ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสนีย์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ใน พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 136 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
รองอดุล อดุลเดชจรัส
ก่อนหน้าทวี บุณยเกตุ
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(0 ปี 28 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ก่อนหน้าสัญญา ธรรมศักดิ์
ถัดไปหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 169 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ถัดไปสงัด ชลออยู่
(หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน)
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 186 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าทวี บุณยเกตุ
ถัดไปดิเรก ชัยนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(0 ปี 89 วัน)
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปพระยาอรรถการีย์นิพนธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์​ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(0 ปี 42 วัน)
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพระยาศราภัยพิพัฒ
ถัดไปมังกร พรหมโยธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 169 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ถัดไปสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
27 สิงหาคม พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
(0 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไปสงัด ชลออยู่
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 296 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปประมาณ อดิเรกสาร
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2511 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(11 ปี 34 วัน)
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปถนัด คอมันตร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
หม่อมราชวงศ์เสนีย์

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (92 ปี)
โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2489–2540)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เสรีไทย
คู่สมรสอุศนา ศาลิคุปต์
บุตร
บุพการี
ญาติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (น้องชาย)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยวอร์สเตอร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด [en]
วิชาชีพ
พระราชทานเพลิง8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]
ลายมือชื่อ

หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๑ ภ.ป.ร. ๒ ร.จ.ท. ๙ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) เป็นนักการเมือง นักกฎหมาย นักการทูต และนักวิชาการชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 6 ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน

ประวัติและครอบครัว

[แก้]

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 ณ ค่ายทหาร ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง ปราโมช ณ อยุธยา ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง ทหาร หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร

ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชาย ได้แก่ หม่อมหลวงเสรี ปราโมช, หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช และ บุตรี ได้แก่ หม่อมหลวงนียนา ปราโมช

การศึกษา

[แก้]

เริ่มศึกษาที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, เข้าเรียนชั้น ม.3ก. เลขประจำตัว ส.ก.๓๒๓๕ เมื่อ พ.ศ. 2460 จากนั้นได้เดินทาง ไปศึกษาต่อที่ โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมืองนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อ ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ที่ วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ แล้วสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับ เกียรตินิยมอันดับสอง

หลังจากนั้น ก็เข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ได้รับรางวัลเป็นเงิน 300 กีนีย์ จากสำนักกฎหมายอังกฤษ (เกียรติประวัตินี้ ได้เล่าลือมาถึงเมืองไทย จนมีการเข้าใจว่า ได้รับเงินรางวัลพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจอย่างนั้น) และทางโรงเรียนเทรนด์ ได้ประกาศให้นักเรียน หยุดเรียนหนึ่งวัน เพื่อเป็นการระลึกถึง และได้เรียกวันนั้นว่า "วันเสนีย์" (Seni Day)

เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติม จนกระทั่งได้รับเนติบัณฑิตไทย และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษาและได้รับพระราชทานยศเป็น รองอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2473 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]

ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2503 และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไทเป พ.ศ. 2525

ชีวิตการงาน

[แก้]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

[แก้]

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะ หัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจาก ทวี บุณยเกตุ เพื่อเจรจากับประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับสถานะของประเทศไทย ที่เป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตร ภายหลังการประกาศสันติภาพ โดยรัฐบาลควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ให้การประกาศสงคราม กับฝ่ายสัมพันธมิตร ของรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ โดยเดินทางกลับมารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488

ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษา ตลอดจนความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบกฎหมายตะวันตก เจรจากับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ในครั้งแรกประเทศอังกฤษ ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ประเทศไทย เป็นเมืองในอาณัติ แต่ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สามารถเจรจาให้ไทย หลุดพ้นจากการเป็น เมืองในอาณัติอังกฤษได้สำเร็จ โดยอังกฤษและไทยได้ลงนามใน "ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติภาวะสงคราม ระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย" ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 มีใจความสำคัญคือ ไทยต้องคืนดินแดนในมลายู และรัฐฉาน ที่ได้มาระหว่างสงครามให้แก่อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินของอังกฤษ ที่ถูกไทยยึดครองระหว่างสงคราม เป็นข้าวสาร 1.5 ล้านตัน

จากนั้นไทยได้ทำการตกลงกับฝรั่งเศส มีจุดประสงค์เพื่อขอเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ โดยได้ตกลงคืนดินแดนที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ. 2483 ให้กับฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสยังเรียกร้องให้ไทยมอบ พระแก้วมรกตและพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส โดยอ้างว่าเคยอยู่ในลาวมาก่อนถึง 200 กว่าปี ก่อนจะมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และเมื่อลาวเป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศสแล้ว ไทยก็ควรคืนพระแก้วมรกตให้แก่ลาวด้วย แต่ฝ่ายไทยได้อ้างว่า พระแก้วมรกต ค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย การที่ต้องอยู่ในลาวถึง 200 กว่าปีนั้น เป็นเพราะพระไชยเชษฐาได้นำพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ ไปไว้ที่เมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์ ดังนั้นการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาไว้ยังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ ตามลำดับนั้น จึงเป็นการนำกลับคืนสู่สถานที่เดิม ทำให้ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสข้อนี้ต้องตกไป ส่วนพระบางนั้นไทยได้ส่งคืนลาวไปตามข้อเรียกร้อง

นอกจากนี้ไทยยังได้เปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับ สหภาพโซเวียด และทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับประเทศจีน เพื่อไม่ให้คัดค้านการเข้าเป็นสมาชิก องค์การสหประชาชาติของไทย และในที่สุดไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55

รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ได้ประกาศ พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เพื่อลงโทษผู้นำ หรือหัวหน้ารัฐบาล ที่ร่วมก่อให้เกิดสงคราม ที่ทำให้ประเทศเป็นฝ่ายปราชัย ซึ่งหากรัฐบาลไม่ตราพระราชบัญญัตินี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะนำผู้ต้องหา ไปดำเนินคดีในต่างประเทศในฐานะ อาชญากรสงคราม

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ครั้ง โดยในครั้งสุดท้ายได้เกิด เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่ตำรวจและกองกำลังติดอาวุธ เข้าปิดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีนักศึกษา และประชาชนหลายพันคนชุมนุมประท้วง การกลับประเทศไทยของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ที่ถูกประชาชนขับไล่ ออกจากประเทศไปเมื่อ 3 ปีก่อน ในวันเดียวกัน พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้จัดตั้ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เข้ายึดอำนาจจาก รัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์

ในช่วงที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ในปี 2518 เมื่อจัดตั้งรัฐบาล หม่อมราชวงค์ เสนีย์ ปราโมช ได้มีเงื่อนไขไม่จับมือกับอดีตสมาชิกพรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นพรรคของ ถนอม กิตติขจร[3]ทำให้ไม่สามารถจับมือกับ พรรคธรรมสังคม พรรคสังคมชาตินิยม พรรคชาติไทย เมื่อแถลงนโยบายได้รับความไว้วางใจเพียง 111 เสียง ซึ่งน้อยกว่ากึ่งนี่งในสภา จึงทำให้รัฐบาลหม่อมราชวงค์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องพ้นตำแหน่งก่อนจะปฎิบัติหน้าที่[4] ทำให้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐบาลเสียงข้างน้อง 18 เสียงสามารถรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลได้[5][6]

หลังจากพ้นตำแหน่งแล้ว หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และวางมือทางการเมือง ใช้ชีวิตสงบเงียบตลอดมา และได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคถุงลมโป่งพอง ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สิริอายุได้ 92 ปี 63 วัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อว้นที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  1. สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 ของไทย : 17 กันยายน 2488 – 31 มกราคม 2489
  2. สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 ของไทย : 15 กุมภาพันธ์ 2518 – 13 มีนาคม 2518
  3. สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 37 ของไทย : 20 เมษายน 2519 – 25 กันยายน 2519
  4. สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 ของไทย : 25 กันยายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519

ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์และหน้าที่ในการเมือง

[แก้]

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับควง อภัยวงศ์ ขึ้นในวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยชื่อ "ประชาธิปัตย์" นั้น ท่านเป็นผู้บัญญัติขึ้น โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต่อต้านการกระทำอันเป็นเผด็จการไม่ว่าวิธีการใด ๆ โดยมีควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์สืบต่อจากควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปในปี พ.ศ. 2511 หลังจากได้ยุติบทบาททางการเมืองของตนเองไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 หลังจากที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ยึดอำนาจตนเองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยไม่ลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ระหว่างการเป็นหัวหน้าพรรคนั้น หม่อมราชวงศ์สนีย์ ปราโมช ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นสุภาพบุรุษ เล่นการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใส มาตลอด แต่ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ มักประสบปัญหาความวุ่นวายในพรรค เนื่องจากสมาชิกพรรคมักสร้างปัญหาโดยการต่อรองขอตำแหน่งทางการเมือง และบางส่วนก็จะออกจากพรรคไปตั้งพรรคใหม่ จนเกิดความวุ่นวาย ไม่สามารถควบคุมพรรคได้ จึงได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง" หรือ "พระเจ้าตา" เพราะถูกมองว่าอ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมบริหารพรรคและรัฐบาลได้ จนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา

ชีวิตหลังจากการปลดหน้าที่

[แก้]

หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แล้ว คณะปฏิรูปการปกครองที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต้องการจะให้ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ท่านได้ปฏิเสธ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จึงได้วางมือจากการรับตำแหน่งทางการเมืองอย่างถาวร แต่ยังรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปอีกระยะ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 จึงได้หัวหน้าคนใหม่ (พันเอกพิเศษ ถนัด คอมันตร์) ชีวิตหลังจากนี้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเอกมัย ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ และรวบรวมงานประพันธ์ต่าง ๆ ที่เคยแต่งไว้ก่อนหน้านี้และแต่งเพิ่มเติม เช่น ประชุมสารนิพนธ์, แปลกวีนิพนธ์, ชีวลิขิต เป็นต้น รวมทั้งการวาดรูป ทั้งรูปสีน้ำ สีน้ำมัน รูปสเก็ตซ์ เล่นดนตรี แต่งเพลงและปลูกไม้ดอก โดยเฉพาะกุหลาบ ซึ่งล้วนเป็นงานอดิเรกที่ทำเป็นประจำ และยังคงให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นระยะ ๆ รวมทั้งยังให้คำปรึกษากับพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นปูชนียบุคคลสำคัญในพรรคด้วย ซึ่งในปี พ.ศ. 2548 อันเป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของท่าน ทางพรรคได้ก่อตั้ง มูลนิธิ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขึ้นตามเจตนารมณ์ของท่านและทายาท และให้ชื่ออาคารที่ทำการของพรรคหลังที่สองว่า อาคาร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

หุ่นขี้ผึ้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ดังนี้

ลำดับสาแหรก

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ข่าวในพระราชสำนัก [วันที่ ๖ พฤศจิกายน - ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๐]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (97ง): 172. 4 ธันวาคม 2540. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชทานยศ (หน้า 2968)
  3. "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้นตำรับเสียงน้อยได้เป็นนายกฯ รวมเสียง 16 พรรค ก่อนยอมรับแย่งตำแหน่งกันตลอดเวลา". THE STANDARD. 2019-05-30.
  4. เสนีย์ ปราโมช : ผู้ที่สภาฯไม่ไว้วางใจก่อนเข้าทำงาน[ลิงก์เสีย]
  5. "'สหพรรค' รบ.วิบากกรรมของ 'หม่อมคึกฤทธิ์' ดั่งถูก 'สหบาทา' จากผลประโยชน์อันมิลงรอย". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
  6. แจ๊ค (2023-05-05). "รัฐบาลเสียงข้างน้อย".
  7. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๑, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานแครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๔๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
  13. รายพระนามและรายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไซต์ thaiscouts
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๔๒๖, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๘๔๗, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๙๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
  17. ชมรมสายสกุลบุนนาค. เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556
  18. "หลวงอัครเทพฯ ทวิภพ ที่แท้ "ปู่ทวด" นีโน่!!" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 18 สิงหาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ถัดไป
ทวี บุณยเกตุ
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489)
ควง อภัยวงศ์
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518)
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 3

(20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ทวี บุณยเกตุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 1

(19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 2

(2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489)
ดิเรก ชัยนาม
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
พระยาศราภัยพิพัฒ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(25 กุมภาพันธ์​ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491)
มังกร พรหมโยธี
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 1

(20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 2

(5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
สมัคร สุนทรเวช
ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(27 สิงหาคม พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
สงัด ชลออยู่
สถาปนาตำแหน่ง
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
(22 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519)
ประมาณ อดิเรกสาร
ควง อภัยวงศ์
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2522)
ถนัด คอมันตร์