อำเภอระโนด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอระโนด | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ทุ่งรวงทอง นองลูกตาล ตำนานแห่งเจดีย์ พื้นที่แหล่งนากุ้ง | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 7°46′6″N 100°19′24″E / 7.76833°N 100.32333°E | |
อักษรไทย | อำเภอระโนด |
อักษรโรมัน | Amphoe Ranot |
จังหวัด | สงขลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 783.8 ตร.กม. (302.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 65,314 คน |
• ความหนาแน่น | 83.32 คน/ตร.กม. (215.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9007 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอระโนด หมู่ที่ 4 ถนนสุคนธาภิรมย์ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 90140 |
![]() |
ระโนด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา
ความเป็นมา อำเภอระโนด เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสะทิงพระ(เมืองพัทลุงเก่า)ต่อมาในสมัยรัชการที่ 4 ได้กลับมาขึ้นกับเมืองสงขลา เมื่อมีการจัดการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลได้ยุบเมืองระโนดและ ตั้งเป็น "กิ่งอำเภอระโนด" โดยได้เริ่มก่อสร้างที่ว่าการอำเภอระโนดหลังแรกคู่กับสถานนีตำรวจภูธร ในปี 2466 และในปีพ.ศ. 2467 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอระโนด
อำเภอระโนด ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2467[1]
ระโนด ตามคำบอกเล่ามาตั้งแต่โบราณ สันนิษฐานกันไว้ว่ามาจากการที่ชาวบ้านปลูกต้นตาลโตนดตามคันนามองเห็นเป็นราว จึงเรียกกันว่าบ้านราวโหนด ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านระโนด ส่วนอีกที่มาจากบทความ "มารู้จักระโนดบ้านเรา" ในหนังสือระโนดรังสรรค์ ครั้งที่ 30 เขียนโดย มาตุภูมิให้ที่มาของคำว่า "ระโนด" ว่า มาจากคำว่าระนัต ซึ่งเป็นภาษาเขมร แปลว่า คราด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับทำนาดำ[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอระโนดตั้งอยู่บนคาบสมุทรสทิงพระ ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหัวไทร (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสทิงพระและอำเภอกระแสสินธุ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอควนขนุน (จังหวัดพัทลุง)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์[แก้]
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มระหว่างอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา โดยมีระยะติดต่อ ชายฝั่ง ทะเลอ่าวไทย ประมาณ 64 กิโลเมตร[3]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอระโนดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 73 หมู่บ้าน
ลำดับ | ตำบล | เนื้อที่ | ประชากร | ลำดับ | ตำบล | เนื้อที่ | ประชากร | |||||||||||
1. | ระโนด | 10,865 | (Ranot) | 7 หมู่บ้าน | 7. | ปากแตระ | 15.30 | 5,902 | (Pak Trae) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | คลองแดน | 29.28 | 3,389 | (Khlong Daen) | 5 หมู่บ้าน | 8. | พังยาง | 18.5 | 3,472 | (Phang Yang) | 4 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ตะเครียะ | 4,120 | (Takhria) | 5 หมู่บ้าน | 9. | ระวะ | 71 | 6,366 | (Rawa) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | ท่าบอน | 8,760 | (Tha Bon) | 10 หมู่บ้าน | 10. | วัดสน | 5,099 | (Wat Son) | 4 หมู่บ้าน | |||||||||
5. | บ้านใหม่ | 4,359 | (Ban Mai) | 9 หมู่บ้าน | 11. | บ้านขาว | 100.863 | 4,622 | (Ban Khao) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | บ่อตรุ | 7,939 | (Bo Tru) | 5 หมู่บ้าน | 12. | แดนสงวน | 45.10 | 2,658 | (Daen Sa-nguan) | 5 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอระโนดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ่อตรุ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ่อตรุ บางส่วนของตำบลระวะ และบางส่วนของตำบลวัดสน
- เทศบาลตำบลระโนด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลระโนด
- เทศบาลตำบลปากแตระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแตระทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลระโนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระโนด (นอกเขตเทศบาลตำบลระโนด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองแดนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเครียะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าบอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อตรุและตำบลวัดสน (นอกเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแดนสงวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแดนสงวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระวะ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ)
โรงเรียนมัธยม สพม.16[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- ตลาดน้ำคลองระโนด ( เปิดเฉพาะวันศุกร์ เวลา 16.00น.-20.30น. )
- ตลาดน้ำคลองแดน ( เปิดเฉพาะวันเสาร์ )
รายชื่อวัดในอำเภอระโนด[แก้]
- วัดสิกขาราม ตำบลคลองแดน
- วัดหัวคุ้ง ตำบลคลองแดน
- วัดทุ่งสงวน ตำบลแดนสงวน
- วัดวารีปาโมกข์ ตำบลตะเครียะ
- วัดท่าบอน ตำบลท่าบอน
- วัดมงคลนิมิต ตำบลท่าบอน
- วัดศาลาหลวงบน ตำบลท่าบอน
- วัดอู่ตะเภา ตำบลท่าบอน
- วัดประดู่ ตำบลบ่อตรุ
- วัดพระเจดีย์งาม ตำบลบ่อตรุ
- วัดสีหยัง ตำบลบ่อตรุ
- วัดคูวา ตำบลบ้านขาว
- วัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว
- วัดบ้านใหม่ ตำบลบ้านใหม่
- วัดผักกูด ตำบลบ้านใหม่
- วัดศาลาธรรม์ ตำบลบ้านใหม่
- วัดหัววัง ตำบลบ้านใหม่
- วัดตะพังหม้อ ตำบลปากแตระ
- วัดปากแตระ ตำบลปากแตระ
- วัดดอกสร้อย ตำบลพังยาง
- วัดพังยาง ตำบลพังยาง
- วัดสามี ตำบลพังยาง
- วัดหน้าเมือง ตำบลพังยาง
- วัดหัวถิน ตำบลพังยาง
- วัดเฉียงพง ตำบลระโนด
- วัดมหาการ ตำบลระโนด
- วัดมะขามเฒ่า ตำบลระโนด
- วัดระโนด ตำบลระโนด
- วัดราษฎร์บำรุง ตำบลระโนด
- วัดหัวเค็ด ตำบลระโนด
- วัดแจ้ง ตำบลระวะ
- วัดเถรแก้ว ตำบลระวะ
- วัดเบิก ตำบลระวะ
- วัดพร้าว ตำบลระวะ
- วัดพังตรี ตำบลระวะ
- วัดหัวระวะ ตำบลระวะ
- วัดใหญ่ ตำบลระวะ
- วัดสนธิ์ ตำบลวัดสน
- วัดสามบ่อ ตำบลวัดสน
- วัดนก ตำบลวัดสน
สภาพเศรษฐกิจ[แก้]
เนื่องจากสภาพพื้นที่อาเภอระโนด มีลักษณะเป็นที่ราบ และติดต่อชายฝั่งทะเลสองด้าน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม
- ทำนาข้าว ร้อยละ 95
- การเลี้ยงกุ้ง ร้อยละ 4
- อื่นๆ เช่น รับจ้าง ร้อยละ 1 [4]
สภาพสังคม[แก้]
ประชากรร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ [5]
|
- ↑ https://sites.google.com/site/xaphexranodnod/prawati-xaphex-ranod
- ↑ https://www.hatyaifocus.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/587-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%26%2334%3B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%94%26%2334%3B-%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2/
- ↑ http://www.ranot-sk.go.th/history.pdf
- ↑ http://www.ranot-sk.go.th/history.pdf
- ↑ http://www.ranot-sk.go.th/history.pdf