พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี
(นพ พหลโยธิน)
สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน พ.ศ. 2456 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2462
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยากำแหงสงคราม
ถัดไปพระยาประชาศัยสรเดช
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน พ.ศ. 2458 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2414
เสียชีวิต17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 (48 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงล้วน พหลโยธินรามินทรภักดี
บุตร1 คน
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกสยาม
ยศ นายพลโท

นายพลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (22 เมษายน พ.ศ. 2414 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462) นามเดิม นพ นามสกุล พหลโยธิน อดีตนายทหารและขุนนางชาวสยาม อดีตองคมนตรี อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี อดีตราชองครักษ์เวร อดีตราชองครักษ์พิเศษ และผู้ขอพระราชทานนามสกุล "พหลโยธิน" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 468[1]เป็นพี่ชายต่างมารดาของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้า คณะราษฎร และอดีต นายกรัฐมนตรี ของไทย และเป็นบิดาของนาย แนบ พหลโยธิน หนึ่งในสมาชิกของ คณะราษฎร และอดีตรัฐมนตรี

ประวัติ[แก้]

พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๓๓ ตรงกับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2414 เป็นบุตรชายของ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน)[2]ข้าหลวงเดิมใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้นำบุตรชายของตนเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กตั้งแต่เด็ก และเข้าเรียนที่ โรงเรียนสราญรมย์ จากนั้นจึงได้เข้าเรียนหนังสือในสำนักของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และ ขุนปรีชานุสาสน์

ต่อมาเมื่อมีการตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกขึ้นที่วังสราญรมย์นายนพมหาดเล็กจึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกสราญรมย์กระทั่งจบการศึกษาและได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เมื่อปี พ.ศ. 2431 จากนั้นจึงได้เจริญก้าวหน้าในราชการขึ้นเรื่อย ๆ จนมียศทหารและบรรดาศักดิ์สุดท้ายที่ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงล้วน (สกุลเดิม จารุจินดา) มีบุตรชายคนสำคัญคือนาย แนบ พหลโยธิน หนึ่งในสมาชิกของ คณะราษฎร ผู้ชักชวน พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ผู้เป็นอาให้เป็นหัวหน้าคณะราษฎร

พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ด้วยโรคไตพิการ สิริรวมอายุเพียง 48 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถและฉัตรเบญจาตั้ง ๔ เป็นเกียรติยศ[3]

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2431 ร้อยตรี
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ร้อยโท[4]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2440 ร้อยเอก
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2441 หลวงศิลปสารสราวุธ ถือศักดินา ๘๐๐[5]
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2442 พันตรี[6]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 พระศรีณรงควิไชย ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 พันโท[8]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 พันเอก[9]
  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 พระยาพหลพลพยุหเสนา ถือศักดินา ๑๕๐๐[10]
  • 12 มิถุนายน พ.ศ. 2448 พลตรี[11]
  • นายหมู่ใหญ่
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2455 นายกองตรี[12]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มหาอำมาตย์ตรี[13]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2456 พระยากำแหงสงคราม ราชราชภักดี พิริยะพาห ถือศักดินา ๑๐๐๐๐[14]
  • 11 พฤศจิกายน 2458 – พลโท[15]
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - นายกองเอก[16]
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี คงถือศักดินา ๑๐๐๐๐[17]

ตำแหน่ง[แก้]

  • 16 มกราคม พ.ศ. 2453 ราชองครักษ์เวร[18]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2456 ราชองครักษ์พิเศษ[19]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2456 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา[20]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2456 พ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี[21]
  • 26 พฤษภาคม 2456 – กราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล[22]
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2458 องคมนตรี[23]
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พ้นจากตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา[24]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงมุรธาธร ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๖ (หน้า ๑๒๙๘)
  2. ข่าวตาย
  3. ข่าวตาย
  4. "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร (หน้า ๒๘๒)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
  5. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
  6. "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนางและสัญญาบัตรทหาร
  8. "พระราชทานสัญญาบัตร์ทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
  9. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  10. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  11. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  12. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  13. พระราชทานยศเลื่อนยศ
  14. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  15. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2669.PDF
  17. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  18. แจ้งความกระทรวงกระลาโหม
  19. แจ้งความกระทรวงกระลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  20. ประกาศตั้งสมุหเทศาภิบาล
  21. แจ้งความกระทรวงกระลาโหม เรื่อง ย้ายและผลัดเปลี่ยนนายทหาร
  22. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  23. รายพระนามและนามซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี (หน้า ๑๑๖)
  24. ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๘, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๗, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๒, ๒๓ เมษายน ๑๓๐
  28. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๖๑๕, ๒๑ มกราคม ๑๑๘
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง กอนา ๓๐๙๘, ๑๙ มีนาคม ๑๒๙
  31. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์