พ.ศ. 2480
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2480 |
ปฏิทินเกรกอเรียน | 1937 MCMXXXVII |
Ab urbe condita | 2690 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1386 ԹՎ ՌՅՁԶ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6687 |
ปฏิทินบาไฮ | 93–94 |
ปฏิทินเบงกอล | 1344 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2887 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 1 Geo. 6 – 2 Geo. 6 |
พุทธศักราช | 2481 |
ปฏิทินพม่า | 1299 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7445–7446 |
ปฏิทินจีน | 丙子年 (ชวดธาตุไฟ) 4633 หรือ 4573 — ถึง — 丁丑年 (ฉลูธาตุไฟ) 4634 หรือ 4574 |
ปฏิทินคอปติก | 1653–1654 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3103 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1929–1930 |
ปฏิทินฮีบรู | 5697–5698 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1993–1994 |
- ศกสมวัต | 1859–1860 |
- กลียุค | 5038–5039 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11937 |
ปฏิทินอิกโบ | 937–938 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1315–1316 |
ปฏิทินอิสลาม | 1355–1356 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 12 (昭和12年) |
ปฏิทินจูเช | 26 |
ปฏิทินจูเลียน | เกรกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4270 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 26 民國26年 |
พุทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937 (ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2480 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)
ผู้นำ[แก้]
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- เจ้านครประเทศราช (นครเชียงใหม่) : เจ้าแก้วนวรัฐ (23 มกราคม พ.ศ. 2452 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482)
- เจ้านครประเทศราช (นครลำพูน) : เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (18 มีนาคม พ.ศ. 2454 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481)
เหตุการณ์[แก้]
- 6 พฤศจิกายน - อิตาลีเข้าร่วมในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล
- 13 ธันวาคม - ทหารญี่ปุ่นเข้าบุกยึดเมืองนานกิง
- 1 กุมภาพันธ์ - ทีมฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 14 ณ สนามกีฬากาโซเมโตร กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
- 11 มีนาคม - กองทหารเยอรมันเดินทัพเข้าสู่ออสเตรีย
- 13 มีนาคม - ฮิตเลอร์ประกาศให้ออสเตรียเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรไรซ์แห่งเยอรมัน
- 17 พฤษภาคม - วันก่อตั้งโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (ปัจจุบันเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)
- 27 พฤษภาคม - สะพานโกลเดนเกตที่เชื่อมระหว่างซานฟรานซิสโกกับมารินเคาตี ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เปิดให้ประชาชนเดินเท้าข้ามเป็นครั้งแรก
- 6 พฤษภาคม - เอลเซท 129 ฮินเดนบูร์กเกิดติดไฟและลุกเป็นไฟก้อนใหญ่อย่างรวดเร็วโดยไม่ระเบิดอย่างที่ทุกคนคาดกันไว้ ไฟเริ่มลุกใหม้ที่ถุง 4 แล้วลามอย่างรวดเร็วมาทางส่วนหน้า ส่วนหลังบนของยานหักโดยยานยังคงรูปแต่เงยส่วนหน้าขึ้น ในขณะที่ส่วนหางตกกระแทกพื้นดินก็มีเปลวไฟประทุพุ่งออกทางส่วนหัวเรือ ทำให้ลูกเรือทั้งหกคนเสียชีวิต
- 20 กันยายน - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 1 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
วันเกิด[แก้]
- 4 มกราคม - เจริญศรี สอาดยิ่ง นักแสดงและนักร้องเพลงลูกกรุงชื่อดังชาวไทย
- 9 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงมาไฮเซนเต ฮาเบต มาเรียมแห่งเอธิโอเปีย
- 12 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายวิคตอริโอ เอ็มมานูเอล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอิตาลี
- 18 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงอิเนส ดัชเชสแห่งซีราคิวส์
- 21 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ พระมหา-กษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์
- 2 มีนาคม - อับดุลอะซีซ บูเตฟลีกา ประธานาธิบดีประเทศแอลจีเรีย คนปัจจุบัน
- 15 มีนาคม - พลายน้อย ร.ฟ.ท. แชมป์ OPBF
- 28 เมษายน - ซัดดัม ฮุสเซน ประธานาธิบดีคนที่ 5 แห่งประเทศอิรัก (ถึงแก่กรรม 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549)
- 6 พฤษภาคม - อมรา อัศวนนท์ นักแสดงชื่อดังชาวไทย
- 8 พฤษภาคม - รวงทอง ทองลั่นทม นักร้องเพลงลูกกรุงชาวไทย
- 12 พฤษภาคม - จอร์จ คาร์ลิน นักประพันธ์ นักแสดง และนักแสดงตลกชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
- 21 พฤษภาคม - เมนกิสตู ไฮเล มาเรียม ทหารและนักการเมืองชาวเอธิโอเปีย
- 16 มิถุนายน - พระเจ้าซาร์ซีโมนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของประเทศบัลแกเรีย
- 26 มิถุนายน - สมบัติ เมทะนี นักแสดงภาพยนตร์ชื่อดังชาวไทย
- 4 กรกฎาคม - สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
- 14 กรกฎาคม - โยชิโร โมริ นักการเมืองญี่ปุ่น
- 22 กรกฎาคม - พรเพชร เหมือนศรี นักสิทธิมนุษยชนดีเด่น (ถึงแก่กรรม 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
- 15 สิงหาคม - บุนยัง วอละจิด อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศลาว
- 11 กันยายน - สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม ทรงเป็นพระราชมารดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียม พระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันแห่งเบลเยียม
- 2 ตุลาคม - ท่านหญิงรังษีนภดล ยุคล(ตามฐานันดร) คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (ตามเครื่องราชอิสริยาภรณ์) (สิ้นชีพิตักษัย 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
- 4 ตุลาคม - ฟรันทซ์ วรานิทซ์คี นักการเมืองชาวออสเตรีย
- 25 ตุลาคม - หม่อมราชวงศ์หญิงรำพิอาภา เกษมศรี ภรรยา หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
- 29 ธันวาคม - เมามูน อับดุล กายูม นักการเมืองมัลดีฟส์
วันมรณภาพ[แก้]
- หลวงปู่ทอง อายานะ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชโยธา (เกิด พ.ศ. 2363)
รางวัล[แก้]
รางวัลโนเบล[แก้]
- สาขาเคมี – Walter Norman Haworth, เพาล์ คาร์เรอร์
- สาขาวรรณกรรม – โรแฌร์ มาร์แตง ดู การด์
- สาขาสันติภาพ – โรเบิร์ต เซชิล
- สาขาฟิสิกส์ – Clinton Davisson, George Paget Thomson
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – อัลแบรต์ เซนท์-จเยอร์จยี
![]() |
บทความนี้เกี่ยวกับ ปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ ที่กำลังรอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ |