อนันต์ อนันตกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนันต์ อนันตกูล
ไฟล์:อนันต์ อนันตกูล.jpg
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2543 – 20 เมษายน พ.ศ. 2546
ก่อนหน้าพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
ถัดไปประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2520 — ปัจจุบัน)
คู่สมรสรุ่งจิตต์ อนันตกูล

นายอนันต์ อนันตกูล ราชบัณฑิตประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย[2]

ประวัติ[แก้]

อนันต์ อนันตกูล เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลบ้านโขด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี[3] จบการศึกษาปริญญาตรี สาขารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2497 ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปี 2525

อนันต์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2529 การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2530 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2531 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ด้านครอบครัว สมรสกับนางรุ่งจิตต์ อนันตกูล

การทำงาน[แก้]

อนันต์ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2505 จากนั้นย้ายไปเป็นนายอำเภอปักธงชัย นายอำเภอปากช่อง

อนันต์ ได้รับแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในปี 2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2518 - 2520 จากนั้นย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2528-2532 เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2532- ก.พ. 2534[4] จากนั้นถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง ในปี 2534 จนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน 2536

อนันต์ อนันตกูล เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เขายังเคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2546 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ปี พ.ศ. 2544

ในปี พ.ศ. 2561 นายอนันต์ ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  2. ประสบการณ์นักปกครอง สถาบันดำรงราชานุภาพ
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  4. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๑ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต (รวม ๓ ราย ๑. นายอนันต์ อนันตกูล ฯลฯ)
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษเล่ม ๑๐๗ ตอน ๒๐๐ ง ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๘๑๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]