สมบูรณ์ จีระมะกร
สมบูรณ์ จีระมะกร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2471 อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 20 กันยายน พ.ศ. 2562 (91 ปี) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา |
พรรค | พรรคประชาธิปัตย์ |
นายสมบูรณ์ จีระมะกร (7 กันยายน พ.ศ. 2471 – 20 กันยายน พ.ศ. 2562) อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย
ประวัติ[แก้]
นายสมบูรณ์ จีระมะกร เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของขุนอักษรสิทธิวินัย กับ นางทองมา จีระมะกร [2] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนโยธินบูรณะ [3]
งานการเมือง[แก้]
สมบูรณ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2529 รวม 3 สมัย[4] มีบทบาทในการประสานงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งศาลจังหวัดสีคิ้ว โรงพยาบาลสีคิ้ว 50 เตียง โรงพยาบาลสูงเนิน 30 เตียงและตั้งบริษัท เงินทุนขนาดกลางและขนาดย่อม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม[5]
สมบูรณ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
สมบูรณ์ จีระมะกร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
นายสมบูรณ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ วัดใหญ่สีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ 5.0 5.1 “สมบูรณ์ จีระมะกร” อดีตรมช.อุตสาหกรรม-ส.ส.ปชป.โคราช 3 สมัย เสียชีวิตด้วยโรคชรา 91 ปี
- ↑ สิ้น'สมบูรณ์ จิระมกรณ์'ขุนพลอีสานของพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙