ไชยา ยิ้มวิไล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชยา ยิ้มวิไล
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(0 ปี 120 วัน)
นายกรัฐมนตรีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าร.อ.นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ
ถัดไปพล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางทิพย์สุดา ยิ้มวิไล

ศาสตราจารย์ ดร. ไชยา ยิ้มวิไล[1] กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [2] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สังกัดวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้อำนวยการ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ด้านครอบครัวสมรส กับ นางทิพย์สุดา ยิ้มวิไล มีบุตรชื่อ เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด

การศึกษา[แก้]

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต (Ohio State University) และระดับปริญญาเอก ด้านการบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยโกลเดนเกต (Golden Gate University)

การทำงาน[แก้]

เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] ต่อมาได้เข้ามารับหน้าที่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนจะมารับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แทนร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[4] หลังจากสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์แล้ว ก็กลับไปทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม[5]คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม) และ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ฐานข้อมูลประวัติย่อ
  2. เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
  3. "EPA จากอดีต….สู่อนาคต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  4. "ข้าราชการการเมืองลาออกและแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายไชยา ยิ้มวิไล)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  5. "คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า ไชยา ยิ้มวิไล ถัดไป
ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์