สุชาติ โชคชัยวัฒนากร
สุชาติ โชคชัยวัฒนากร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ |
ถัดไป | พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 |
พรรค | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | นงลักษณ์ โชคชัยวัฒนากร |
ศาสนา | พุทธ |
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร (ชื่อเล่น : ต๋อย) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ[แก้]
นายสุชาติ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
เป็นบุตรของนายอาจิว นางกิมเฮียะ แซ่ตัน สมรสกับนางนงลักษณ์ โชคชัยวัฒนากร มีบุตรธิดา 3 คน คือ นางสาวฐิติรัตน์ โชคชัยวัฒนากร นายลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร และ นางสาวฐิติมา โชคชัยวัฒนากรนายสุชาติ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
การทำงาน[แก้]
นายสุชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกในปี พ.ศ. 2529[1] เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาภายหลังจากการลาออกของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำให้นายสุชาติ ได้รับตำแหน่งนี้แทน [2]
สุชาติ โชคชัยวัฒนากร เคยเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาราช ในปี พ.ศ. 2550 และย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชาชนในปีเดียวกัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 16[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อเพียง 5 ที่นั่งเท่านั้น
พ.ศ. 2562 เมื่อนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นายสุชาติ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนางกนกวรรณ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดมหาสารคาม
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาราช
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.