พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)
พระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อม อภัยวงศ์) | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2429 พระตระบอง ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (45 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงเล็ก บุนนาค คุณหญิงสงวน สิงหเสนี คุณหญิงอภัยภูเบศร (อิดิธ เรย์) |
บุตร | พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ชวลิต อภัยวงศ์ เบศร อภัยวงศ์ ถนอมวงศ์ แสง-ชูโต ประจงยศ อภัยวงศ์ ประกอบกูล อภัยวงศ์ ประชุมวงศ์ อภัยวงศ์ สุดสงวน อภัยวงศ์ จันทรคุปต์ อภัยวงศ์ ฑีฆาวุ อภัยวงศ์ |
อาชีพ | ขุนนางกระทรวงมหาดไทย ศักดินา 1000 |
อำมาตย์ตรี พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนสุดท้าย กับ คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์ (อภัยภูเบศร) พระยาอภัยภูเบศร เป็นพระชนกในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และเป็นขรัวตาของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6
ประวัติ
[แก้]ชาติตระกูล
[แก้]พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนสุดท้าย กับ คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์ (อภัยภูเบศร) พระยาอภัยภูเบศรมีพี่น้องร่วมครรภ์เดียวกัน ดังนี้
- หม่อมเชื่อม กฤดากร ณ อยุธยา ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
- คุณหญิงกัลยาณวัฒนวิศิษฏ์ (รื่น กัลยาณมิตร) สมรสกับ พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)
- พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)
- พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์)
ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระอภัยพิทักษ์ และในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ พระอภัยพิทักษ์ โดยได้รับพระราชทานทินนามตามบิดาและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสืบตระกูล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่คุณพระอภัยพิทักษ์กับคุณหญิงเล็ก บุนนาค(ในขณะนั้นคุณหญิงถึงอนิจกรรมแล้ว) เนื่องในวโรกาสอภิเษกสมรสกับคุณสุวัทนา บุตรีคนโต
ชีวิตสมรส
[แก้]พระยาอภัยภูเบศร มีภริยา 3 คน ดังนี้ ภริยาคนที่หนึ่ง สมรสเมื่อสมัยยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระอภัยพิทักษ์ มีความรักและเสน่หา ด้วยเป็นกุลสตรี และ มีการศึกษาดี ชื่อ "เล็ก" เป็นบุตรีคนเล็กในเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา) ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น คุณเล็ก บุนนาค เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมแล้ว มีบุตรี 1 คนชื่อติ๋ว หรือเครือแก้ว อภัยวงศ์ ต่อมาได้ถวายตัวเป็นข้าราชสำนักในรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "สุวัทนา" และต่อมาได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี การสมรสครั้งนี้บิดาไม่เห็นด้วยพระอภัยพิทักษ์จึงจำต้องไปสมรสใหม่ ทำให้คุณเล็กที่มีครรภ์ย้ายกลับไปอยู่กับคุณท้าวแก้ว ผู้เป็นมารดาที่กรุงเทพ โดยบิดาไม่ได้มาเหลียวแลเลย และไม่มีผู้ใดรู้เลยว่าบุตรีที่อยู่ในครรภ์ของคุณเล็กนี้จะเป็นผู้ผดุงเกียรติแห่งตระกูลวงศ์ยากที่จะหาผู้ใดในสกุลมาเทียบเทียม และบำเพ็ญกรณียกิจแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ
ภริยาคนที่สอง คือ คุณหญิงอภัยพิทักษ์ (สงวน อภัยวงศ์) สกุลเดิม สิงหเสนี มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระยาอภัยภูเบศร พระยาอภัยภูเบศรมาสมรสด้วยคำแนะนำของผู้ใหญ่ มีบุตร-ธิดา 7 คน ดังนี้
- นายชวลิต อภัยวงศ์
- นายเบศร อภัยวงศ์
- นางถนอมวงศ์ (อภัยวงศ์) แสง-ชูโต
- นางสาวประจงยศ อภัยวงศ์
- นางประกอบกูล (อภัยวงศ์) วุฑฒินันท์
- นางประชุมวงศ์ (อภัยวงศ์) โปษยานนท์
- นางสุดสงวน (อภัยวงศ์) ทองปุสสะ
ต่อมาคุณหญิงอภัยพิทักษ์ถึงแก่กรรม พระยาอภัยภูเบศรได้สมรสกับคุณ คุณหญิงอภัยภูเบศร (นามเดิม อิดิธ เรย์) ชาวอังกฤษ มีบุตร 2 คน ดังนี้
- นายจันทรคุปต์ อภัยวงศ์
- นายฑีฆาวุ อภัยวงศ์
สถาปนาบรรดาศักดิ์พระยา
[แก้]ใน พ.ศ. 2467 บุตรีคนโตของคุณพระอภัยพิทักษ์ กับ คุณหญิงเล็ก บุนนาคเอกภรรยา ได้อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 10 สิงหาคม 2467 และเมื่อเริ่มมีครรภ์พระหน่อพระองค์แรกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สถาปนาบุตรีของท่านเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี แล้วได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ของพระชนกในพระวรราชเทวีเป็น พระยาอภัยภูเบศร ถือศักดินาในกระทรวงมหาดไทย 1,000 ไร่
อนิจกรรม
[แก้]พระยาอภัยภูเบศร ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 โดยช่วงก่อนถึงแก่อนิจกรรมมีภาวะจิตบกพร่อง หวาดระแวง จากโรค Paraniod และอยู่ในความอนุบาลของคุณหญิงอภัยภูเบศร พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ และนายชวลิต อภัยวงศ์ เมื่อถึงแก่อนิจกรรมได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและฉัตรเบญจา 1 สำรับ ได้รับพระทานเพลิงศพที่สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส โดยได้รับพระทานรถม้ารับพระอ่านพระอภิธรรม รถม้าเชิญโกศศพ ฉัตรเบญจา 1 สำรับ กลองชนะเขียว 10 จ่าปี่ 1 ผ้าไตร 3 ไตร เงิน 1000 สตางค์และผ้าขาว 4 พับ[1] โดยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีพระราชทานพระอนุญาตให้ทายาทเก็บอัฐิและนำอังคารไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีพระพุทธอภัย พระประธานในพระอุโบสถวัดแก้วพิจิตร อันเป็นวัดประจำสกุลอภัยวงศ์
บรรดาศักดิ์
[แก้]- เลื่อม อภัยวงศ์
- พระอภัยพิทักษ์
- พระยาอภัยภูเบศร (10 สิงหาคม 2467)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
พงศาวลี
[แก้]8. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (นอง อภัยวงศ์) | ||||||||||||||||
4. เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) | ||||||||||||||||
9. | ||||||||||||||||
2. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) | ||||||||||||||||
20. | ||||||||||||||||
10. พระยาภักดี (แบน) | ||||||||||||||||
21. นักนางละออ | ||||||||||||||||
5. ท่านผู้หญิงคทาธรธรณินทร์ (ทิม) | ||||||||||||||||
11. หลานสาวของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน อภัยวงศ์) | ||||||||||||||||
พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) | ||||||||||||||||
3. คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์ | ||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2429
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- บุคคลจากจังหวัดพระตะบอง
- สกุลอภัยวงศ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ชาวไทยเชื้อสายเขมร
- ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย