กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
Emblem of the 21st Infantry Regiment, Queen's Guard.svg
ตราประจำทหารรักษาพระองค์กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประเทศ ไทย
รูปแบบกรมทหารราบรักษาพระองค์
กองบัญชาการค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
สมญาทหารเสือนวมินทราชินี
สีหน่วยม่วง
เพลงหน่วยเรา-เหล่าราบ 21
อิสริยาภรณ์Order of Rama 5th Class ribbon.svg เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร[1]
Bravery Medal (Thailand) ribbon.svg เหรียญกล้าหาญ (เฉพาะกองพันที่ 2)[2]
Streamer KPUC.PNG เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (เกาหลีใต้)[3]
Streamer PUC Army.PNG เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก)

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มีชื่อเต็มว่า กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ร.21 รอ.) เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ เหล่าทหารราบ ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่ 1 ได้รับพระราชทานสมญานามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ว่า "ทหารเสือนวมินทราชินี" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ทหารเสือราชินี"[4]

ทหารรักษาพระองค์กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง สวนสนามหน้าพระที่นั่ง ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549

ประวัติ[แก้]

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2493 ตามคำขอขององค์การสหประชาชาติ ในการจัดตั้งกำลังเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ โดยใช้นามหน่วยครั้งนั้นว่า “กรมผสมที่ 21” ต่อมาจึงแปรสภาพหน่วยมาเป็นชื่อในปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่ตั้งหน่วยปัจจุบันอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำรงตำแหน่งองค์ผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารนี้

วีรกรรมของหน่วย[แก้]

ธงประจำกรมทหารอาสาสมัคร"จงอางศึก"[ต้องการอ้างอิง]

การจัดกำลังหน่วย[แก้]

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดแบ่งกำลังพลออกเป็น 3 กองพัน คือ

  • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ร.21 พัน 1 รอ.)
  • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ร.21 พัน 2 รอ.)
  • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ร.21 พัน 3 รอ.)

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ประจำหน่วย[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ในฉลองพระองค์ตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม เนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2550
  • หมวกยอดมีพู่สีดำ มีพระนามาภิไธยย่อ สก. ในพระมหาพิชัยมุงกุฎ รองรับด้วยแถบแพรสะบัด ๒ ชาย และบนแถบแพรสะบัด ๒ ชาย มีคำว่า "ทหารเสือนวมินทราชินี"
  • เสื้อสักหลาดสีม่วง แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำ มีลายกนกดิ้นทอง ที่ข้อมือปักพระนามาภิไธยย่อ สก. ดิ้นทอง
  • กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีม่วงข้างละ ๒ แถบ ขอบของแถบกำกับด้วยดิ้นสีทอง
  • เครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อ สก. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา[1] เก็บถาวร 2007-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรทหารเสือ[แก้]

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ได้รับอนุมัติจากกองทัพบกให้ดำเนินการฝึกหลักสูตรทหารเสือ เมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีพระราชประสงค์ให้กำลังพลได้รับการฝึกพิเศษ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบ ทุกสภาพภูมิประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึก[แก้]

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกหลักสูตรทหารเสือ ต้องเป็นกำลังพลที่รับราชการอยู่ในหน่วยของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ หรือเป็นกำลังพลนอกหน่วยที่กองทัพบกอนุมัติให้เข้ารับการฝึก

ระยะเวลาการฝึก[แก้]

หลักสูตรทหารเสือจัดการฝึก 2 ปี ต่อ 1 รุ่น ใช้เวลาทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดยแบ่งช่วงการฝึกไว้ดังนี้

  • การปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อ ๆ ไป ระยะเวลา 4 สัปดาห์ (ผู้ที่ผ่านการฝึกในระยะนี้เท่านั้นที่จะสามารถรับการฝึกขั้นต่อไปได้)
  • การฝึกภาคป่า-ภูเขา ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในระยะนี้จะเน้นการฝึกการแทรกซึมทางอากาศด้วยอากาศยาน การฝึกการแทรกซึมทางพื้นดินเข้าปฏิบัติการต่อที่หมายในลักษณะหน่วยทหารขนาดเล็ก หรือชุดปฏิบัติการ การจัดตั้งและใช้กำลังกองโจร การพิสูจน์ทราบพื้นที่ป่า การฝึกขี่บังคับม้าและการบรรทุกต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยองค์พระประมุข และการศึกษางานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
  • การฝึกภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เน้นการแทรกซึมทางน้ำ การดำน้ำทางยุทธวิธี การใช้เรือยาง การลาดตระเวนชายฝั่ง การยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การโดดร่มลงทะเล การดำรงชีพในทะเล และประเพณีชาวเรือ
  • การฝึกภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การชิงตัวประกัน การขับขี่จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี
  • การฝึกภาคอากาศ ระยะเวลา 2 สัปดาห์ เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพื้นฐานของการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง การบังคับร่ม การพับร่ม และการแก้ไขเหตุติดขัด

เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ[แก้]

เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ผู้ที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรทหารเสือทุกนาย จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งเข็มดังกล่าวทำด้วยโลหะ เป็นรูปหัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. เบื้องล่างมีแพรแถบสีฟ้าบรรจุข้อความว่า "ทหารเสือ" ด้านข้างมีรูปเสือทะยานอยู่เหนือภูเขา เกลียวคลื่น ก้อนเมฆ ขนาบข้างหัวใจสีม่วงทั้งสองด้าน

สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ มีความหมายดังนี้

  1. หัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. หมายถึง ผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจ ทั้งนี้เพราะผู้ที่ใกล้ตาย หัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง ในห้วงเวลานั้น บุคคลผู้นั้นจะไม่พูดปดหรือปิดบังสิ่งใด ๆ
  2. เสือประคองหัวใจสีม่วง หมายถึง กำลังพลทหารเสือทุกนายเทิดทูนความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดีแทบเบื้องพระยุคลบาท
  3. ภูเขา เกลียวคลื่น ก้อนเมฆ หมายถึง ทหารเสือทุกนายพร้อมจะดั้นด้นไปทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบนฟ้า พื้นดิน ภูเขา หรือในทะเล เพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของชาติ และองค์พระมหากษัตริย์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/125/15.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/080/1360.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/050/1798_1.PDF
  4. ""บิ๊กตู่"ร่วมงานวันสถาปนา"ทหารเสือราชินี"". โพสต์ทูเดย์. 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  5. Ruth, Richard A (7 November 2017). "Why Thailand Takes Pride in the Vietnam War" (Editorial). New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]