ประเทศไทยในสงครามเกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพไทยในเกาหลี
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
Emblem of the Royal Thai Expeditionary Forces to Korea.svg
ตราสัญลักษณ์ของกองทัพไทยในเกาหลี
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อสหประชาชาติสหประชาชาติ
รูปแบบกองพันทหารราบ
กำลังรบ11,786 นาย ตลอดสงคราม[1]
สมญา"พยัคฆ์น้อย"
ปฏิบัติการสำคัญยุทธการที่เนินพอร์กช็อป
ยุทธการที่โซลครั้งที่สาม
อิสริยาภรณ์Streamer KPUC.PNG Republic of Korea Presidential Unit Citation
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญพลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
พันโท เกรียงไกร อัตตะนันทน์
พันตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 21 ประเทศที่ตอบรับคำขอของสหประชาชาติในการส่งกำลังเพื่อช่วยเหลือเกาหลีใต้ในช่วงสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493–2496) ตลอดจนเป็นประเทศแรก ๆ ที่แสดงออกซึ่งการสนับสนุนอุดมการณ์ของเกาหลีใต้ ขณะที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของสหประชาชาติในสงคราม การสนับสนุนของไทยมีความสำคัญในการตัดสินผลของบางสมรภูมิ เช่น เนินพอร์กช็อปและยุทธการที่โซลครั้งที่ 3

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ส่งความช่วยเหลือไปยังเกาหลีใต้[2] รัฐบาลตระหนักว่าหากพรรคคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองเกาหลีอาจเป็นความหายนะต่อระเบียบทางการเมืองของไทย รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจสนับสนุนอุดมการณ์ของเกาหลีใต้อย่างเต็มที่[3] มีการส่งข้าวสี่หมื่นตันไปช่วยเหลือประเทศเกาหลี และต่อมาส่งทหารราบหนึ่งกองพันจากกรมทหารผสมที่ 21 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) และเรือรบอีกหลายลำ ต่อมา รัฐบาลไทยส่งอากาศยานขนส่งไปช่วยหลายลำ กรมทหารราบนี้กลับสู่ประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498

กรมทหารราบที่ 21[แก้]

ทหารไทย ณ ปูซาน ปี 2493

ปฏิบัติการในเกาหลี[แก้]

ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป[แก้]

ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป (31 ตุลาคมถึง 11 พฤศจิกายน 2495) เป็นการสู้รบหลายครั้งเพื่อแย่งชิงการควบคุมเนินด่านหน้าที่สำคัญตามแนวหน้าระหว่างที่มีการเจรจาพักรบที่พันมุนจ็อม ยุทธการบนเนินเกิดขึ้น ณ "เนินพอร์กช็อป" ซึ่งขณะนั้นกองพันทหารราบที่ 21 ของไทยถือครองอยู่ ทหารไทยสามารถผลักดันการเข้าตีของอาสาสมัครประชาชนจีน หลังได้ชัย กองทัพสหรัฐมอบรางวัลลีจันออฟเมอริตแก่ทหารไทยหนึ่งนาย 12 นายได้ซิลเวอร์สตาส์ และอีก 26 นายได้รับเหรียญบรอนซ์สตาร์ พลเอก เจมส์ แวน ฟลีต ผู้บังคับบัญชากองทัพสหรัฐที่ 8 มอบสมญาให้ทหารเหล่านี้ว่า "เสือน้อย"

ทหารจีนพยายามแบบสุดตัวในการยึดเนินพอร์กช็อป โดยเข้าตีห้าครั้ง แต่ล้มเหลวทั้งหมด

ในฤดูใบไม้ผลิสุดท้ายของสงคราม (มีนาคมถึงมิถุนายน 2496) ทหารไทยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึกและในฐานะกองหนุนของเหล่าสหรัฐที่ 9 ถูกย้ายไปยังเคียวตง (Kyo-dong) ในวันที่ 4 พฤษภาคม ยุทธการที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาในบริเวณของ "บูมเมอแรง" ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 27 กรกฎาคม 2496 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Kumhwa

กำลังทางเรือ[แก้]


เรือหลวงท่าจีน และ เรือหลวงประแส ในปี 2494 ก่อนไปประจำการในสงคราม

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2493 เรือรบไทยสองลำ เรือหลวง ประแส และ เรือหลวง บางปะกง มาถึงเกาหลีใต้ ทั้งสองลำรับราชการภายใต้กองบัญชาการสหประชาชาติ โดยปฏิบัติหน้าที่นำขบวนและยิงปืนใหญ่ถล่มเป้าหมายบนพื้นดิน เรือ ประแส เกยตื้นบนชายฝั่งใกล้กับยางยางระหว่างเกิดพายุหิมะ ความพยายามในการทำให้เรือกลับมาลอยอีกครั้งล้มเหลว และมีการยิงถล่มซากเรือเพื่อให้สิ้นซาก เรือ บางปะกง ออกจากเกาหลีในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2495 และในวันที่ 29 ธันวาคม 2494 เรือรบไทยอีกสองลำ เรือหลวง ประแส 2 และเรือหลวงท่าจีน มาถึงเกาหลี ทั้งสองลำกลับประเทศหลังมีการสงบศึกในวันที่ 21 มกราคม 2498[4]

เรือขนส่ง เรือหลวง สีชัง มาถึงเกาหลีในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2493 และอยู่จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2494

อากาศยาน[แก้]

กองทัพอากาศไทยจัดหาอากาศยานดักลาส ซี-47 สกายเทรน เข้าร่วมในสงครามเกาหลี วันที่ 22 กันยายน 2493 รัฐบาลไทยสั่งให้หน่วยของตนสนับสนุนปฏิบัติการของกองทัพสหประชาชาติ

มรดก[แก้]

อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส ที่จัดแสดง ณ จังหวัดระยอง

ตลอดระยะเวลาของสงครามเกาหลี ประเทศไทยส่งทหารรวม 11,786 นายไปประเทศเกาหลีใต้[5] มีบันทึกว่าทหารไทย 136 นายเสียชีวิตในสงคราม ในปี 2517 รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีสร้างอนุสาวรีย์และศาลาไทยในเมืองโพชอนเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารไทยที่เข้าร่วมในสงครามเกาหลี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ช่วยทูตสำนักงานกลาโหมเป็นเจ้าภาพในพิธีเปิดงานอนุสรณ์สถานไทย ณ สุสานอนุสรณ์สหประชาชาติในเกาหลี (UNMCK) เพื่อระลึกถึงการเสียสละของทหารไทยในสงครามเกาหลี

เรือหลวง ประแส 2 ถูกปลดประจำการจากกองทัพเรือไทยในปี 2543 และมีการกำหนดให้เป็นเรือพิพิธภัณฑ์ เรือมองเห็นได้ที่ปากแม่น้ำประแส จังหวัดระยอง โดยคณะกรรมการชุมชนแม่น้ำประแส เรือใช้เป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์กรมทหารราบที่ 21

เหรียญบำเหน็จ[แก้]

เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[แก้]

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี​ กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2494 ดังนี้

"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการร่วมรบกับสหประชาชาตินั้น ให้เป็นสีฟ้า ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร และถัดริ้วสีฟ้าเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[6]

แพรแถบย่อ
Victory Medal - Korean War with wreath (Thailand) ribbon.svg
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีประดับช่อชัยพฤกษ์
Victory Medal - Korean War with flames (Thailand) ribbon.svg
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี ประดีบเปลวระเบิด
Victory Medal - Korean War (Thailand) ribbon.svg
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี

อนุสรณ์[แก้]

วันที่ระลึก[แก้]

วันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามเกาหลี ตรงกับวันที่ 22 ตุลาคม ของทุกปี

ปัจจุบัน[แก้]

นายสิบทหารบกไทยที่ประจำการในเกาหลี ณ พันมุนจ็อม​ ปี 2556

ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยยังคงมอบหมายให้นายทหาร 1 นาย เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานในคณะกรรมการสงบศึก และนายทหารอีก 6 นาย เป็นสมาชิกกองร้อยเกียรติยศกองบัญชาการสหประชาชาติในกรุงโซล

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. History of Thailand
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. ประเทศไทยส่งทหารรวม 11,786 นายไปประเทศเกาหลีใต้
  6. แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]