ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
พุทธศักราช 2502
New Seal of the Royal Command of Thailand.svg
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
วันลงนาม28 มกราคม พ.ศ. 2502
ผู้ลงนามรับรองจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
(หัวหน้าคณะปฏิวัติ)
วันลงนามรับรอง28 มกราคม พ.ศ. 2502
วันประกาศ28 มกราคม พ.ศ. 2502 [1]
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๑๗/หน้า ๑/๒๘ มกราคม ๒๕๐๒)
วันเริ่มใช้28 มกราคม พ.ศ. 2502
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรไทย
การร่าง
ชื่อร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ผู้ยกร่างสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การยกเลิก
ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
คำสั่งและประกาศของคณะปฏิวัติปี พ.ศ. 2501-2502
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 7 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

โดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้มีทั้งสิ้น 20 มาตราโดยมาตราที่สำคัญที่สุดคือมาตรา 17 ที่ได้ให้อำนาจของนายกรัฐมนตรีทั้งในทางบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ประกาศใช้มายาวนานถึง 9 ปี 4 เดือน 23 วันจึงได้ถูกยกเลิกไปเมื่อได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

อ้างอิง[แก้]

  1. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖ ตอน ๑๗ ก พิเศษ หน้า ๑ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]