หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (ชื่อเดิม สุทธิ สุขะวาที) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2444 ที่ตำบลเสาชิงช้า อำเภอสำราญราษฎร์ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ หลวงเพราะสำเนียง (ชื่อเดิม ศุข ศุขวาที) และ คุณแม่จีบ สมรส สมรสกับ คุณหญิง ทิพย์ สุทธิสารรณกร
การศึกษา[แก้]
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี 2465
บรรดาศักดิ์[แก้]
- 18 พฤษภาคม 2475 หลวงสุทธิสารรณกร
- 3 มิถุนายน 2473 ขุนสุทธิสารรณกร
ตำแหน่งสำคัญทางทหาร[แก้]
- 1 มกราคม 2503 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรักษาราชการ รองผู้บัญชาการทหารบก
- 16 กันยายน 2497 รองผู้บัญชาการทหารบก
- 20 พฤษภาคม 2497 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- 4 มิถุนายน 2493 เสนาธิการทหารบก
- 9 ตุลาคม 2491 รองเสนาธิการทหารบกและรักษาราชการผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- 14 กุมภาพันธ์ 2491 เจ้ากรมการรักษาดินแดน
- 28 มกราคม 2491 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 1 มกราคม 2489 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 2
- 29 พฤษภาคม 2488 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 31 สิงหาคม 2487 ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ตามคำสั่งกรมบัญชาการกองทัพใหญ่
- 8 เมษายน 2483 เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 4
- 1 สิงหาคม 2475 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
- 1 พฤษภาคม 2470 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- 1 พฤษภาคม 2465 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4
ตำแหน่งนายทหารพิเศษ[แก้]
- 29 พฤศจิกายน 2498 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- 3 พฤษภาคม 2494 ราชองครักษ์พิเศษ
- 24 พฤศจิกายน 2487 ราชองครักษ์เวร
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง[แก้]
- 10 เมษายน 2495 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2499 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2495
- 5 กรกฎาคม 2499 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 16 กันยายน 2500
- 30 พฤศจิกายน 2494 - 18 กันยายน 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
- 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500 ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
- 18 กันยายน 2500 - 20 ตุลาคม 2501 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
- 3 กุมภาพันธ์ 2502 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511 ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- กุมภาพันธ์ 2502 เป็นมนตรีสหภาพรัฐสภา
- 19 กุมภาพันธ์ 2502 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 7 กันยายน 2502 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2502
- 26 สิงหาคม 2502 - 4 กันยายน 2502 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยรัฐสภาไทยไปประชุมสหภาพรัฐสภา ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
- 25 สิงหาคม 2506 เป็นหัวหน้าคณะไปเยือนนิวซีแลนด์ ตามคำเชิญของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์
- 7 กันยายน 17 กันยายน 2508 เป็นหัวหน้าหน่วยรัฐสภาไทย ไปประชุมสหภาพ รัฐสภา ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา
- 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2510 เป็นประธานที่ประชุมในการประชุม สหภาพสมาชิกรัฐสภาอาเซีย ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
- 28 พฤศจิกายน 2510 เป็นประธานสหภาพสมาชิกรัฐสภาอาเซีย
- 3 กุมภาพันธ์ 2511 - 17 เมษายน 2511 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา[แก้]
- 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ[แก้]
- 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2505 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)[1]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ถึงแก่อสัญกรรมในขณะดำรงตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 17 เมษายน 2511
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙, ตอน ๔๖ ง, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๑๒๔๙
|