ระบบการปกครอง
ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ :
สาธารณรัฐแบบรัฐสภาซึ่งมีประธานาธิบดีในทางพิธีการ/ไม่มีอำนาจบริหาร โดย
หัวหน้ารัฐบาล อีกคนหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร
ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย :
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งมีหัวหน้ารัฐบาลอีกคนหนึ่ง แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงมีอำนาจบริหารและ/หรืออำนาจนิติบัญญัติอย่างสำคัญ
ประเทศซึ่งบทบัญญัติการปกครองตามรัฐธรรมนูญถูกระงับ (เช่น
เผด็จการทหาร )
ประเทศซึ่งไม่เข้ากับระบบข้างต้นใด ๆ (เช่น รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน สถานการณ์ทางการเมืองไม่ชัดเจน หรือไม่มีรัฐบาล)
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ : absolute monarchy ) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง และมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้
แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม
แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์
ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด[ต้องการอ้างอิง ]
ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชน และบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น
กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายพื้นฐานของประเทศ[ต้องการอ้างอิง ]
ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน เอสวาตินี กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย[ต้องการอ้างอิง ]
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย [ แก้ ]
ประเทศไทย เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้" [1]
ในทัศนะของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมาก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7[2]
คำศัพท์ [ แก้ ]
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์" บัญญัติมาจาก "absolute monarchy"[3] มีความหมายตรงตัวว่า ความเป็นกษัตริย์ซึ่งมีอาญาสิทธิ์ (อำนาจเด็ดขาด) โดยสมบูรณ์
อ้างอิง [ แก้ ]
↑ 1.0 1.1 อมร รักษาสัตย์, พระราชอำนาจตามกฎหมาย
↑ หน้า 110, รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ . สัมภาษณ์. นิตยสารสารคดี "๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕" ฉบับที่ ๑๗๒: มิถุนายน ๒๕๔๒
↑ ดู ธนาพล ลิ่มอภิชาต. (2560, ก.ย.-ธ.ค.). “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” คืออะไร: การต่อสู้ทางความคิด ความรู้ และอุดมการณ์ในสังคมไทย. รัฐศาสตร์สาร . 38(3): 1-59.
บทอ่านเพิ่มเติม [ แก้ ]
Anderson, Perry . Lineages of the Absolutist State . London: Verso, 1974.
Beloff, Max. The Age of Absolutism From 1660 to 1815 (1961)
Blum, Jerome et al. The European World (vol 1 1970) pp 267–466
Kimmel, Michael S. Absolutism and Its Discontents: State and Society in Seventeenth-Century France and England . New Brunswick, NJ: Transaction Books, 1988.
Méttam, Roger. Power and Faction in Louis XIV's France . New York: Blackwell Publishers, 1988.
Miller, John (ed.). Absolutism in Seventeenth Century Europe . New York: Palgrave Macmillan, 1990.
Wilson, Peter H. Absolutism in Central Europe . New York: Routledge, 2000.
Zmohra, Hillay. Monarchy, Aristocracy, and the State in Europe - 1300-1800 . New York: Routledge, 2001
ดูเพิ่ม [ แก้ ]
ประเภท ประเทศ / ดินแดน
ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปโอเชียเนีย ทวีปอเมริกา