พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
![]() พระรูปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2475 |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
ถัดไป | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
หม่อม | หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา |
พระมารดา | หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา |
ประสูติ | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 |
สิ้นพระชนม์ | 8 กันยายน พ.ศ. 2517 (88 ปี) |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ อดีตประธานองคมนตรี และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มหาอำมาตย์เอก นายกองเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ม.จ.ก., ป.จ., ร.ว., ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม พ.ศ. 2494 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 (1 ปี 282 วัน)[1] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร |
ถัดไป | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 (0 ปี 12 วัน)[2] | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (0 ปี 5 วัน)[3] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
ถัดไป | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
พระประวัติ[แก้]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง
หม่อมเจ้าธานีนิวัติผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระศีลาจารย์[4] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[5]
หลังจากลาผนวช ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนรอตติงดีน และโรงเรียนรักบี้ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (B.A.) สาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากวิทยาลัยเมอร์ตันคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2451 แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการในปีถัดมา ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน), ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า, [6]ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ช่วยราชเลขานุการ[7] และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[8]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตเป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 แทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[9] แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เต็มตามตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[10] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการจนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงทรงออกจากตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 [11] หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จึงทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[12] และวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรี แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ที่ทรงย้ายไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[13] ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงศักดินา 11,000[14] เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ รัฐสภาจึงแต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[15] สุดท้ายทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรีอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495[16]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก 2 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน[17] และตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศฟิลิปปินส์[18]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสกสมรสกับหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) ธิดาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) กับโต (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร) มีพระโอรสธิดา 4 คน ดังนี้[19]
- หม่อมราชวงศ์ไม่มีชื่อ (เพศชาย)
- หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
- หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
- หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริพระชันษา 88 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ และประดิษฐานพระโกศพระศพไว้ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ พระเมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาส และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงเพลสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์อีก 10 รูป สดับปกรณ์
การดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล
(7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
(8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 8 กันยายน พ.ศ. 2517)
ธรรมเนียมพระยศของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระยศ[แก้]
พระยศพลเรือน[แก้]
พระยศกระทรวงวัง[แก้]
- มหาเสวกตรี[22]
พระยศกองเสือป่า[แก้]
ประธานองคมนตรี[แก้]
- ครั้งที่ 1 (18 มิถุนยาน 2492 - 25 มีนาคม 2493) ทรงดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 จนถึงวันที่กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร
- ครั้งที่ 2 (4 มิถุนายน 2493 - 22 มีนาคม 2494) ทรงดำรงตำแหน่งแทน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปรับการถวายการตรวจรักษาพระวรกายที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ครั้งที่ 3 (8 เมษายน 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ทรงดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ซึ่งประกาศใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และทรงดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่คณะรัฐประหาร (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
- ครั้งที่ 4 (24 กุมภาพันธ์ 2502 - 27 พฤษภาคม 2506) ทรงดำรงตำแหน่งตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งคณะรัฐประหารประกาศใช้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน อย่างเป็นทางการ
- ครั้งที่ 5 (8 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม 2506) ทรงกลับมาดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเยือนประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐจีน จนถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกครั้ง ในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ
- ครั้งที่ 6 (14 กรกฎาคม 2506 - 20 มิถุนายน 2511) ทรงกลับมาดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับ จากการเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จนถึงวันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 แทนธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
- ครั้งที่ 7 (30 กรกฎาคม 2511- 17 พฤศจิกายน 2514) ทรงดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 จนถึงวันที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ (จอมพล ถนอม กิตติขจร)
- ครั้งที่ 8 (15 ธันวาคม 2515 - 8 กันยายน 2517) ทรงดำรงตำแหน่งตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ซึ่งคณะปฏิวัติ ประกาศใช้ชั่วคราว และทรงดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีจนถึงวันที่สิ้นพระชนม์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2464 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2465 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[29]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[30]
- พ.ศ. 2495 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[31]>
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)
- พ.ศ. 2460 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[32]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[33]
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
- พ.ศ. 2457 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[34]
- พ.ศ. 2471 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[35]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[36]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[37]
- พ.ศ. 2469 - เสมาบรมราชาภิเษกทอง รัชกาลที่ 7[38]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
ฝรั่งเศส:
- พ.ศ. 2467 -
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นสูงสุด
- พ.ศ. 2467 -
เยอรมนีตะวันตก:
- พ.ศ. 2506 -
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[39]
- พ.ศ. 2506 -
อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เล่ม 69, ตอน 18, 20 มีนาคม พ.ศ. 2494, หน้า 402
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี),
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี),
- ↑ "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชและบวชนาคหลวง, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2452, หน้า 919-924
- ↑ ตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน)
- ↑ ผู้ช่วยราชเลขานุการ
- ↑ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงธรรมการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 269–270. 4 สิงหาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับอธิบดีศาลฎีกา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 722–723. 20 มีนาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ก): 479. 21 มิถุนายน 2492. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (18 ก): 400. 28 มีนาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (32 ก): 646–647. 6 มิถุนายน 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (27 ก): 495–498. 9 พฤษภาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (18 ก): 402–403. 20 มีนาคม 2494. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (27 ก): 640–641. 29 เมษายน 2495. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (52 ก ฉบับพิเศษ): 25–26. 24 พฤษภาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (69 ก ฉบับพิเศษ): 8–9. 8 กรกฎาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2556, หน้า 90
- ↑ พระราชทานยศมหาอำมาตย์เอก
- ↑ พระราชทานยศอำมาตย์โท
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๖, ๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๙
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายกองตรี
- ↑ พระราชทานนายกองโท
- ↑ พระราชทานยศนายกองเอก
- ↑ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม 33, ตอน 0 ง, 25 มีนาคม พ.ศ. 2459, หน้า 3717
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
- ↑ "ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0ง): หน้า 2368. 6 พฤศจิกายน 2471. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 10 ง, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496, หน้า 529
- ↑ เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การประดับเสมาบรมราชาภิเษก เล่ม 43 หน้า 3721 วันที่ 16 มกราคม 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1319, 30 เมษายน 2506
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2517
- พระวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้าตั้ง
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- ราชสกุลโสณกุล
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์