รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 | |
---|---|
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ลงนาม | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
วันลงนาม | 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
ผู้ลงนามรับรอง | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรี) |
วันลงนามรับรอง | 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
วันประกาศ | 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๙/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑/๘ มีนาคม ๒๔๙๕) |
วันเริ่มใช้ | 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
ท้องที่ใช้ | ราชอาณาจักรไทย |
การยกเลิก | |
ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 [1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 6 ที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495
สืบเนื่องจากภายหลังการ รัฐประหารตัวเอง ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในชื่อ คณะบริหารประเทศชั่วคราว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้มีการประกาศยกเลิก รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2492 ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการประจำทางคณะบริหารประเทศชั่วคราวจึงนำรัฐธรรมนูญ ปี 2475 แก้ไขเพิ่มเติม ปี 2483 มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้ข้าราชการประจำสามารถเป็นนักการเมืองและรัฐมนตรีได้นอกจากนี้ยังให้มี ส.ส. 2 ประเภทคือ ส.ส. ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนและ ส.ส. ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 ภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 ตอน 15 ก หน้า 1 8 มีนาคม พ.ศ. 2495