ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น||บรรดาศักดิ์|พระยาพหลพลพยุหเสนา}}
{{ความหมายอื่น||บรรดาศักดิ์|พระยาพหลพลพยุหเสนา}}
{{ผู้นำประเทศ| name = พระยาพหลพลพยุหเสนา<br>(พจน์ พหลโยธิน)
{{ผู้นำประเทศ| name = พระยาพหลพลพยุหเสนา<br>(พจน์ พหลโยธิน)
| image = Pahol.jpg
| image = Phraya Pahol.jpg
| order = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] คนที่ 2
| order = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] คนที่ 2
| term_start = [[21 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2476]]
| term_start = [[21 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2476]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:44, 2 มีนาคม 2561

พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 11 กันยายน พ.ศ. 2481
(5 ปี 82 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก่อนหน้าพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
(0 ปี 103 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
ถัดไปนายปรีดี พนมยงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2477 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477(0 ปี 174 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)
ถัดไปจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478(0 ปี 313 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)
ถัดไปพระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479(0 ปี 195 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ถัดไปพระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480(0 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
ถัดไปพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476(0 ปี 262 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปพระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 4 มกราคม พ.ศ. 2481(5 ปี 151 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
ถัดไปจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2489(1 ปี 216 วัน)
ก่อนหน้าพลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ถัดไปพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2430
จังหวัดพระนคร ราชอาณาจักรสยาม
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (60 ปี)
วังปารุสกวัน จังหวัดพระนคร[1]
ศาสนาพุทธศาสนา
คู่สมรสคุณหญิงพิจ พหลพลพยุหเสนา (หย่า)
ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นพระยาพหลพลพยุหเสนา.jpg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2490
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2[2]
พระยาพหลพลพยุหเสนา (แถวหน้าซ้ายมือ) นำคณะรัฐมนตรีของไทยเข้าเยือนประเทศญี่ปุ่น และพบกับ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้าตรงกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน)[3] กับท่านผู้หญิงจับ พหลพลพยุหเสนา สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 5 สมัย รวมระยะเวลา 5 ปี 5 เดือน 21 วัน ยังได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรุษ ด้วย ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 03.05 น. รวมอายุได้ 60 ปี

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีพี่ชายที่รับราชการทหาร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพยุหเสนา เช่นกัน คือ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ พหลโยธิน) ยศสูงสุดเป็น พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี[4]

การศึกษา

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
  • พ.ศ. 2458 ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร
  • พ.ศ. 2460 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • พ.ศ. 2461 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2
  • พ.ศ. 2467 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสรายุทธ์สรสิทธิ์ ถือศักดินา 1,000[5]
  • พ.ศ. 2469 ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก
  • วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร
  • พ.ศ. 2473 จเรทหารปืนใหญ่
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพหลพลพยุหเสนา ถือศักดินา 1,500[6]
  • พ.ศ. 2475 ผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2487 แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และตำรวจสนามตามกฎอัยการศึก

บทบาททางการเมือง

บทบาททางการเมืองและชีวิต

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ (อีก 3 คน ได้แก่ พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) และพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)) ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับ[1]

ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้านเมืองได้บ้าง"[1] และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยังตำบลนัดพบ คือ บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ ในเวลา 05.00 น. เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรงสุรเดช พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่เอว เป็นอาวุธข้างกาย ก่อนที่จะเดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 รอ.) ที่แยกเกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติตามแผนของพระยาทรงสุรเดช ซึ่งที่คลังแสงอาวุธภายในกรมทหารม้าฯ นี้ พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กที่ทางพระประศาสน์พิทยายุทธได้จัดหาไว้ก่อนหน้านั้น ตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่องัดเอากระสุนและปืนออกมา[7]

จากนั้น ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้แสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร ที่เขียนด้วยภาษาเยอรมัน แต่ได้อ่านออกมาเป็นภาษาไทย[8] ซึ่งมีใจความว่า[9]

การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง ใครจะออกเสียงหรือความเห็นคัดค้านอย่างใดมิได้ทั้งสิ้น การปกครองแบบนี้ได้ปล่อยให้อาณาประชาราษฎรเผชิญโชคชะตาทางเศรษฐกิจและการภาษีต่าง ๆไปตามลำพัง ไม่ได้คิดหาทางแก้ไขบูรณะบ้านเมืองให้ดีขึ้น จะปล่อยให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายและเป็นไปตามยถากรรมนั้นเป็นการไม่พึงบังควรยิ่ง เราจึงต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พระมหากษัตริย์ทรงสถิตอยู่ใต้กฎหมาย

เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 2 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับพระราชทานวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่พำนัก แม้ถึงตอนที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งท่านได้ใช้ที่นี่เป็นที่พำนักพักอาศัยตราบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต[1]

พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ" ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม[1] ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ ที่ขึ้นมาแทนที่รัฐบาลของจอมพลแปลก ที่ได้ลาออกไปก่อนหน้านั้น เมื่อรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับไว้ในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้งหรืออย่างไร อีกทั้งระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตรีควง ในช่วงนี้ เป็นที่หวาดวิตกว่า อาจมีรัฐประหาร ด้วยกำลังทหารจากจังหวัดลพบุรี ที่ยังให้การสนับสนุนจอมพลแปลกอยู่ เพื่อยุติภาวะอันนี้ พันตรีควง จึงตัดสินใจเดินทางไปพบจอมพลแปลกด้วยตัวเองถึงที่บ้านพักส่วนตัว ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี หลังจากเจรจากันแล้ว จอมพลแปลกได้ยืนยันว่า ไม่มีความคิดเช่นนั้นเลย อีกทั้งยังมีความรักใคร่ พันตรีควง เสมือนเป็นน้องชายตนเอง ในการครั้งนี้ ด้วยความเป็นห่วงพันตรีควง พระยาพหลพลพยุหเสนาได้โทรศัพท์ไปสอบถามถึงบ้านพักของพันตรีควงถึง 2 ครั้ง เมื่อไม่ได้ความ ก็เดินทางออกจากวังปารุสกวันไปที่หลักสี่เพื่อรอคอยการกลับมาของพันตรีควงด้วยตนเอง ทั้งที่สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย [2]

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2488 เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก แต่ด้วยความสามารถของนายแพทย์และด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง ท่านได้ต่อสู้โรคร้ายมาตลอดราว 2 ปีเศษ จนเมื่อเวลา 21.40 น. ของคืนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2490 ได้เกิดอาการหายใจลึกและสะท้อน ชีพจรอ่อน พูดไม่ได้ มีเสมหะในลำคอมาก ม่านตาไม่ขยาย อาการทรุดลงตามลำดับ จนถึงเวลา 3.05 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 60 ปี นายแพทย์พร้อมกันลงความเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองได้แตกอีกเป็นครั้งที่2 จึงเป็นเหตุให้ถึงแก่อสัญกรรม[10] ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ จนทางรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิงให้ท่านแทน[1] ศพของพระยาพหลฯได้ถูกอังเชิญไปประดิษฐาน ณ วังปารุสกวันและพระราชทานเพลิงศพที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2490 ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอยู่จำศีลภาวนาเมื่อคราวอุปสมบท

อนุสรณ์

ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรี และปัจจุบัน มีการสร้างพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อยู่ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของท่านมาก่อนในขณะเป็นผู้บังคับบัญชา ภายในรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ รูปปั้น ชุดเครื่องแบบ ตลอดจนรูปถ่าย จดหมายลายมือของท่าน และบัตรประจำตัว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาชีวประวัติและเชิดชูเกียรติของท่าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด[11]

ครอบครัว

พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน

ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ

  • นางสาวภาพร พหลพลพยุหเสนา
  • นางพรจันทร์ ศรีพจนารถ
  • พลตรี ชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา
  • พันตรี พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา
  • นางพจี พหลโยธิน สุทธินาค
  • นางพวงแก้ว สาตรปรุง
  • พันตำรวจโท พรหมธรมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
รับใช้กองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย
ประจำการ
ชั้นยศ
  • พลเอก
  • พลเรือเอก
  • พลอากาศเอก
ไทย
ต่างประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ส.พลายน้อย. พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2555. 137 หน้า. ISBN 9740208754
  2. 2.0 2.1 จรี เปรมศรีรัตน์. กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปีประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี : ใจกาย, 2552. 323 หน้า. ISBN 9789747046724
  3. ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  4. ผู้แทนราษฎร โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2716 ปีที่ 53 ประจำวัน อังคาร ที่ 7 พฤศจิกายน 2549
  5. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 1244. 20 กรกฎาคม 2467. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (ง): 3011. 15 พฤศจิกายน 2474. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 24 มิถุนายน (6) จากเดลินิวส์ โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ.
  8. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  9. นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕: "ย่ำรุ่ง" คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไร? จากมติชน
  10. หนังสือ 111ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เชษฐบุรุษ พิมพ์ครั้งที่1 กันยายน 2552 หน้าที่ 90-91
  11. พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม 51, 30 กันยายน 2477, หน้า 2079.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๕๑, ตอน ๐ ง, ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๓๑๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ถัดไป
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์)
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีไทย
(21 มิถุนายน พ.ศ. 247611 กันยายน พ.ศ. 2481)
แปลก พิบูลสงคราม
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
(หม่อมราชวงศ์ ประยูร อิศรศักดิ์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(16 ธันวาคม พ.ศ. 247629 มีนาคม พ.ศ. 2477)
ปรีดี พนมยงค์
พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม
(เทียบ คมกฤส)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(1 เมษายน พ.ศ. 247722 กันยายน พ.ศ. 2477)
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
พระยาอภิบาลราชไมตรี
(ต่อม บุนนาค)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(22 กันยายน พ.ศ. 24771 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
พระยาศรีเสนา
(ศรีเสนา สมบัติศิริ)
พระยามานวราชเสวี
(ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ไฟล์:ตรากระทรวงการคลัง.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1 สิงหาคม พ.ศ. 247812 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)
พระยาไชยยศสมบัติ
(เสริม กฤษณามระ)
พระยาฤทธิอัคเนย์
(สละ เอมะศิริ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(9 สิงหาคม พ.ศ. 248021 ธันวาคม พ.ศ. 2480)
พระยาฤทธิอัคเนย์
(สละ เอมะศิริ)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
(16 ธันวาคม พ.ศ. 247629 มีนาคม พ.ศ. 2476)
พระสารสาสน์ประพันธ์
(ชื้น จารุวัสตร์)
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 1

(6 สิงหาคม พ.ศ. 2475 - 4 มกราคม พ.ศ. 2481)
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
(พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)

ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 2

(25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2489)
พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส