ประโยชน์ เนื่องจำนงค์
ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 19 กันยายน พ.ศ. 2528 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มีนาคม พ.ศ. 2466 อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี |
เสียชีวิต | 2 เมษายน พ.ศ. 2557 (91 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | พรรคชาติประชาธิปไตย |
คู่สมรส | สุชาดา เนื่องจำนงค์ รำแพน เนื่องจำนงค์ |
นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ (19 มีนาคม พ.ศ. 2466 - 2 เมษายน พ.ศ. 2557) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย
ประวัติ[แก้]
ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ คหบดีจังหวัดชลบุรี เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2466 เป็นบุตรของนายอำนาจ กับ นางพูลสุข เนื่องจำนงค์ มีพี่น้อง 5 คน[1] ด้านครอบครัวสมรสกับนางสุชาดา เนื่องจำนงค์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน มีรายนามดังนี้:
- นางปรียาพรรณ เนื่องจำนงค์
- นายโยธิน เนื่องจำนงค์
- นายกวีวุฒิ เนื่องจำนงค์
หลังจากนั้นได้ สมรสกับ นางรำแพน เนื่องจำนงค์ มีบุตรด้วยกัน 6 คน มีรายนามดังนี้:
- นาง ชุดาพันธ์ เนื่องจำนงค์
- นาง ปรียา เนื่องจำนงค์
- พล.ต.ต.ปิยะชาติ เนื่องจำนงค์
- นาง ปิยะนุช เนื่องจำนงค์
- นาง นาตยา เนื่องจำนงค์
- นางสาว สาริณีย์ เนื่องจำนงค์
ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 สิริอายุ 91 ปี[2]
งานการเมือง[แก้]
ประโยชน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย และได้รับเลือกรวม 2 ครั้ง
ประโยชน์ เคยเป็รองหัวหน้าพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2517[3] และร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย[4] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43) เมื่อ พ.ศ. 2526[5] จนถึงปี พ.ศ. 2528[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2526 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2528. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2528
- ↑ “ประโยชน์ เนื่องจำนงค์” คนดังเมืองชลบุรี เสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษเล่ม ๑๐๗ ตอน ๒๐๐ ง ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๘๑๕๓