ชัยนันท์ เจริญศิริ
พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประชา มาลีนนท์ พงศกร เลาหวิเชียร นิกร จำนง พิเชษฐ สถิรชวาล วิเชษฐ์ เกษมทองศรี |
ถัดไป | สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | ธิติมา เจริญศิริ |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร[1]
ประวัติ[แก้]
ชัยนันท์ เจริญศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของพลตรีประยูร เจริญศิริ กับนางสุมาลี เจริญศิริ จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 5) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การทำงาน[แก้]
ชัยนันท์ เจริญศิริ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546[2]
ในปี พ.ศ. 2548 พลเอกชัยนันท์ เจริญศิริ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
เกียรติยศ[แก้]
ชัยนันท์ เจริญศิริ ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว พ.ศ. 2547[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[6]
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2526 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
- ↑ "รายนามนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
- ↑ ทำเนียบศิษย์เก่ารางวัลเกียรติยศจักรดาว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |