น โซไรดา
- 2540 ขังแปด ช่อง 5
- 2540 บ่วงดวงใจ ช่อง 3
- 2541 บ้านไร่ เรือนรัก ช่อง 3
- 2541 บังเกิดเกล้า ช่อง 3
- 2541 สี่ไม้คาน ช่อง 3
- 2541 ความรักกับเงินตรา ช่อง 3
- 2543 บุญรอด ช่อง 3 (รับเชิญ)
- 2543 รอยมาร ช่อง 3 รับบทเป็น ศรีอำไพ (รับเชิญ)
- 2544 ทายาทอสูร ช่อง 7 รับบทเป็น นาเรศ
- 2544 แม่โขง ช่อง 7
- 2544 สาวฮอทหนุ่มเฮ้ว ช่อง 3
- 2544 ฉันไม่รอวันนั้น ช่อง 3
- 2545 น้ำพุ ช่อง 7
- 2545 หนูชื่อทองสร้อยค่ะ ช่อง 3
- 2545 ทะเลฤๅอิ่ม ช่อง ITV
- 2546 นางโชว์ ช่อง 3 รับบทเป็น อาภา ธรรมพิทักษ์
- 2546 สี่แผ่นดิน ช่อง 9
- 2547 ในเรือนใจ ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2548 สาวน้อยอ้อยควั่น ช่อง 7
- 2548 กุหลาบสีดำ ช่อง 3 รับบทเป็น ขวด
- 2548 พี่น้อง 2 เลือด ช่อง 9
- 2548 ชุลมุนวุ่นรัก ช่อง 7
- 2548 คุณหนูดอกฟ้ากะแมวข้างบ้าน ช่อง 7
- 2548 จันทร์ ฤ จะฉาย ช่อง 3
- 2549 ซอย 3 สยามสแควร์ ช่อง 3
- 2549 ลิขิตหัวใจ ช่อง 7
- 2549 ในฝัน ช่อง 9
- 2550 เจ้าหญิงขอทาน ช่อง 3
- 2550 เทพธิดาขนนก ช่อง 3
- 2550 ร่ายริษยา ช่อง 3
- 2550 ดอกฟ้ายาใจ ช่อง 7
- 2550 ทะเลสาบนกกาเหว่า ช่อง 7
- 2550 ผู้พิทักษ์สี่แยก ช่อง 7
- 2550 ผู้พิทักษ์สี่แยก ภาค 2 ช่อง 7
- 2550 ดั่งดวงตะวัน ช่อง 3
- 2551 ดาวเปื้อนดิน ช่อง 7
- 2551 ชมพู่แก้มแหม่ม ช่อง 3
- 2551 ดินเนื้อทอง ช่อง 3
- 2551 รักเธอยอดรัก ช่อง 3
- 2551 คู่ป่วนอลวน ช่อง 7
- 2552 จำเลยกามเทพ ช่อง 3
- 2552 ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง 3
- 2552 สะใภ้ใจเด็ด ช่อง 7
- 2553 มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 3 รับบทเป็น แม่คอน
- 2554 ทาสรัก ช่อง 3
- 2554 รอยไหม ช่อง 3
- 2554 รักปาฏิหาริย์ ช่อง 3
- 2554 บังเกิดเกล้า ช่อง ดีเอ็มซีทีวี
- 2555 สื่อรักสัมผัสหัวใจ ช่อง 3
- 2555 อำแดงเหมือนกับนายริด ไทยพีบีเอส
ละครไม่ได้ออกอากาศ[แก้]
- 2543 กาเหว่า ช่อง 3
ภาพยนตร์[แก้]
- 2531 ทองประกายแสด
- 2533 ผลุบโผล่
- 2533 เทวดาตกสวรรค์
- 2533 แม่นาคคืนชีพ
- 2533 ก้อนหินในดินทราย
- 2534 กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้
- 2534 อย่างงี้ซิสะเป็ค
- 2535 อนึ่งคิดถึงพอสังเขป
- 2535 ฝากฝันไว้เดี๋ยว จะเลี้ยวมาเอา
- 2536 เธอของเรา ของเขา หรือของใคร
- 2536 ผ่าโลกเพลงลูกทุ่ง
- 2553 ตี๋ใหญ่ จอมขมังเวทย์
- 2553 ชั่วฟ้าดินสลาย
- 2554 ศพเด็ก 2002
- 2555 ค่าน้ำนม
- 2555 จัน ดารา ปฐมบท
- 2556 จันดารา ปัจฉิมบท
ละครเวที[แก้]
- 2535 จิ้งจอกลอกลาย (The Little Foxes หรือ เรือนอาญารัก) รำลึก เบตตี เดวิส (โรงละคร A.U.A./ วันที่ 18-20, 25-27 และ 29-30 กันยายน)
- 2536 แม่ยายไม่เคยยุ่ง (โรงละครกรุงเทพ/ 10-12, 17-19, 24-26 กันยายน และ 1-3, 8-1, 15-17 ตุลาคม)
- 2537 สาวสติเสีย (โรงละครกรุงเทพ/ 25-27 กุมภาพันธ์ 2537 และ 4-6 , 11-13 มีนาคม)
- 2537 บุษบาก๋ากั่น (โรงละครกรุงเทพ/ 24-26 มิถุนายน 2537, วันที่ 1-3, 29-30 กรกฎาคม)
มิวสิควีดีโอ[แก้]
- เพลง หัวใจที่ว่างเปล่า - พัชรา แวงวรรณ (2535)
- เพลง ยังจำทน - ยิ่งยง โอภากุล (2535)
ผลงานกำกับการแสดง[แก้]
- ทองประกายแสด ปี 2555 ทางช่อง 8 และ โซนิค ยูธ นำแสดงโดย สาวิกา ไชยเดช ร่วมด้วยธนา สุทธิกมล อัษฏาวุธ เหลืองสุนทร จิระ ด่านบวรเกียรติ (ฟลุ๊ค ซีควินท์) วรวุฒิ นิยมทรัพย์ อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม (แบงค์ แบล็ควานิลลา) ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม ปรมะ อิ่มอโนทัย ศุกล ศศิจุลกะ
- พรพรหมอลเวง ปี 2556 ช่อง 3 และ เวฟ ทีวี นำแสดงโดย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ราณี แคมเปน นิธิ สมุทรโคจร ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ อริสรา ทองบริสุทธิ์
- กากับหงส์ ปี 2556 ช่อง 8 และ โซนิค ยูธ นำแสดงโดย สาวิกา ไชยเดช กวี ตันจรารักษ์ วนิดา เติมธนาภรณ์ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม ปภัสรา เตชะไพบูลย์ สถาพร นาควิไล
- ไฟรักเพลิงแค้น ปี 2557 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย มทิรา ตันติประสุต กฤษฎา พรเวโรจน์ วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธารา ทิพา
- ลมซ่อนรัก ปี 2558 และ ฟีล กู๊ด ช่อง 3 นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ ณฐพร เตมีรักษ์ ธัญชนก กู๊ด
- แก้วตาหวานใจ ปี 2558 ช่อง 3 และ เวฟ ทีวี นำแสดงโดย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง ด.ญ.นิชัญญา สุดประเสริฐ
- สองหัวใจนี้เพื่อเธอ ปี 2558 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง
- เกมเสน่หา ปี 2561 ช่อง 3 และ ละครไท นำแสดงโดย จิรายุ ตั้งศรีสุข ณฐพร เตมีรักษ์
- ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง ปี 2562 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
- ตราบฟ้ามีตะวัน ปี 2563 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย ปริญ สุภารัตน์ สุภัสสรา ธนชาต
- นับสิบจะจูบ Lovely Writer ปี 2564 ช่อง 3 และ ดีทุกวัน 2019 นำแสดงโดย ภูมิพัฒน์ เอี่ยมสำอาง นพเก้า เดชาพัฒนคุณ
- Golden Blood รักมันมหาศาล ปี 2564 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย ธารา ทิพา ณภัทร ณ ระนอง
- หมอหลวง ปี 2566 ช่อง 3 และ โซนิค บูม นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ และ คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ
รางวัล[แก้]
- รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 3 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง รอยไหม
- รางวัล คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง รอยไหม
- รางวัล MThai Top Talk-About 2012 สาขารางวัลพิเศษ Top Talk About Best Scene (บทบาท ซีนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด)[5]
- เข้าชิง รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น จากละคร วิมานไฟ ปี 2534
- เข้าชิง รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละคร วิมานไฟ ปี 2534
- เข้าชิง รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดารานำหญิงดีเด่น จากละคร เพลงบินใบงิ้ว ปี 2536
- รางวัล ทีวีสีขาว ครั้งที่ 2 สาขาผู้กำกับละครยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 always on my mind...: ชุดาภา จันทเขตต์
- ↑ http://www.thaifilmdb.com/th/tt00765
- ↑ ชุดาภา จันทเขตต์ ที่รับบทเป็น ผีอีเม้ย
- ↑ "แรงจริง! "ณเดชน์" ควง "ชมพู่" คว้านำชาย/หญิงนาฏราช ครั้งที่ 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
- ↑ "สรุปผลรางวัล การประกาศรางวัล MThai Top Talk-About 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.