การบุกครองไทยของญี่ปุ่น
การบุกครองไทยของญี่ปุ่น | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() พื้นที่ยกพลขึ้นบกและเคลื่อนทัพสู่ประเทศไทย ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
กองทัพไทย |
กองทัพที่ 15 กองทัพที่ 25 กองเรือที่ 2 |
การบุกครองไทยของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本軍のタイ進駐; โรมาจิ: Nihongun no Tai shinchū) เกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี และบางปู สมุทรปราการ และบุกเข้าประเทศไทยทางบกที่อรัญประเทศ กองทัพญี่ปุ่นสามารถขึ้นบกได้โดยไม่ได้รับการต่อต้านที่บางปู ส่วนทางภาคใต้และทางอรัญประเทศมีการต่อสู้ต้านทานอย่างหนักของทหารไทย ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครที่เป็นเยาวชน ที่เรียกว่า ยุวชนทหาร ในบางจังหวัด เช่นการรบที่สะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพร กล่าวคือ กลุ่มยุวชนทหารและกองกำลังผสมทหารตำรวจซึ่งกำลังจะต่อสู้ปะทะกันอยู่ที่สะพานท่านางสังข์ โดยที่กลุ่มยุวชนทหารนั้นมีผู้บังคับการคือร้อยเอกถวิล นิยมเสน ในระหว่างการสู้รบร้อยเอกถวิลนำกำลังยุวชนทหารออกมาปะทะกองทหารญี่ปุ่น แม้ร้อยเอกถวิลจะถูกทหารญี่ปุ่นยิงเสียชีวิต แต่ยุวชนทหารยังคงสู้ต่อไปจนกระทั่งรัฐบาลสั่งหยุดยิง เมื่อเวลา 11.00 น. โดยประมาณ
หนังสือเพิ่มเติม[แก้]
- Thavenot, A. F. (1942). "Thailand and the Japanese Invasion". Journal of The Royal Central Asian Society. 29 (2): 111–19.