ถวิล ไพรสณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถวิล ไพรสณฑ์
ถวิล ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้ากระแส ชนะวงศ์
ถัดไปบุญชู ตรีทอง
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537
ก่อนหน้าชุมพล ศิลปอาชา
เชาวน์วัศ สุดลาภา
ถัดไปจรัส พั้วช่วย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 (86 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2531, 2539–2565)
ประชาชน (2531–2532)
เอกภาพ (2532–2535)
พลังธรรม (2535–2539)
ก้าวไกล (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจันทร์จิรา ไพรสณฑ์

ถวิล ไพรสณฑ์ อดีตที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลชวน หลีกภัย (1) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 8 สมัย (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครศรีธรรมราช และแบบบัญชีรายชื่อ) และเป็นอดีตมือกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์[2]

ประวัติ[แก้]

ถวิล ไพรสณฑ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช[3] ในครอบครัวชาวสวนชาวนา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านนาวา ต่อมาจึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐ

การทำงาน[แก้]

ถวิล ไพรสณฑ์ เข้ารับราชการเป็นปลัดเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ต่อมาจึงได้ย้ายเข้ามาเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าเขตพระนคร เขตบางขุนเทียน และเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร

จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ถวิล ไพรสณฑ์ จึงได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และ สมัยที่สอง ปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นเขาจึงย้ายมาร่วมตั้งพรรคการเมืองกับกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ คือ พรรคประชาชน[4] ในปี 2531 และยุบพรรคไปรวมกับพรรคเอกภาพ ในปี 2532

ต่อมาถวิลจึงได้ย้ายมาลงสมัครในกรุงเทพมหานคร เขต 9 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรม และได้รับการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งยังได้รับตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2535[5] และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538[6] ด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิมอีกครั้ง

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[7] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 39[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 นายถวิล ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่ามีอุดมการณ์เรื่องการกระจายอำนาจท้องถิ่นที่ตรงกัน และไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ[9]

สภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ถวิล ไพรสณฑ์ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ฝากกุนซือ'พิธา'! เหตุผล 3 ข้อฉุด'ก้าวไกล'ฝันค้าง ตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ". แนวหน้า. 2023-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-10-08.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ตำนานกลุ่ม 10 มกราฯสู่ “ก้าวไกล” เส้นทางชีวิต-ธุรกิจ “ถวิล ไพรสณฑ์”
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายกระแสร์ ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายถวิลไพรสณฑ์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย)
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  8. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  9. “ถวิล” แจงชิ่ง ปชป.ซบก้าวไกล อุดมการณ์กระจายอำนาจท้องถิ่นตรงกัน ขออยู่เบื้องหลังไม่รับตำแหน่ง
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]