อนุชา บูรพชัยศรี
อนุชา บูรพชัยศรี | |
---|---|
![]() | |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มกราคม พ.ศ. 2510 (53 ปี) |
อนุชา บูรพชัยศรี เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สองสมัย เป็นนักธุรกิจที่ก้าวสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2550
ประวัติ[แก้]
อนุชา บูรพชัยศรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก มัธยมศึกษาตอนปลายจาก วิทยาลัยเซเครทฮาร์ท (Sacred Heart College) ประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาบัณฑิตที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยอเดเลด ต่อจากนั้นเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่คณะวิทยาศาสตร์ สาขาการพลังงานและการเผาไหม้ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ และปริญญาโทอีกใบจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2][3] ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 63 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
งานการเมือง[แก้]
อนุชา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้งเขตเลือกตั้งยังเป็นแบบเขตใหญ่ (แบบทีม 3 คน) ร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช และนายสมเกียรติ ฉันทวานิช และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯ ทั้งสามคน
อนุชาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯเป็นสมัยที่สอง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อนุชาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ)[4] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามลำดับ[5] อีกทั้งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[6]
งานภาคเอกชน[แก้]
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรเอ็นจิเนียริ่งแอนด์แมชชีนเนอรี่ จำกัด
- กรรมการบริหาร บริษัทในกลุ่มเอ็มอีซี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) [7]
- พ.ศ. 2553 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ครม.เคาะ “อนุชา” นั่งโฆษกรัฐบาลคนใหม่
- ↑ เปิดประวัติ 'อนุชา บูรพชัยศรี' หลัง ครม. อนุมัติตั้งเป็นโฆษกรัฐบาล, https://www.bangkokbiznews.com/
- ↑ ประวัติอนุชา บูรพชัยศรี ข้อมูลล่าสุดของอนุชา บูรพชัยศรี, https://www.thairath.co.th/
- ↑ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๐๗๗/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 สิงหาคม 2563
- ↑ อนุชา บูรพชัยศรี คนออกจากประชาธิปัตย์แล้วได้ดี เป็นโฆษกรัฐบาล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2552
ก่อนหน้า | อนุชา บูรพชัยศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ | ![]() |
![]() โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.