ข้ามไปเนื้อหา

กองพลทหารอาสาสมัคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพลทหารอาสาสมัคร
(Royal Thai Volunteer Force)
ตราประจำหน่วย กองพลทหารอาสาสมัคร "กองพลเสือดำ"
ประจำการกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
ปลดประจำการ1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
ประเทศ ไทย
เหล่ากองทัพบกไทย
รูปแบบกองพลอาสาสมัคร
ขึ้นกับกองบัญชาการทหารสูงสุด
กองบัญชาการกองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม กรุงไซ่ง่อน ประเทศเวียดนามใต้
สมญากองพลเสือดำ
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเวียดนาม
การรุกตรุษญวน
ยุทธการฮัตดิช
ปฏิบัติการทวนทังที่ 1
ปฏิบัติการทวนทังที่ 2
ปฏิบัติการทวนทังที่ 3
อิสริยาภรณ์ เมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก)


แกลแลนทรี่ครอส ยูนิท ไซเทเชิน ประดับใบปาร์ม


ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน ประดับใบโอ๊ค
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการกองพลพลตรี ทวี ดำรงหัด (ผลัด 1)
พลตรี สวัสดิ์ มักการุณ (ผลัด 2)
พลตรี เอื้อม จิรพงศ์ (ผลัด 3)

กองพลทหารอาสาสมัคร หรือกองพลเสือดำ (อังกฤษ: Royal Thai Army Volunteer Force) (อักษรย่อ : พล.อสส.) เป็นชื่อเรียกทหารจากกรมทหารอาสาสมัครที่ไปปฏิบัติการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม ช่วงสงครามเวียดนาม พ.ศ. 2510 - 2515 ซึ่งปัจจุบันคือกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติ

[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 โลกได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ผ่าย คือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ และฝ่ายประชาธิปไตย มีสหรัฐเป็นผู้นำ

ฝ่ายคอมมิวนิสต์ มีนโยบายรุกราน และต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ของประเทศต่าง ๆ ในโลก ให้เป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ จึงได้เสนอแผนการมาร์แชล เพื่อบูรณะฟื้นฟูประเทศในยุโรปตะวันตก จากวิกฤตทางเศรษฐกิจ และตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ สำหรับช่วยเหลือในทางทหาร ในเอเชียฝ่ายคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลด้วยการส่งจารชน และผู้ก่อการร้ายเข้าไปบ่อนทำลายบรรดาประเทศในทวีปเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย, เกาหลี, ศรีลังกา, พม่า, กัมพูชา, ลาว และไทย เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และเข้ายึดครองประเทศเหล่านั้นตามอุดมการณ์ครองโลกของคอมมิวนิสต์

สหรัฐฯ ตระหนักดีว่า หากอินโดจีนแพ้สงคราม และตกเป็นของคอมมิวนิสต์แล้ว จะนำไปสู่การสูญเสียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ตามทฤษฎีโดมิโน จึงได้ทุ่มเทความช่วยเหลือแก่ เวียดนามใต้ สหรัฐฯจึงเป็นผู้นำในการต่อต้านเวียดนามเหนือ นับตั้งแต่ฝรั่งเศสต่อสู้กับเวียดนามเหนือ เมื่อฝรั่งเศสแพ้ สหรัฐฯ จึงเข้าไปช่วยเหลือเวียดนามใต้

ในปี พ.ศ. 2508 เวียดนามใต้ตกอยู่ในจุดล่อแหลมที่สุด สหรัฐฯ จึงตกลงใจส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการในสาธารณรัฐเวียดนาม พร้อมกับกำลังของฝ่ายโลกเสรีอีก 7 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สเปน, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และไทย การจัดรูปแบบของการรบเป็นในแบบสงครามจำกัด มุ่งให้เป็นการรบของ เวียดนามทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

การจัด

[แก้]

การจัดกำลังทหาร[1]

[แก้]

การจัดทหารเพื่อส่งไปยังเวียดนามใต้ กองทัพบกมีนโยบายส่งกำลังทหารไปเป็นผลัด ในแต่ละผลัดให้บรรจุทหารกองหนุนและกองเกินร่วมกับทหารประจำการ โดยถือทหารประจำการอาสาสมัครเป็น คือ

  • ทหารประจำการ 64 %
  • ทหารกองหนุน 20 %
  • พลเรือนที่อาสาสมัคร 16 %

ในแต่ละผลัดให้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน โดยเรียกกำลังที่เข้ารวมในแต่ละส่วน มีระยะห่างกัน 6 เดือน และแต่ละผลัดห่างกัน 1 ปี

พล.อสส. ผลัดที่ 1 กำลังลงจากเรือรบสหรัฐ

การจัดหน่วยทหาร

[แก้]

การจัดหน่วยในกองพล เป็นการจัดในรูปผิดแผกไปจากหน่วยกองพลทหารราบของกองทัพบกทั่วไป คือ กองพลทหารราบทั่วไป จะจัดเป็นหน่วยแบบ 3 แต่กองพลอาสาสมัคร จะจัดเป็นหน่วยแบบผสม คือมีแบบ 2, แบบ 3, และแบบ 4 ผสมกันอยู่ ซึ่งประกอบด้วย

  1. ส่วนบังคับบัญชา ได้แก่
    • กองบัญชาการ และกองร้อยกองบัญชาการ
  2. ส่วนลาดตระเวน ได้แก่
    • กองพันทหารม้ายานเกราะ
    • กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล
  3. ส่วนรบ ได้แก่
    • กรมทหารราบ 2 กรม แต่ละกรมประกอบด้วย กองบังคับการกรมและกองร้อยกองบังคับการ กับอีก 3 กองพันทหารราบ
  4. ส่วนสนับสนุนการรบ ได้แก่
    • ทหารปืนใหญ่กองพล (2 กองพัน กรมทหารปืนใหญ่ที่ 105 และ 1 กองพัน กรมทหารปืนใหญ่ที่ 155)
    • กองพันทหารช่างสนาม
    • กองพันทหารสื่อสาร
    • กองร้อยบินเบา
    • กองร้อยทหารสารวัตร
    • หน่วยข่าวกรองทหาร
  5. ส่วนสนันสนุนทางการส่งกำลังบำรุง ได้แก่กรมสนันสนุน ประกอบด้วย
    • กองบังคับการกรม และกองร้อยกองบังคับการและดุริยางค์
    • กองพันทหารเสนารักษ์
    • กองพันซ่อมบำรุง
    • กองร้อยส่งกำลังและบริการ
    • กองร้อยทหารขนส่ง
    • กองร้อยธุรการ
    • กองร้อยกำลังทดแทน
      ผังการจัดหน่วย พล.อสส. ปี 2511

ส่วนหนึ่งของวีรกรรมการรบที่สำคัญ

[แก้]
ทหารกองพลอาสาสมัครสงครามเวียดนามกำลังขึ้นเครื่องบินซี-130 ของกองทัพอากาศสหรัฐไปยังสมรภูมิระหว่างสงครามเวียดนาม

การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)

[แก้]

ในคืนวันวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2512 เวลา 02.20 น. กองพันที่ 3 กรมที่ 274 เวียดกงได้เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยอาวุธเบาที่ 3 ของไทยอย่างรุนแรง โดยได้ยิงเตรียมด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด และจรวดอาร์พีจี ไปยังค่ายแบร์แคต และฐานยิงสนับสนุนพร้อมกัน หลังจากนั้นได้ใช้กำลังทหารราบเข้ารบประชิด รอบที่ตั้งฐานปฏิบัติการ ฯ ใน 3 ทิศทาง เนื่องจากการรบติดพันในระยะต้นไม่อาจใช้ปืนใหญ่ และเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธได้เต็มขีดความสามารถ จนถึงเวลา 06.00 น. เวียดกงเริ่มถอนตัวจากการรบ กองพลทหารอาสาสมัครได้ใช้ปืนใหญ่ของกองพล 5 กองร้อยกับกำลังทางอากาศระดมยิงอย่างหนัก เพื่อสกัดกั้น และทำลายการถอนตัวของข้าศึก และได้ส่งกำลังหมวดทหารม้ายานเกราะออกกวาดล้างข้าศึก จนถึง เวลา 10.45 น. จึงเสร็จสิ้น

ผลการรบ

  • ฝ่ายไทย
    • เสียชีวิต 1 นาย
    • บาดเจ็บสาหัส 5 นาย
  • ฝ่ายเวียดกง
    • เสียชีวิต 57 นาย
    • จับเป็นเชลย 10 คน
    • ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นอันมาก

ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)

[แก้]

หมู่บ้านเฟือกเหงียนอยู่ในเขตอำเภอลองถั่น ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มมีลำน้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา และมีป่ารกทึบรอบบริเวณ มีสวนยางสลับป่า หมู่บ้านนี้สืบทราบมาว่าเป็นแหล่งหลบซ่อนกำลัง และสะสมเสบียงอาหารของกรมที่ 274 ของเวียดกงและกองโจรประจำถิ่นเวียดกง กองพลทหารอาสาสมัคร ได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติการยุทธผสมร่วมกับกองกำลังกึ่งทหาร กำลังตำรวจ และกำลังเจ้าหน้าที่อำเภอลองถั่น เข้าทำการปิดล้อมและตรวจค้นหมู่บ้าน เพื่อทำลายข้าศึก และแยกประชาชนออกจากกองโจร ประจำถิ่นของเวียดกง กองพลทหารอาสาสมัครได้จัดกำลังกองร้อยอาวุธเบา วางกำลังไว้วงนอก ส่วนกำลังกึ่งทหาร 2 กองร้อยของกองทัพเวียดนามใต้ และกำลังตำรวจเวียดนามใต้อีกจำนวนหนึ่งวางกำลังไว้วงในทำการปิดล้อม และตรวจค้นหมู่บ้านแห่งนี้ โดยปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 12 ธันวาคม 2512 มีการปะทะกับเวียดกง 2 ครั้ง

ผลการรบ

  • ฝ่ายไทย
    • ไม่มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ
  • ฝ่ายเวียดกง
    • เสียชีวิต 4 คน
    • จับผู้ต้องสงสัยได้ 20 คน
    • ยึดอุปกรณ์ และเอกสารได้เป็นจำนวนมาก

ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)

[แก้]

เป็นการปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการศิรินทร์ (AO Sirin) อยู่เหนือลำน้ำคา บริเวณที่ลำน้ำบรรจบกัน ตั้งแต่ 19 - 21 ตุลาคม 2513 โดยใช้ 2 หมวดทหารม้าลาดตระเวนทางอากาศเข้าตรวจค้นที่หมาย และใช้ 2 กองร้อยอาวุธเบาเคลื่อนที่ทางอากาศเข้าสกัดกั้น และติดตามเวียดกง

ผลการปฏิบัติ

  • ฝ่ายไทย
    • ทหารปลอดภัย
  • ฝ่ายเวียดกง
    • เสียชีวิต 39 คน
    • ทำลายที่กำบังปิดได้ 50 แห่ง
      • หลุมบุคคล 9 หลุม
      • อุโมงค์ 1 แห่ง
    • ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก

การรบที่ล็อกอัน (Loc An)

[แก้]

กรมทหารราบที่ 1 ได้จัดกำลังไปตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณหมู่บ้านล็อกอัน เพื่อสะกัดกั้นกองกำลังเวียดกงหมู่บ้านล็อกอันเป็นหมู่บ้านร้าง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอลองถันรอบพื้นที่เป็นที่ลุ่มป่าชายเลนและสวนยาง มีลำห้วยหลายสายไหลผ่าน

ในวันที่ 16 มีนาคม 2512 เวลาประมาณ 02.15 น. เวียดกงประมาณ 1 กองพันเพิ่มเติมกำลังได้เข้าตีที่ตั้งกองร้อยทหารไทยทั้ง 2 กองร้อย โดยเริ่มจากการยิงเตรียมด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดและอาร์พีจี แล้วใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีเป็น 3 ทิศทาง ฝ่ายไทยขอรับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองพลและชุดเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธของกองทัพสนามที่ 2 สหรัฐฯ กองพลทหารอาสาสมัครก็ได้ส่งกำลังมาเสริมเมื่อเวลา 04.30 น.

การรบดำเนินไปอย่างรุนแรงจนใกล้รุ่ง ฝ่ายเวียดกงจึงถอยร่นกลับไป ฝ่ายเราได้ไล่ติดตามไปจนถึงเวลา 07.00 น. จึงเลิกติดตาม

ผลการรบ

  • ฝ่ายไทย
    • เสียชีวิต 2 นาย
    • บาดเจ็บสาหัส 19 คน
    • บาดเจ็บไม่สาหัส 8 คน
  • ฝ่ายเวียดกง
    • เสียชีวิตนับศพได้ 116 ศพ
    • จับเป็นเชลยได้ 3 คน
    • ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก

กองร้อยที่ 1 และกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งฐานปฏิบัติการที่บริเวณหมู่บ้านล็อกอันเมื่อ 16 มิถุนายน 2512 เวลาประมาณ 00.45 น. เวียดกง 1 กรมหย่อนกำลัง ได้เข้าตีฐานปฏิบัติการของทหารไทยเริ่มด้วยการยิงเตรียมด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด และอาร์พีจีอย่างหนัก แล้วส่งกำลังเข้าตี 3 ทิศทาง

ฝ่ายเราได้ขอรับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองพล 6 กองร้อย และเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธกับเครื่องบินสปุ๊กกี้จากกองทัพสนามที่ 2 สหรัฐฯ และการยิงสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดเวียดกงได้เข้าตีถึง 3 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ และถอนตัวกลับไปเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ฝ่ายเราออกติดตามกวาดล้างจนถึงเวลา 08.00 น.

ผลการรบ

  • ฝ่ายไทย
    • เสียชีวิต 2 ศพ
    • บาดเจ็บสาหัส 9 คน
    • บาดเจ็บไม่สาหัส 25 คน
  • ฝ่ายเวียดกง
    • เสียชีวิตนับศพได้ 215 ศพ (คาดการว่าเสียชีวิตแล้วนำศพกลับไป 40 ศพ)
    • จับเป็นเชลยได้ 2 คน
    • ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก

เกียรติยศ

[แก้]
ชื่ออิสริยาภรณ์ ประเทศ ริ้วธง แพรแถบย่อ ปักอักษร
เมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก)  สหรัฐ
VIETNAM 1968 – 1969
แกลแลนทรี่ครอส ยูนิท ไซเทเชิน  เวียดนามใต้
HÀNH QUÂN LỘC AN LONG THÀNH 1969
ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน  เวียดนามใต้
DÂN SỰ VỤ 1968–1969
พล.อ. เดวิลเลียม บี. รอสสัน ประดับเมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก) บนธงไชยเฉลิมพลของ พล.อสส. และประดับแพรแถบย่อให้แก่กำลังพล

นายทหารไทยสำคัญสังกัด พล.อสส.

[แก้]

ผลัดที่ 1

[แก้]

ผลัดที่ 2

[แก้]

ผลัดที่ 3

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หนังสือสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]
  • Ruth, Richard A. In Buddha’s Company: Thai Soldiers in the Vietnam War. Honolulu: University of Hawai’i Press, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]