อดุล จันทรศักดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดุล จันทรศักดิ์

เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
จังหวัดปราจีนบุรี
นามปากกา"อัคนี หฤทัย"
"ธารี"
อาชีพข้าราชการตุลาการ
นักเขียน
กวี
สัญชาติไทย

ลายมือชื่อ

อดุล จันทรศักดิ์ (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์ บทความ) พ.ศ. 2551 อดีตข้าราชการตุลาการ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลปกครองอุดรธานี[1] เจ้าของนามปากกา "อัคนี หฤทัย" และ "ธารี"

ประวัติ[แก้]

อดุล จันทรศักดิ์ นักเขียนและกวีผู้ใช้นามปากกาว่า "ธารี" และ "อัคนี หฤทัย" ฯลฯ เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 แต่เติบโตที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากบิดารับราชการที่โรงงานสุรา สังกัดกรมอุตสาหกรรม (ปัจจุบันย้ายมาสังกัดกรมสรรพสามิต) ได้ย้ายมาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2502 ขณะนั้น นายอดุล จันทรศักดิ์มีอายุได้ 13 ปี โดยครอบครัวได้ตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน นายอดุล จันทรศักดิ์ มีพี่สาว 1 คน ส่วนตนเองเป็นลูกคนที่ 2 เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง[2] จังหวัดปราจีนบุรี ได้ข้ามชั้น 1 ปี และเมื่อ พ.ศ. 2500 เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (เท่าก้บมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปัจจุบัน) ได้ย้ายเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร และเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) จนดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างวินัยและรักษาระบบคุณธรรม แล้วโอนไปรับราชการเป็นข้าราชการตุลาการ ที่ศาลปกครอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก

นายอดุล จันทรศักดิ์ เริ่มแต่งร้อยกรองตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม เมื่อเป็นนิสิต ได้เป็นตัวแทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันกลอนสดระหว่างสถาบัน เคยได้รับรางวัลเกียรตินิยมวรรณศิลป์ มีผลงานกลอนรวมเล่มกับนักกลอนร่วมสมัยหลายเล่ม นายอดุล จันทรศักดิ์ ยังคงสร้างสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์ อย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยเขียนบทกวีประจำในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ บทกวีเหล่านี้เป็นผลงานที่มีคุณค่า ภายหลังได้นำมารวมเล่ม ได้รับรางวัลระดับชาติหลายรางวัลและยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดผลงานคีตศิลป์ต่อเนื่องไปอีกด้วย กวีนิพนธ์ของนายอดุล จันทรศักดิ์ เป็นการสื่อสารแก่สังคมให้ผู้อ่านได้ร่วมรับรู้ ร่วมรู้สึก ร่วมคิด ทั้งคิดย้อนคิดแย้ง ทำให้เกิดพลังทางปัญญาและได้รับความสะเทือนอารมณ์อย่างลุ่มลึกไปพร้อมกัน นายอดุล จันทรศักดิ์ ได้สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 40 ปี และยังคงทำงานเขียนต่อไปด้วยใจรักอย่างแท้จริง

เมื่อปลาย พ.ศ. 2510 นายอดุล จันทรศักดิ์ ได้สร้างผลงานกลอนชื่อ บทเพลงเหนือสุสาน ซึ่งใช้นามปากกา "ธารี" จนได้รับรางวัลเกียรตินิยมวรรณศิลป์ของชมรมวรรณศิลป์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทกวีนี้มีเนื้อหาต่อต้านการที่รัฐบาลไทยส่งทหารไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามเวียดนาม

หนังสือ "ณ กาลเวลา" รวมผลงานกวีของ นายอดุล จันทรศักดิ์

ส่วนผลงานกลอนของนายอดุล จันทรศักดิ์ ได้ตีพิมพ์รวมเล่มกับนักกลอนร่วมสมัยหลายเล่มอย่าง "ไฟอารมณ์" ซึ่งรวมกลอนกับเพื่อนนักกลอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "นิล" รวมกลอนกับเพื่อนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "ลอยชาย" และ "ใบไม้แห่งนาคร" รวมกลอนกับเพื่อนต่างคณะและต่างมหาวิทยาลัย แต่ไม่เพียงเท่านี้ นายอดุล จันทรศักดิ์ ยังเป็นสมาชิกประจำในการเล่นสักวากลอนสดของสโมสรสยามวรรณศิลป์ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น

เมื่อ พ.ศ. 2532 นายอดุล จันทรศักดิ์ ได้รับเชิญจากนายสุภาพ คลี่ขจาย อดีตประธานชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เขียนกลอนประจำหน้า 3 หนังสือพิมพ์แนวหน้าวันอาทิตย์ โดยใช้นาม ปากกา "อัคนี หฤทัย" ซึ่งเป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างคมคาย โดยต่อมาได้รวมเล่มและใช้ชื่อว่า "ดอกไม้ไฟ" จึงได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประเภทกวีนิพนธ์จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อนึ่งบทกวีชื่อ "จุมพิตและเพลงลา" และ "ตำนานถนนราชดำเนิน" ได้รับยกย่องเป็นบทกวีดีเด่นของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2534 และปี พ.ศ. 2535 ตามลำดับ

ต่อมาจากนั้น นายอดุล จันทรศักดิ์ ยังได้รับเชิญจากนายขรรค์ชัย บุนปาน ให้เขียนกลอนประจำในหนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันอาทิตย์ โดยใช้ชื่อคอลัมน์ว่า "ณ กาลเวลา" และใช้นามปากกา "อัคนี หฤทัย" ตลอดระยะเวลา 5 ปี ซึ่งในคอลัมน์ดังกล่าวเขาได้แสดงทัศนวิพากษ์บุคคลและสังคมด้วยคารมคมคาย ด้วยความคิดอิสระและลีลาวรรณศิลป์ที่งดงาม จนคณะกรรมการกองทุนหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ "อัคนี หฤทัย" ได้รับรางวัลนักเขียนคอลัมน์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2548

ส่วนความหมายต่าง ๆ หรือที่มาของนาม ปากกานั้น นายอดุล จันทรศักดิ์ บันทึกไว้ว่า "...ชีวิตของอดุล จันทรศักดิ์ เป็นขั้นที่ราบเรียบและมั่นคงของนักกฎหมาย ทอดสูงขึ้นไปอย่างภาค ภูมิใจในแต่ละช่วงชีวิต ตั้งแต่เริ่มต้นถึงขั้นปลาย โดยอีกนัยหนึ่งถ้ามองถึงบุคคลท่านนี้จะมีถึงสามบทบาท อาจสรุปได้ว่าชื่อของ อดุล จันทรศักดิ์ เป็นหน้าที่ อัคนี หฤทัย เป็น ปัญญา และธารี เป็นอารมณ์ ซึ่งเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในการดำเนินชีวิตไปได้ด้วยคุณค่าจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ โดย อดุล จันทรศักดิ์ รู้ว่าตัวเองต้อง ทำอะไร อัคนี หฤทัย รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร ส่วนธารี นั้นรู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร และเมื่อครบทั้งสามประการ อดุล จันทรศักดิ์ อัคนี หฤทัย และธารี จึงสามารถล่องแพไม้ ไผ่กลางกระแสธารของกาลเวลามายาวนาน กว่า 40 ปี อย่างที่เห็นจนถึงปัจจุบัน..."

สำหรับจุดเด่นในงานกวีนิพนธ์ของนายอดุล จันทรศักดิ์ อยู่ที่การแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์ และปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมและการเมืองอย่างเฉียบแหลม คมคายด้วยลีลากลอนเฉพาะตัว ทั้งละเมียดละไมและแฝงนัยอย่างมีอารมณ์ขัน และกล่าวได้ว่า นายอดุล จันทรศักดิ์ นั้นจะสร้างสรรค์กวีนิพนธ์เพื่อสื่อสารแก่สังคมให้ผู้อ่านได้ร่วมรับรู้ ร่วมรู้สึก ร่วมคิด ทั้งคิดย้อนคิดแย้ง ทำให้เกิดพลังทางปัญญาและได้รับความสะเทือนอารมณ์อย่างลุ่มลึกไปพร้อมกัน กว่า 40 ปี ของการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจุดยืนและอุดมการณ์อันแน่วแน่ในการรักษาความจริง ความถูกต้องและความเที่ยงธรรม พร้อมกับยืนหยัดในการปกป้องเสรีภาพทางความคิดและการกระทำ กวีนิพนธ์ของท่านนั้นจะมีความโดดเด่นในด้านพัฒนาการทางความคิด ทางอารมณ์และเปี่ยมด้วยพลังทางวรรณศิลป์ จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2551

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งราชการสำคัญ[แก้]

ไฟล์:อดุล จันทรศักดิ์0003.jpg
นายอดุล จันทรศักดิ์ รองอธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก บรรยายเรื่อง การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ณ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

หน้าที่ความรับผิดชอบ[แก้]

ผลงานในหน้าที่ราชการที่สำคัญในอดีต[แก้]

  • พ.ศ. 2540 - อนุกรรมการการอุทธรณ์และร้องทุกข์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2541 - กรรมการสอบสวนคดีทุจริตในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2542 - กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนกรณีทุจริตในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และวัสดุการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

กิจกรรมในอดีต[แก้]

  • พ.ศ. 2509 - สารณียากรคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2510 - ประธานชมรมวรรณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2510 - สารณียากรสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมทางสังคม[แก้]

รางวัลทางสังคม[แก้]

คุณค่าผลงานวรรณกรรม[แก้]

จุดเด่นในงานกวีนิพนธ์ของนายอดุล จันทรศักดิ์ อยู่ที่การแสดงทัศนะวิพากษ์ วิจารณ์และปฏิกิริยา ทางอารมณ์ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมและการเมืองอย่างเฉียบแหลม คมคาย ด้วยลีลากลอนเฉพาะตัว ทั้งละเมียดละไมและแฝงนัยอย่างมีอารมณ์ขัน กล่าวได้ว่า นายอดุล จันทรศักดิ์ สร้างสรรค์กวีนิพนธ์เพื่อสื่อสารแก่สังคมให้ผู้อ่านได้ร่วมรับรู้ ร่วมรู้สึก ร่วมคิด ทั้งคิดย้อนคิดแย้ง ทำให้เกิดพลังทางปัญญาและได้รับความสะเทือนอารมณ์อย่างลุ่มลึกไปพร้อมกันกว่า 40 ปีของการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์อย่างต่อเนื่อง นายอดุล จันทรศักดิ์ มีจุดยืนและอุดมการณ์ อันแน่วแน่ในการรักษาความจริง ความถูกต้องและความเที่ยงธรรม พร้อมกับยืนหยัดในการปกป้องเสรีภาพทางความคิดและการกระทำ กวีนิพนธ์ของอดุล จันทรศักดิ์ มีความโดดเด่นในด้านพัฒนาการทางความคิด ทางอารมณ์และเปี่ยมด้วยพลังทางวรรณศิลป์ นายอดุล จันทรศักดิ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2551

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จดหมายข่าวสำนักงานศาลปกครอง เก็บถาวร 2013-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2555 หน้า 4. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
  2. ทำเนียบศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2014-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น จำนวน 87 ราย, เล่ม 118, ตอนที่ 21 ง, 13 มีนาคม พ.ศ. 2544, หน้า 9.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง จำนวน 3 ราย, เล่ม 118, ตอนที่ 86 ง, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544, หน้า 17.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น, เล่ม 129, ตอนที่ 127 ง, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555, หน้า 11.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เรื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๖๑, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙