จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Nakhon Sawan |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: | |
คำขวัญ: เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์เน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ชุติพร เสชัง
(รักษาราชการแทน) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 9,597.677 ตร.กม. (3,705.684 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 19 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,021,883 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 20 |
• ความหนาแน่น | 106.47 คน/ตร.กม. (275.8 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 46 |
รหัส ISO 3166 | TH-60 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองสี่แคว, ปากน้ำโพ, เมืองพระบาง, เมืองชอนตะวัน |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | เสลา |
• ดอกไม้ | เสลา |
• สัตว์น้ำ | ปลาสวาย |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 |
• โทรศัพท์ | 0 5622 7001 |
• โทรสาร | 0 5622 0262 |
เว็บไซต์ | http://www.nakhonsawan.go.th/ |
นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตอนบนของภาคกลาง หรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคเหนือตอนล่าง จึงได้รับสมญานามว่าเป็น "ประตูสู่ภาคเหนือ" มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี, ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก
ประวัติศาสตร์
[แก้]นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมืองนครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่าเมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำศึกสงครามตั้งแต่สมัยสุโขทัย, กรุงศรีอยุธยา, ธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนเป็นนครสวรรค์ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันติดปากว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่านครสวรรค์เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ
เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ ปัจจุบันอยู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานใน ตำนานมูลศาสนา ว่า พระญาณคัมภีร์ ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้ [3]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค นครสวรรค์ได้เป็นที่ตั้งมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 มณฑลที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438 ในการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ ได้รวมเอาหัวเมืองทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน 8 เมืองได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ สรรคบุรี กำแพงเพชร และตาก โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โลหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก ตั้งที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ การจัดรูปปกครองในลักษณะมณฑลได้ดำเนินการ มาจนถึง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุบมณฑลและระเบียบเทศาภิบาลของเก่าไปให้คงไว้แต่หัวเมืองและอำเภอ โดยให้ทุกเมืองมีฐานะเท่าเทียมกัน ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อเจ้ากระทรวง และรับคำสั่งจากเจ้ากระทรวงโดยตรง
เดิมทีเมืองพระบางหรือนครสวรรรค์ตั้งอยู่หลังตลาดปากน้ำโพ บริเวณวัดสี่เข่า หรือ วัดวรนาถบรรพต [4] [5] ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากปากน้ำโพมาข้างใต้ประมาณ 200 เส้น [6][7] หลักฐานแผนที่ของ ปิแอร์ ฟาน เดอ อา นักแผนที่ชาวฮอลันดา ระบุว่าในช่วงอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครสวรรค์ได้ตั้งอยู่บนบริเวณพื้นที่ทางใต้ [4] บริเวณบ้านไผ่ล้อม ใต้มณฑลทหารบกที่ 4 [8] ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการย้ายเมืองมาบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน โดยคนพื้นที่สมัยนั้นเรียกว่า “เมืองชอนตะวัน” เพราะตื่นขึ้นมาตะวันมันจะแยงตา [9] ต่อมาเมื่อพื้นที่ของเมืองปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์ขยายตัวขึ้น จึงถูกควบรวมเข้าเป็นพื้นที่การปกครองเดียวกัน เรียกว่า อำเภอเมืองนครสวรรค์ โดยที่ว่าการอำเภอเมืองนครสวรรค์ ไปตั้งที่ปากน้ำโพ ส่วนศาลากลางจังหวัดตั้งที่เมืองนครสวรรค์เดิม[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการไหลบรรจบของแม่น้ำสองสายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ
ภูมิอากาศ
[แก้]จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ในเขตร้อนแบบมรสุม
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 32.2 (90) |
34.8 (94.6) |
36.8 (98.2) |
38.1 (100.6) |
35.9 (96.6) |
34.6 (94.3) |
34.0 (93.2) |
33.3 (91.9) |
32.5 (90.5) |
32.1 (89.8) |
31.5 (88.7) |
31.0 (87.8) |
33.9 (93.02) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.1 (64.6) |
21.7 (71.1) |
24.1 (75.4) |
25.7 (78.3) |
25.4 (77.7) |
25.0 (77) |
24.5 (76.1) |
24.3 (75.7) |
24.0 (75.2) |
23.6 (74.5) |
21.3 (70.3) |
18.2 (64.8) |
22.99 (73.39) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 9.8 (0.386) |
14.9 (0.587) |
30.0 (1.181) |
60.9 (2.398) |
138.7 (5.461) |
117.1 (4.61) |
134.1 (5.28) |
194.9 (7.673) |
231.6 (9.118) |
144.4 (5.685) |
35.3 (1.39) |
7.3 (0.287) |
1,119 (44.055) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 1 | 2 | 3 | 5 | 12 | 14 | 16 | 18 | 18 | 14 | 4 | 1 | 108 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา |
หน่วยการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]โรงพยาบาล
[แก้]อ.เมืองนครสวรรค์
[แก้]โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
- โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (เขาเขียว)
- โรงพยาบาลเมืองสี่แคว (ในเครือโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์)
- โรงพยาบาลแม่และเด็ก (ศูนย์อนามัยที่ 3)
- โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
โรงพยาบาลเอกชน
- โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 1
- โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 2
- โรงพยาบาลศรีสวรรค์ (ศูนย์หัวใจศรีสวรรค์ โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ)
- โรงพยาบาลร่มฉัตร
- โรงพยาบาลรวมแพทย์
- โรงพยาบาลสินแพทย์ (โครงการก่อสร้าง)
อ.พยุหะคีรี
[แก้]โรงพยาบาลรัฐ
- ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
- โรงพยาบาลพยุหะคีรี
อ.ตาคลี
[แก้]โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลตาคลี
- โรงพยาบาลกองบิน 4
โรงพยาบาลเอกชน
- โรงพยาบาลแพทย์ช่องแค
อ.ลาดยาว
[แก้]โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลลาดยาว
อ.เก้าเลี้ยว
[แก้]โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียน
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย
- วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคนิคแม่วงก์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการตากฟ้า
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิริยาลัยนครสวรรค์
- โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยภาคกลาง
- มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์[10]
- มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์ตาคลี อำเภอตาคลี
การขนส่ง
[แก้]การขนส่งทางถนนในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วยทางหลวงสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อไปยังภาคกลางตอนล่างและภาคเหนือ, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เชื่อมต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดชัยภูมิ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดนครสวรรค์มีสถานีรถไฟนครสวรรค์บนทางรถไฟสายเหนือของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตัวสถานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตัวเมืองที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนครสวรรค์[11]
เศรษฐกิจ
[แก้]จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน, รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรงหรือนาย ทรง องค์ชัยวัฒนะ ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเทศบาลนครที่เจริญเป็นอันดับที่ 13 ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2563. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ ประเสริฐ ณ นคร. พระบาง ในประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กทม. มติชน. 2549 หน้า 244 - 245
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Rianthong, S. (2023). The Timeline and Change of Communities in The Area of Paknampo Before 1957. DEC Journal, 2(2), 105–144. Retrieved from https://so07.tci-thaijo.org/index.php/decorativeartsJournal/article/view/2028
- ↑ เจตน์กมล วงษ์ท้าว. (2549). โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี และสถานที่สำคัญ จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี. สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.
- ↑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2509). พระราชนิพนธ์ เที่ยวตามทางรถไฟ. โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์
- ↑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2515). ประชุมพระราชนิพนธ์บางเรื่อง.
- ↑ กรมศิลปากร. (2516). ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร. กรมศิลปากร.
- ↑ เสนีย์ ปราโมช. (2528). บรรยายพิเศษ. ใน สุภรณ์ โอเจริญ (บ.ก.), นครสวรรค์ : รัฐกึ่งกลาง, รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. (น. 508-521). วิทยาลัยครูนครสวรรค์.
- ↑ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
- ↑ "Nakhon Sawan Airport". OurAirports. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อวัดในจังหวัดนครสวรรค์
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครสวรรค์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลจังหวัดนครสวรรค์จากเว็บไซต์ nakhonsawanprovince.com เก็บถาวร 2007-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
15°42′N 100°04′E / 15.7°N 100.07°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดนครสวรรค์
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย