อำนวย ไชยโรจน์
อำนวย ไชยโรจน์ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | พันโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 – ??? | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พ.ท. ม.ล.ขาบ กุญชร |
ถัดไป | พ.อ. อาจศึก ดวงสว่าง |
พลโท อำนวย ไชยโรจน์ เป็นอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส[1]
ประวัติ
[แก้]พล.ท. อำนวย จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[2]
พล.ท. อำนวย เป็นทหารบกชาวไทยที่เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 9 ต่อมาพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากจับฉลากออกตามข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกจาตำแหน่งของสมาชิกประเภทที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501[3] เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2501[4] ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร และได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งเป็นโฆษกประจำทำเนียบนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2505[5] ในรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และในปี พ.ศ. 2506[6] ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร
ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[9]
- พ.ศ. 2491 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[10]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ลาว :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 2[12]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2501 – เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 3 (พิเศษ)[13]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็อง-ครัว[14]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์เอวิซ ชั้นที่ 1[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-20.
- ↑ โรงเรียนเทพศิรินทร์
- ↑ http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_213139.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'โฆษกรัฐบาล' 'กระบอกเสียง' หรือ 'องครักษ์'
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 42 หน้า 1516, 22 พฤษภาคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2249, 12 สิงหาคม 2501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 58 หน้า 1691, 18 กรกฏาคม 2504
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 95 หน้า 2429, 22 พฤศจิกายน 2503