ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | พรทิวา นาคาศัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
พรรค | ชาติไทย (2543–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน) |
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย อดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประวัติ[แก้]
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ชื่อเล่น : โอ๋) เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายชัย ชิดชอบ กับนางละออง ชิดชอบ (เป็นน้องชายของนายเนวิน ชิดชอบ และพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
ที่การทำงาน[แก้]
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ)[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแต่งตั้งให้ศักดิ์สยาม เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 15[5] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 นับเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์การระบาดจากคริสตัลคลับ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ[6] ต่อมามีการเปิดเผยไทม์ไลน์ย้อนหลังของเขา พบว่าไม่ระบุว่าเคยเดินทางไปคริสตัลคลับ โดยอ้างว่าติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรี[7] นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าเขาสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์แก้ไทม์ไลน์กลางดึก[8] เขาแจ้งความเอาผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับผู้ที่โพสต์รูปถ่ายบุคคลในผับซึ่งเขาอ้างว่าทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเขา[9] วันที่ 9 เมษายน 2564 มีการเปิดเผยว่ามีผู้ติดเชื้อจากเขาแล้ว 7 คน[10]
พรรคภูมิใจไทย[แก้]
ศักดิ์สยาม ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมือง และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[11] ซึ่งก่อนหน้านั้นพี่ชาย (เนวิน ชิดชอบ) ได้ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2533 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2554 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ เปิดใจ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" ไขปริศนา..นอมินี "พี่เนวิน"
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๒, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "เปิดยิบ! ไทม์ไลน์ "ศักดิ์สยาม" ผู้ป่วยโควิดบุรีรัมย์ พบกลับบ้านหัวค่ำ ไม่โผล่สถานบันเทิง ระบุชัดติดจาก จนท.สำนักงาน รมว". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" สั่ง สสจ. บุรีรัมย์ แก้ไทม์ไลน์ใหม่ รายละเอียด 23-25 มี.ค.ผิด". ประชาชาติธุรกิจ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" แจ้งความ พ.ร.บ. คอมฯ ชาวเน็ต ปมว่อนภาพชายหน้าคล้าย". ประชาชาติธุรกิจ. 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ "สอบสวนโรค พบผู้สัมผัสเสี่ยง "ศักดิ์สยาม" ติดโควิดแล้ว 7 คน". ไทยรัฐ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ อนุทินนั่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๑๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๑, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (10 กรกฎาคม 2562 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- บุคคลจากจังหวัดสุรินทร์
- สกุลชิดชอบ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติไทย
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.