รัดเกล้า สุวรรณคีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัดเกล้า สุวรรณคีรี
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 207 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ คารม พลพรกลาง
และเกณิกา อุ่นจิตร์
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้ารัชดา ธนาดิเรก
ไตรศุลี ไตรสรณกุล
ทิพานัน ศิริชนะ
รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 302 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน)
บุพการี

รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี ชื่อเล่น เนเน่ เป็นนักการเมืองชาวไทย รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นบุตรสาวของไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง[1]

ประวัติ[แก้]

รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นบุตรคนที่ 3 ของไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และนุช สุวรรณคีรี ด้านครอบครัวสมรสกับ นายกฤษฏิ์ อินทวงศ์ มีบุตรสาว 2 คน[2]

หลังการสมรส รัดเกล้าได้นำชื่อสกุลของสามี (อินทวงศ์) มาเป็นชื่อกลาง แต่ตอนหาเสียงใช้ชื่อ "รัดเกล้า สุวรรณคีรี" เพื่อความกระชับและง่ายต่อการจดจำ

รัดเกล้า สำเร็จการศึกษามัธยมปลายจาก Geelong Gramma School ประเทศออสเตรเลีย ระดับปริญญาตรี ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและวิชวลเอฟเฟกต์ จาก Academy of Art University (USA) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จาก UCL Institute of Education (UK) (มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก ด้านการศึกษา 9 ปีซ้อน) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ใบที่ 2) จากคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (CUIR รุ่นที่ 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต เพื่อนร่วมรุ่น อาทิ แพทองธาร ชินวัตร พชร นริพทะพันธุ์

การทำงาน[แก้]

รัดเกล้าเริ่มทำงานครั้งแรกในตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์เกม Lair และ The Sims ก่อนย้ายมายังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, กลุ่ม ปตท., และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ด้านสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2561 อีกสองปีต่อมาเธอย้ายมาเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านการสร้างเครือข่ายและการสร้างภาพลักษณ์องค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และผู้อำนวยการสายงานสื่อสาร บริษัท โทเทิล แอ็คเซส คอมมูนิเคชัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ[3]

งานการเมือง[แก้]

รัดเกล้าเริ่มทำงานการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี)[4] ปีต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ในปี พ.ศ. 2566 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขตเลือกตั้งที่ 33 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนไป 18,628 คะแนน [5] เดือนตุลาคมปีเดียวกันรัดเกล้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี" [6][7]

เดือนธันวาคมในปีเดียวกัน เธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม) โดยได้รับเลือกให้เป็น "กรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการ"[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ลูกไม้ใต้ต้น"รัดเกล้า"ลูกสาว"ไตรรงค์ สุวรรณคีรี"". Thai PBS.
  2. "วิวาห์หวาน บุตรสาวอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 'รัดเกล้า สุวรรณคีรี & กฤษฏิ์ อินทวงศ์'". naewna. 2014-07-01.
  3. "ยังบลัด รวมไทยสร้างชาติ เนเน่-รัดเกล้า สุวรรณคีรี บนถนนการเมืองที่เลือกแล้ว". 2023-01-21.
  4. [https://web.facebook.com/photo.php?fbid=597566149073865&set=pb.100064614555519.-2207520000&type=3
  5. "รายงานสด ผลการเลือกตั้ง 2566 แบบเรียลไทม์". รายงานสด ผลเลือกตั้ง 2566 (ภาษาอังกฤษ).
  6. ฐานเศรษฐกิจ (2023-10-03). "ครม. ตั้ง "รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี" นั่งรองโฆษกรัฐบาล คนใหม่". thansettakij.
  7. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  8. https://msbis.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_report/main_warehouse_dll.php
  9. https://web.parliament.go.th/view/282/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/TH-TH