เชียด อภัยวงศ์
เชียด อภัยวงศ์ | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม พ.ศ. 2488 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 | |
ก่อนหน้า | ทองเปลว ชลภูมิ |
ถัดไป | หม่อมหลวงขาบ กุญชร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 จังหวัดพระตะบอง |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 (68 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ |
เชียด อภัยวงศ์[1] เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทยถึง 4 คน คือ นายควง อภัยวงศ์ นายทวี บุณยเกตุ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และนายปรีดี พนมยงค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489
ประวัติ
[แก้]เชียด อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ที่ตำบลพระตะบอง เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ กับนางริ้ว อภัยภูเบศร์ สำเร็จการศึกษา Diplome de Pharmacie จากมหาวิทยาลัยปารีส
นายเชียด สมรสกับหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์) [2] มีบุตรธิดา 3 คน เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2515 โดยมีการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515
การทำงาน
[แก้]เชียด เริ่มเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั่วคราวตำแหน่งเภสัชกรโท สังกัดกองเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2488 (เคยเป็นผู้จัดการองค์การเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2484[3]) จึงลาออกจากราชการเพื่อไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489
ต่อมาเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานเทคนิค โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2490 และได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์เอก กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2497 และได้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาให้กับบริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ จำกัด ซึ่งขณะนั้นมี เสริม วินิจฉัยกุล เป็นผู้อำนวยการ มีส่วนในการประสานงานกับช่างชาวฝรั่งเศสในด้านการติดตั้งทดลองเครื่องจักรและการผลิตเคมีภัณฑ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2507
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เชียด อภัยวงศ์. จัดพิมพ์เป็นบรรณาการเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นายเชียด อภัยวงศ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง 29 สิงหาคม 2515. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 2515
- ↑ "ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ จัดการองค์การเภสัชกรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔