หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู
หม่อมหลวง เชิงชาญ กำภู ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คู่สมรสคุณหญิงเสาวลักษณ์ กำภู ณ อยุธยาในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49) และเป็นอดีตอธิบดีกรมชลประทาน
ประวัติ[แก้]
หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู เป็นบุตรของพลตรี พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู) กับคุณหญิงผอบ สุรเสนา มีพี่น้อง 12 คน มีพี่ชายคนโตคือ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู
การทำงาน[แก้]
หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู รับราชการในตำแหน่งนายช่างชลประทาน สังกัดกรมชลประทาน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2510[1] เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2512[2] และเป็นรองปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2514[3] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2524 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2519 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2537 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2525 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้ง พลตรี จำลอง สิงหะ และหม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู แทนตำแหน่งที่ว่าง)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (... หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู ...)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2524" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (206): 40. 17 ธันวาคม 2524.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2537" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (7): 7. 4 พฤษภาคม 2537.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๕ จากเว็บไซต์ thaiscouts
หมวดหมู่:
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- หม่อมหลวง
- ราชสกุลกำภู
- นักการเมืองไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา