ข้ามไปเนื้อหา

ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลเอก ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ (พ.ศ. 2478 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ. ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2478 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างยากจน โดยบิดาเป็นนายตำรวจยศพันตำรวจโท มารดาเป็นแม่บ้าน เป็นลูกชายเพียงคนเดียวในบรรดาลูกทั้งหมด 5 คน

พล.อ. ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ สมรสกับนางจุฑามณี เอี่ยมสุพรรณ ซึ่งเป็นอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 8 คน[1]

การศึกษา

[แก้]

พล.อ. ปรีชา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ[1] และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

พล.อ.ปรีชา เมื่อรับราชการ ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารนักรบ ผ่านสมรภูมิต่าง ๆ เช่น การปราบปรามคอมมิวนิสต์, สงครามเวียดนาม และสงครามกลางเมืองลาว จนได้เงินเพิ่มสู้รบมากถึง 16 ขั้น ซึ่งนับว่ามากที่สุดในกองทัพไทย

เคยเป็นรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการในขณะที่ พล.อ. ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2534

ตำแหน่งทหาร

[แก้]
  • พ.ศ. 2503 : ประจำศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • พ.ศ. 2503 : ผู้บังคับหมวด กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2504 : ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2506 : รองผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 : ผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 : นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2513 : หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารราบที่ 3
  • พ.ศ. 2515 : หัวหน้าแผนก กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 : นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 : หัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง กองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2520 : รองเสนาธิการ กองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2524 : เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2527 : รองเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2528 : เสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2532 : รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2534 : หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2538 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

ราชการพิเศษ

[แก้]
  • พ.ศ. 2508 : ปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2512 : ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธกาทางรอากาศ กองพลทหารอาสาสมัคร
  • พ.ศ. 2514 : ปฏิบัติราชการพิเศษในพระราชอาณาจักรลาว
  • พ.ศ. 2519 : ปฏิบัติราชการปรามปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2524 : ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศของกองทัพบก
  • พ.ศ. 2529 : นายทหารราชองครักษ์[2]
  • พ.ศ. 2532 : ราชองครักษ์เวร[3]
  • พ.ศ. 2535 : ราชองครักษ์เวร[4]
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ : ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

งานพิเศษ

[แก้]

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ได้ผันตัวเองเข้าทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา โดยเป็นที่ปรึกษาและรองประธานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือที่นิยมเรียกว่า "ศูนย์คุณธรรม" ซึ่งตั้งขึ้นโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต. จำลอง ศรีเมือง อดีตนายทหารเพื่อนร่วมรุ่นเป็นประธาน นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการและที่ปรึกษาการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกในปี พ.ศ. 2550

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในแบบสรรหาด้วย ในฐานะข้าราชการบำนาญของกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้รับการรับเลือก[5]

เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยอย่างโดดเด่น เพราะมักปราศรัยด้วยวาทะและท่าทีที่ดุเดือด

เสียชีวิต 6 ธันวาคม 2562

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 พล.อ. ปรีชาได้ร่วมกับนายทหารระดับนายพลเกษียณอายุราชการหลายคน ที่เคยเข้าร่วมกับองค์การพิทักษ์สยาม มาก่อน ก่อตั้งกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณขึ้นมา โดยมุ่งหมายล้มรัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเริ่มต้นชุมนุมขึ้นที่สวนลุมพินี ร่วมกับคณะสันติอโศกตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกัน ทางแกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณได้ตัดสินใจยกระดับการชุมนุมเข้าปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลมิให้ทางรัฐบาลเข้าไปทำงานด้านในได้ ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคงในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขึ้นมาบังคับใช้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้รุกคืบเข้ามาขอคืนพื้นที่ชุมนุม จนในวันที่ 10 ตุลาคม ทางแกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ โดย พล.อ. ปรีชา ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีมติที่จะกลับไปชุมนุมยังสถานที่เดิม คือ สวนลุมพินี ยังความไม่พอใจแก่ผู้ชุมนุมบางส่วนที่สมทบกันเข้ามา จึงแยกตัวออกไปชุมนุมต่างหากในชื่อเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย[6]

ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ขึ้นมาที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทางแกนนำกปท.ก็มีชื่อเป็นคณะกรรมการด้วย และได้ชุมนุมคู่ขนานกันไป โดยในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ทางกปปส.ได้จัดชุมนุมใหญ่แบบปิดทางแยกสำคัญ ๆ หลายแยกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กปท.ก็ได้ชุมนุมคู่ขนานโดยทำการปิดสะพานพระราม 8 จนถึงแยกวิสุทธิ์กษัตริย์ด้วย[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย พล.อ. ปรีชา มีชื่อเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 1[8][9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ไทย

[แก้]

ต่างประเทศ

[แก้]
  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2512 - เหรียญแอร์ ประดับ วี
    • พ.ศ. 2512 - เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2512 - เหรียญรณรงค์เวียดนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณจากเว็บไซต์สันติอโศก
  2. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  3. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  4. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  5. "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ" ประธาน "พันธมิตร" สาขา2จากเว็บไซต์มติชน
  6. "'นิติธร ล้ำเหลือ'"ไม่มีนักการเมืองคนไหนมาสั่งผมได้"". ผู้จัดการออนไลน์. 19 October 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.[ลิงก์เสีย]
  7. กองบรรณาธิการคมชัดลึก. บันทึกมวลมหาประชาชน. กรุงเทพฯ : คมชัดลึกมีเดีย, 2557. 204 หน้า. ISBN 978-616-737-713-1
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๕ กันยายน ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๙๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]