พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ)
พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ชั่วคราว) | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
ก่อนหน้า | ปรีดี พนมยงค์ |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร พระยามานวราชเสวี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบประเภทที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 | |
สมาชิกพฤฒสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
ศาสนา | พุทธ |
พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง 4 สมัย และอดีตสมาชิกพฤฒสภา
ประวัติ
[แก้]พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) เป็นบุตรนายทอง วณิกเกียรติ บิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสุจริตธุระประภาษ ได้รับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง กระทรวงยุติธรรม และได้ขอรับพระราชทานนามสกุล วณิกเกียรติ เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 0309 เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Vanikkirti[1]
งานการเมือง
[แก้]พระสุธรรมวินิจฉัย เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว เมื่อพ.ศ. 2489 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง 4 สมัย และสมาชิกพฤฒสภา
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
[แก้]หลังการลาออกของปรีดี พนมยงค์ พระสุธรรมวินิจฉัย พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) และสงวน จูฑะเตมีย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 11 และได้มีส่วนร่วมในการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชให้เสด็จขึ้นครองราชย์[2][3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- สภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475)
- สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
- สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 2
- สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2471 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (ว) - นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล) - Google Sites
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งนายตำรวจเอกเป็นหัวราชสำนัก (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ บทที่ 3 สถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑