มารุต มัสยวาณิช
มารุต มัสยวาณิช | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 |
พรรค | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | ทันตแพทย์หญิงวัฒนา มัสยวาณิช |
ศาสนา | พุทธ |
นายแพทย์ มารุต มัสยวาณิช เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน
ประวัติ[แก้]
นายแพทย์มารุต มัสวาณิช เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 สมรสกับทันตแพทย์หญิงวัฒนา สงวนน้อย มีบุตรธิดา 3 คน คือ น.ส.ดนุสา มัสยวาณิช น.ส.ณวิภา มัสยวาณิช และนายธีรุตม์ มัสยวาณิช นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต ด้านกุมารเวชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาตรี รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[2]
นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช มีศักดิ์เป็นลุงของนายเกริกพล มัสยวาณิช ดารานักแสดงชื่อดัง
งานการเมือง[แก้]
นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช เป็นที่ปรึกษานายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี และเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อแผ่นดิน ตั้งแต่ในระยะก่อตั้งพรรค จนได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค และเป็นนายทุนของพรรคคนหนึ่ง[3] ต่อมาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2549[4] (โมฆะ) และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[5]
นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช ได้รับตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้งเป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[6] แทนนายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ที่ลาออกไป
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 จึงได้ย้ายมาลงสมัคร ส.ส.ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 125[7] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 11[8]
ในปี 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เลื่อนแทนรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทยที่ลาออกจากการเป็น ส.ส. จำนวน 2 คน เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีช่ออยู่ในลาดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งท่ว่าง (นายมารุต มัสยวณิช พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ หมอมารุต จากนักธุรกิจสู่สนามการเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกรัฐบาลคนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ รายงานผลคะแนนผู้สมัคร ส.ส. หนองคาย
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๘/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายมารุต มัสยวาณิช)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทย์ชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดหนองคาย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.