สุรพันธ์ ชินวัตร
สุรพันธ์ ชินวัตร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 เมษายน พ.ศ. 2474 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (85 ปี) |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2517–2539) |
คู่สมรส | ประเมิน (มีพานิช) ชินวัตร |
สุรพันธ์ ชินวัตร นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 6 สมัย
ประวัติ
[แก้]สุรพันธ์ ชินวัตร เป็นบุตรของนายเชียง (คู ชุนเชียง) และนางแสง ชินวัตร ชาวไทยเชื้อสายจีนแคะอพยพจากจังหวัดจันทบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรีด้านย้อมสีและพิมพ์ผ้าจาก ประเทศเยอรมนี ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางประเมิน (มีพานิช) ชินวัตร มีบุตร 6 คน หนึ่งในนั้นได้แก่ นายสุรวัตร ชินวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Customer Service ธนาคารไทยพาณิชย์ นางศรุดา ชินวัตร นายกสมาคมไหมไทย ต่อมาเขาป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ไม่มีความรับรู้เรื่องใดๆ[1] จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559
สุรพันธ์ ชินวัตร เป็นน้องชายของนายบุญเลิศ ชินวัตร บิดาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
งานการเมือง
[แก้]สุรพันธ์ ชินวัตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ 6 สมัย คือ[2][3]
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2522
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2526
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2529[4]
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2531
- การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538
ในปี 2539 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับ ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และพงศ์ สุภาวสิทธิ์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง มีเพียงธวัชวงศ์เพียงคนเดียวที่ได้เป็น ส.ส.ในครั้งนั้น[5]
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
[แก้]สุรพันธ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งการที่นายสุรพันธ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนั้น บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ GSM900 และ GSM1800 ในปัจจุบัน ได้รับสัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นรายแรก[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้ นายสุรพันธ์ ชินวัตร เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของ นางศุรดา ชินวัตร
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
- ↑ http://www.thaiswatch.com/#politician-info-pid-POL0000002536-info-history
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2474
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- สกุลชินวัตร
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลไร้ความสามารถ
- เสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์