สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | ทวี บุณยเกตุ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | ทวี บุณยเกตุ |
ดำรงตำแหน่ง 19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เมืองตรัง ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 (81 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา หรือ หลวงสุนทรเทพหัสดิน (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย 1 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย 5 สมัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร
ประวัติ
[แก้]นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับนางไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุณยเกตุ) เป็นน้องสาวของนายทวี บุณยเกตุ[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวง ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมโยธาที่ประเทศอังกฤษ โดยเป็นนักเรียนทุนของกรมรถไฟหลวงรุ่นที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2464 สำเร็จการศึกษาและกลับถึงสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2469
การทำงาน
[แก้]หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้เข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2469 ในตำแหน่ง นายช่างผู้ช่วย กรมรถไฟหลวง ปี พ.ศ. 2475 เป็น นายช่างกำกับภาค และในปี พ.ศ. 2477 ได้โอนไปรับราชการในกองทาง กรมโยธาเทศบาล และเป็นอธิบดีกรมโยธาเทศบาล ในปีพ.ศ. 2485
ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2476[2] พ.ศ. 2480[3] และในปี พ.ศ. 2481[4]
สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487[5] ต่อในปี พ.ศ. 2488 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ[6] แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 17 วัน นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรี ก็ลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงไปด้วย
ในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] แต่นายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนถัดมา แต่ก็ยังทำหน้าที่รักษาการไปจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 หลังการเลือกตั้งเขาไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลต่อมาของนายควง อภัยวงศ์
จนกระทั่งอีก 3 เดือนต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[8] และได้รับแต่งตั้งอีกในรัฐบาลต่อมา[9] จากนั้นเป็นต้นมาเขาก็ว่างเว้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีกสมัย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน
นายสพรั่ง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญการบินพลเรือน ประจำกระทรวงคมนาคม[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชีวประวัติ สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2508
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.