กองทัพอากาศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพอากาศไทย
ตราราชการกองทัพอากาศ
ประจำการ2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456; 110 ปีก่อน (2456-11-02)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม
รูปแบบกองทัพอากาศ
บทบาทสงครามทางอากาศ
สงครามต่อต้านอากาศยาน
กำลังรบ47,000 นาย
อากาศยาน 700 ลำ
ขึ้นกับกระทรวงกลาโหม
กองบัญชาการกองทัพไทย
ศูนย์บัญชาการฐานทัพอากาศดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
สมญา"ทัพฟ้า"
"ทอ."
คำขวัญน่านฟ้าไทย จะมิให้ใครมาย่ำยี
สีหน่วย       น้ำเงิน
เพลงหน่วยมาร์ชกองทัพอากาศ
วันสถาปนา9 เมษายน พ.ศ. 2480
(วันกองทัพอากาศไทย)
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์http://www.rtaf.mi.th/en/Pages/default.aspx
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารอากาศ
พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล
ผบ. สำคัญจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์
พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข
พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายอากาศยาน
ธงชัยเฉลิมพล
ธงประจำ
กองทัพ
Aircraft flown
AttackAlpha Jet, F-16A/B Block 15 OCU
การสงครามอิเล็กทรอนิกส์Saab 340 AEW&C
FighterJAS-39C/D, F-16AM/BM, F-5E/F
เฮลิคอปเตอร์UH-1, Bell 412, S-92, EC725, S70i
InterceptorF-16 ADF
ReconnaissanceSaab 340B ELINT/COMINT, DA42 MPP, P.180 Avanti
TrainerCT/4, T-41D, PC-9, DA42, L-39, T-50TH
TransportC-130, BT-67, ATR-72, 737-400/800, A319/A320, A340-500, SSJ-100-95LR, AU-23

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., อังกฤษ: Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรก ๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน

ประวัติ[แก้]

แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ ชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น (Van Den Born) ได้นำเครื่องบินปีก 2 ชั้น แบบอองรี ฟาร์ม็อง 4 (Henry Farman IV) มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย

นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454

หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะ กิจการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"

หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2460 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องเป็นอันมาก และในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2461 กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศไม่ได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2464 จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก "กรมอากาศยานทหารบก" เป็น "กรมอากาศยาน" โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง และในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันตรังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"

กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก

ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 12 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย

ภารกิจ[แก้]

กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ส่วนราชการในสังกัดกองทัพอากาศ[แก้]

กองบัญชาการกองทัพอากาศ[แก้]

  • แผนกสนับสนุนกองบัญชาการกองทัพอากาศ
  • ศูนย์อำนวยการเครื่องบินพระราชพาหนะ
  • ศูนย์อำนวยการเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
  • ศูนย์การสงครามทางอากาศ
  • สำนักงานพัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ

ส่วนบัญชาการ[แก้]

Regimental colours guard of Thai air cadet, RTAF, in full dress (royal Guard)
RTAF Roundel 1942-1945[1]
UH-1H performing CSAR demonstration, 2012, Don Muang RTAFB
Bell 412 and Sikorsky S92helicopters royal flight fly by, 2012
L-39ZA/ART, Alphajet, F-16A และ AU-23A ในงานวันเด็กแห่งชาติ 2550
Saab JAS 39 Gripen of the Royal Thai Air Force
Royal Thai Air Force : SAAB Jas 39 Gripen C , During air show at Don Maung Air Force Base in Bangkok, Thailand 2012
RTAF Blue Phoenix Air Show at Don Maung, Bangkok , 2012

ส่วนกำลังรบ[แก้]

หมายเหตุ
(*) = ฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า ไม่มีอากาศยานบรรจุถาวร
(**) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามและสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ
(***) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติภารกิจพิเศษและหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
(****)กำลังจะมีอากาศยานประจำการหรือเป็นฐานต่อระยะทำการ

ส่วนส่งกำลังบำรุง[แก้]

ส่วนการศึกษา[แก้]

ส่วนกิจการพิเศษ[แก้]

  • ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
  • กรมสวัสดิการทหารอากาศ
  • สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สน.ผบ.ดม.)
  • สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ

อากาศยานในประจำการ[แก้]

ผู้ผลิต
รูปภาพ
ชาติกำเนิด
บทบาท
รุ่น
จำนวน
รายละเอียด
ฝูงบิน
เครื่องบินขับไล่และโจมตี
Saab ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน หลากบทบาท JAS 39C/D 11
  • ติดมิสไซล์ IRIS-T และ AIM-120 AMRAAM
  • อัพเกรดเป็น MS20 เสร็จสมบูรณ์
  • มีแผนจัดหาเพิ่ม 3 เครื่อง
701
Lockheed Martin  สหรัฐ ขับไล่/โจมตี F-16A/B ADF
F-16A/B OCU
F-16A/B MLU
12/1
11/4+3/4
12/6
102
103
403
Northrop  สหรัฐ ขับไล่/โจมตี F-5 13
  • อัพเกรดเป็น F-5TH Super Tiges
  • สามารถติดตั้งมิสไซล์ IRIS-T และ Python 5
211
Dornier ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี โจมตีเบา/ฝึกหัด Alpha Jet A 18
  • อัพเกรดเป็น Alpha jet TH
231
เครื่องบินฝึกหัด
Korea Aerospace Industries  เกาหลีใต้ ฝึกขับไล่ขั้นต้น T-50TH 12 (+2) 401
Pacific Aerospace  นิวซีแลนด์ ฝึกขั้นพื้นฐาน CT-4A/E 50 206
เซสนา  สหรัฐ ฝึกขั้นพื้นฐาน T-41D 36 604
Diamond Aircraft Industries  ออสเตรีย ฝึกขั้นต้นและลาดตระเวน DA42VI

DA42MPP

12

11

DA-42MPP จัดซื้อจำนวน 2 เครื่องสำหรับภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพ 402
กองทัพอากาศไทย  ไทย ฝึกขั้นต้น บ.ชอ.2 1 พัฒนาโดยกรมช่างอากาศ
กองทัพอากาศไทย  ไทย ฝึกขั้นต้น ทอ.6 3 (+25) พัฒนาโดย กรมช่างอากาศ
Textron Aviation  สหรัฐ เครื่องบินโจมตี AT-6TH Wolverine , T-6TH Texan II 0 (+8)

12

อยู่ในระหว่างการผลิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกัน

รุ่น T-6ได้รับมอบครบเเล้ว

เครื่องบินตรวจการณ์
ซ้าบ ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน เตือนภัยทางอากาศและควบคุม S-100B Argus 2
  • ติดตั้งระบบเรดาห์ Erieye
702
พีลาตัส แอร์คราฟ  สวิตเซอร์แลนด์ โจมตีเบา/เอนกประสงค์ AU-23A 14
  • ปรับปรุงจาก PC-6 โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
501
Aeronautics Defense Systems
 อิสราเอล อากาศยานไร้คนขับ Aerostar 22 (+4) เข้าประจำการในปี 2554 โดยเพิ่มคุณลักษณะพิเศษ 402
404
G-Force Composite  ไทย อากาศยานไร้คนขับ Tigershark II 2 อยู่ในขั้นตอนการวิจัย
เครื่องบินลำเลียง
ซ้าบ ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ลำเลียงระยะสั้น 340B 2 702
Lockheed Martin  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี C-130H-30 12 มีแผนปรับปรุง Center Wing Box (CWB) แบบใหม่ 601
Basler Turbo Conversions  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี Basler BT-67 3 461
ATR  ฝรั่งเศส รับส่งบุคคลสำคัญ ATR-72-500

ATR-72-600

3 (รุ่น 500)

6 (รุ่น 600)

  • รุ่น 500 เกิดอุบัติเหตุ 1 ลำ จาก 4 ลำ เหลือเเค่ 3 ลำ
  • รุ่น 600 ประจำการเพิ่ม 3 ลำ
603
Sukhoi ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย รับส่งบุคคลสำคัญ Superjet 100LR 2 603
Boeing  สหรัฐ เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง
รับส่งบุคคลสำคัญ
B737-4Z6 1 602 รอ.
Boeing  สหรัฐ เครื่องบินพระที่นั่งใน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
B737-8Z6 (B737-800) 2 602 รอ.
Airbus  สหภาพยุโรป เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง A-319-115X CJ 1 602 รอ.
Airbus  สหภาพยุโรป เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง

รับส่งบุคคลสำคัญ

A340-500 1 602 รอ.
Airbus  สหภาพยุโรป รับส่งบุคคลสำคัญ ACJ320 2 602 รอ.
เฮลิคอปเตอร์
Sikorsky Aircraft  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ S-70I 5 201
Sikorsky Aircraft  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ S-92A 5 201
Airbus Helicopter ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี ฝึกนักบิน ฮ.ขั้นต้น EC-135 T3H 6 202
Bell Helicopter  แคนาดา รับส่งบุคคลสำคัญ 412SPHPEP 2

2 1 7

202
Airbus Helicopters  สหภาพยุโรป เฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์
ค้นหาและช่วยชีวิต
EC-725 (H225M) 12 203

อาวุธ[แก้]

ชื่อเรียก รูปภาพ ถิ่นกำเนิด ประเภท รายละเอียด
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ
เอไอเอ็ม-120 แอมแรม  สหรัฐ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยไกล ใช้งานกับ F-16AM/BM, F-16ADF และ ยาส 39 กริพเพน
เอไอเอ็ม-9E/J/P ไซด์ไวน์เดอร์  สหรัฐ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ใช้งานกับ เอฟ-5, เอฟ-16, ยาส 39, แอลฟาเจ็ต, L-39ZA, T-50TH
ไอริส-ที ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ใช้งานกับ F-16AM/BM และ ยาส 39 กริพเพน
ไพธอน 4/3/5 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ใช้งานกับ F-5E/F/ST
อาวุธปล่อยอากาศสู่ผิวพื้น
อาร์บีเอส-15 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน อาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำ ใช้งานกับ ยาส 39 กริพเพน
ระเบิดวัตถุประสงค์ทั่วไป
GBU-12 Paveway II  สหรัฐ ระเบิดนำร่องด้วยเลเซอร์
GBU-16 Paveway II  สหรัฐ ระเบิดนำร่องด้วยเลเซอร์
GBU-24 Paveway III  สหรัฐ ระเบิดนำร่องด้วยเลเซอร์
Joint Direct Attack Munition  สหรัฐ ระเบิดนำร่องด้วยเลเซอร์ GBU-31, GBU-32, GBU-38
Mark 81  สหรัฐ ระเบิดธรรมดาไม่มีระบบนำร่อง
Mark 82  สหรัฐ ระเบิดธรรมดาไม่มีระบบนำร่อง
Mark 83  สหรัฐ ระเบิดธรรมดาไม่มีระบบนำร่อง
Mark 84  สหรัฐ ระเบิดธรรมดาไม่มีระบบนำร่อง

อากาศยานที่ปลดประจำการ[แก้]

Royal Thai Air Force Boeing 100E
RTAF Tachikawa Ki-36
model of RTAF Nakajima Ki-43
RTAF Grumman F8F-1 Bearcat
F-86L Saberdogs of the RTAF
RTAF
Designator
อากาศยาน
ประเภท
ประเทศ ระยะเวลาใช้งาน จำนวน รายละเอียด
Siamese Flying Corps and Royal Siamese Air Service
n/a Nieuport II & IV ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1913-? 4 first SFC/RSAS/RSAF aircraft
n/a Breguet III ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1913-? 5 first SFC/RSAS/RSAF aircraft
เครื่องบินโจมตี
B.J1 Vought V-93S Corsair  สหรัฐ 1934-1950 112 Locally built. First RTAF combat[comments 1]
B.J2 Mitsubishi Ki-30 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1940-1951 24
B.J3 Curtiss SB2C-5 Helldiver  สหรัฐ 1951-1955 6 Ex-Royal Thai Navy
B.J4 Fairey Firefly FR.1 & T.2  สหราชอาณาจักร 1951-1955 12 Also used for target towing
B.J5 Rockwell OV-10C Bronco  สหรัฐ 1971-2004 32 Some donated to Philippine Air Force
B.J6 Cessna A-37  สหรัฐ 1972-1994 20
B.J7 L-39ZA/ART  เชโกสโลวาเกีย 2537-2564 39
เครื่องบินทิ้งระเบิด
B.Th1 Breguet 14 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1919-1937 40+ First RSAS/RSAF bomber, built locally
B.Th2 Boripatra ไทย สยาม 1927-1940 4+ First Siamese aircraft design - by RSAF
B.Th3 Martin 139WSM & 166  สหรัฐ 1937-1949 15 Included 6 ex-Dutch 166s
B.Th4 Mitsubishi Ki-21 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1940-1949 9
เครื่องบินฝึกพลเรือน
B.Ph1 Cessna 150  สหรัฐ 1971-2004 6
เครื่องบินคมนาคม
B.S1 Fairchild 24  สหรัฐ 1938-1950 13 ca.
B.S2 Rearwin 9000  สหรัฐ 1938-1947 2
B.S3 Piper L-4 Cub/Piper PA-11  สหรัฐ 1947-1962 44 PA-11 often confused for Super Cub.
B.S4 Stinson L-5 & L-5B  สหรัฐ 1947-1959 10
B.S5 Beechcraft Bonanza  สหรัฐ 1951-1962 3 Ex-Royal Thai Navy examples
B.S6 Grumman Widgeon  สหรัฐ 1951-1956 5
B.S7 Cessna 170B  สหรัฐ 1954-1959 9
เครื่องบินขับไล่
B.Kh1 Nieuport 17 & Nieuport 21 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1918-1927 4+
B.Kh2 Nieuport 24bis ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1918-1932 12+
B.Kh3 SPAD VII & SPAD XIII ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1919-1931 33
B.Kh4 Nieuport-Delage NiD 29 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1923-1936 52 2 pattern aircraft bought, built locally
B.Kh5 ประชาธิปก ไทย สยาม 1929-? 1 First fighter built in Siam & designed by RSAF.
B.Kh6 Bristol Bulldog  สหราชอาณาจักร 1930-1940 2 For comparison testing
B.Kh7 Boeing 100  สหรัฐ 1931-1949 2 For comparison testing
B.Kh8 Heinkel HD 43  ไรช์เยอรมัน 1930-1940 1 For comparison testing
B.Kh9 Curtiss Hawk II  สหรัฐ 1934-1949 12
B.Kh10 Curtiss Hawk III  สหรัฐ 1935-1949 74 First RTAF fighter in combat[comments 2]
B.Kh11 Curtiss Hawk 75N  สหรัฐ 1939-1949 12 Order 25 get 12
B.Kh12 Nakajima Ki-27b ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1942-1945 12 Epic fight against USAAF[comments 3][3]
B.Kh13 Nakajima Ki-43 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1943-1949 24 Downed 1 USAAF B-29
B.Kh14 Supermarine Spitfire FR.14/PR.19  สหราชอาณาจักร 1951-1955 34
B.Kh15 Grumman F8F-1 Bearcat  สหรัฐ 1951-1963 207 Most numerous fighter
B.Kh16 Republic F-84G Thunderjet  สหรัฐ 1956-1963 31 first jet fighter
B.Kh17 North American F-86F/L Sabre  สหรัฐ 1961-1972 74 First RTAF swept-wing fighter. Replaced by F-5
B.Kh18 Northrop F-5A/B/C  สหรัฐ 1966-2008 25 First RTAF supersonic fighter. Its derivatives, F-5E/F/T still in service.
เครื่องร่อน
B.R1 Hoffman H-36 Dimona ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย 1983-1994 10 ca. powered motor glider
B.R2 Grob G 109 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 1989-1994 2 powered motor glider
เฮลิคอปเตอร์
B.H1 Sikorsky H-5/S-51  สหรัฐ 1950-1954 4
B.H2 Hiller 360/UH-12  สหรัฐ 1950-1952 5
B.H3 Sikorsky S-55/H-19  สหรัฐ 1954-1965 11
B.H4 Sikorsky S-58/S-58T/H-34  สหรัฐ 1962-2003 82
B.H5 Kaman HH-43 Huskie  สหรัฐ 1969-1972 4
B.H6 Bell 212/UH-1N  สหรัฐ 1976-1999 2
B.H7 Bell 47/OH-13H  สหรัฐ 1972-1973 9
B.H8 Bell 206B-3 Jet Ranger  สหรัฐ 1995-2006 6
B.H9 Eurocopter AS332L-2 Super Puma ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1996-2002 3
เครื่องบินทำแผนที่
B.PhTh1 Cessna 411  สหรัฐ 1982-1989 2
B.PhTh2 Beechcraft Queen Air  สหรัฐ 1971-1989 3
B.PhTh4 Aero Commander 690  สหรัฐ 1982-1988 1
เฮลิคอปเตอร์ทำแผนที่
B.HPhT1 Bell 206B  สหรัฐ 1982-1987 1 ex-Thai Army
B.HPhT Kawasaki KH-4 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1982-1985 1 ex-Thai Army. Development of Bell 47
เครื่องบินลาดตระเวน
B.T1 Percival Prince  สหราชอาณาจักร 1952-1962 1
B.T2 Cessna O-1 Bird Dog  สหรัฐ 1967-1990 54
เครื่องบินฝึก
B.F1 Nieuport 80 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1918-1935 12 ca. Trainer Nieuport 12, aka Nieuport 23 for wing area
B.F2 Nieuport 83 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1918-1935 12 ca. Trainer Nieuport 10, aka Nieuport 18 for wing area
B.F3 Consolidated PT-1  สหรัฐ 1928-1939 4
B.F4 Avro 504N  สหราชอาณาจักร 1930-1948 70+ 50+ built locally
B.F5 Vought V-93S Corsair  สหรัฐ 1939-1949 10+ Modified
B.F6 Tachikawa Ki-55 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1942-1950 24
B.F7 Miles Magister  สหราชอาณาจักร 1947-1952 20
B.F8 North American T-6 Texan  สหรัฐ 1948-1974 220
B.F9 DHC Chipmunk ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 1950-1989 66
B.F10 de Havilland DH.82A Tiger Moth  สหราชอาณาจักร 1951-1961 34
B.F11 Lockheed T-33A/RT-33A  สหรัฐ 1955-1996 54 First jet trainer, also first jet aircraft
B.F12 Cessna T-37B/C Tweet  สหรัฐ 1961-1996 22 Jet trainer
B.F13 North American T-28D  สหรัฐ 1962-1988 120
B.F15 Aermacchi SF.260 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 1973-1999 18 Royal Thai Air Force get broadcasting technology was RTAF-2
B.F17 RTAF-4 Chantra  ไทย 1974-1989 13 ca. locally built ab-initio trainer
B.F18 RFB Fantrainer 400 & 600 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 1988-1994 26 basic trainer for F-5 lead in
เครื่องบินขนส่ง
B.L1 Beechcraft C-45B/F  สหรัฐ 1947-1971 7 First transport
B.L2 Douglas C-47 & EC-47D  สหรัฐ 1947-1997 55 B.L2k Basler BT-67 still in service
B.L3 Douglas C-54/DC-4  สหรัฐ 1959-1966 2
B.L4 Fairchild C-123B/K  สหรัฐ 1964-1995 46
B.L10 3
B.L14 Aeritalia G.222 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
เครื่องบินหลากประโยชน์
B.Th1 Helio Courier  สหรัฐ 1963-1986 20

อาวุธ[แก้]

ประจำการ[แก้]

ประเภท ประเทศต้นกำเนิด บทบาท จำนวน แผนการ
จรวดอากาศสู่อากาศ
ไอริส-ที ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี SRAAM (ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น) 50 Gripen Deal
Meteor (missile) ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี BVRAAM ในอนาคต Gripen Deal (Future)
เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์  สหรัฐ SRAAM (ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น) 100 PEACE NARESUAN
เอไอเอ็ม-120C5/C7 แอมแรม  สหรัฐ BVRAAM 50 Delivered.
ไพธอน-4 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล AAM 46
จรวจอากาศสู่พื้น/จรวด/ระเบิด
GBU-10/-12/-22 Paveway II[ต้องการอ้างอิง]  สหรัฐ Laser-Guided Bomb 300
GBU-31(V)1/B JDAM  สหรัฐ GPS/INS Guided Bomb 100
GBU-38/B JDAM  สหรัฐ GPS/INS Guided Bomb 200
GBU-54/B JDAM  สหรัฐ GPS/INS/Laser-Guided Bomb 200
เอจีเอ็ม-65B/D/G มาเวอร์ริก  สหรัฐ Air-to-Ground Missile 100
Mk 81/Mk82/Mk84  สหรัฐ 500/1000/2000 pound general purpose bombs 3,000
อาร์บีเอส-15F Mk.2 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน (200 kg) Anti-ship missile 15) Gripen Deal
จรวดพื้นสู่อากาศ (ป้องกัน)
Oerlikon ADATS ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ laser-guided supersonic missile 94 Fixed emplacement/semi-mobile
Saab Bofors Dynamics RBS 70 Mk.2 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน Man-portable air-defence system (MANPAD) 53
QW-2 Vanguard II ธงของประเทศจีน จีน Man-portable air-defence system (MANPAD) 80
Rheinmetall Mauser Mk.30 mod.F ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 168
Bofors 40mm L/70 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 40mm L/70 45
Type 74 ธงของประเทศจีน จีน Twin 37mm Anti Aircraft Artillery 30
KS-1 ธงของประเทศจีน จีน SAM Anti Aircraft Artillery 4
อาวุธภาคพื้นดิน
Cadillac Gage V150 Commando  สหรัฐ 4x4 amphibious armored car 12 With 12.7mm and 7.62mm MG
Rheinmetall Condor ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 4x4 amphibious armored car 19 With 20mm and 7.62mm MG

การพัฒนาในอนาคต[แก้]

  • RTAF-6 – เครื่องบินฝึก โดย อุตสาหกรรมการบินไทย
  • Tigershark II – อากาศยานไร้คนขับ โดย G-Force Composite
  • วิจัยจรวดอากาศสู่อากาศ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
  • วิจัยจรวดร่อนโจมตีภาคพื้นและโจมตีเรือ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
  • RTAF-U1M อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Japanese use of Type 45 Siamese Mauser?
  2. "สถานีรายงานหาดใหญ่กับสถานีรายงานเขาวังชิงคือที่เดียวกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.
  3. Wieliczko and Szeremeta 2004, p. 81.
  1. against French Potez 25s.
  2. with French Potez 25s
  3. 5 Ki-27s fought 8 P-51s and 9 P-38s - all Ki-27s lost for 1 P-38 downed and 2 P-51s damaged.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]