โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการแก้ไขปัญหาความยาจน หรือชื่อย่อว่า กข.คจ. เป็นโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนชาวชนบทในประเทศไทย เริ่มต้นดำเนินการในปี พ.ศ. 2536 โดยมติคณะรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย

ประวัติ[แก้]

รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536[1] เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2539 และขยายถึงปี พ.ศ. 2540 และมีมติคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ให้กระทรวงมหาดไทย ขยายผลโครงการดังกล่าวครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย

ในปี 2544 ยังคงเหลือเป้าหมายอีกจำนวน 10,412 หมู่บ้าน ที่ยังไม่ได้รับงบประมาณ และรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) ได้มีนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการ กข.คจ. จึงมิได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการต่อไป

การดำเนินการ[แก้]

โครงการ กข.คจ. เป็นโครงการที่สนับสนุนเงินทุนในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบ อาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากจนให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

อ้างอิง[แก้]