บุญรอด บิณฑสันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญรอด บิณฑสันต์
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ถัดไปอรุณ สรเทศน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าหม่อมหลวงชูชาติ กำภู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กันยายน พ.ศ. 2458
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (96 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงพยอม บิณฑสันต์

ศาสตราจารย์ บุญรอด บิณฑสันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐคนแรกของประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อดีตเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

บุญรอด บิณฑสันต์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458[1] สมรสกับคุณหญิงพยอม บิณฑสันต์ มีบุตร-ธิดา 3 คนได้แก่ นางพัฒนา รุจิระวงศ์ ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กย 2560 - ปัจจุบัน[2]และ นายศิริพงศ์ บิณฑสันต์

จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2476 ระดับปริญญาโท สาขาไฟฟ้ากำลัง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี พ.ศ. 2481 ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน แต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้ไปเข้าร่วมกับกลุ่มเสรีไทยในประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา ทำให้ได้รับยศทหาร "ร้อยเอก" ในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ. 2489 ได้กลับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาวิชาไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง The International Water Resources Association (IWRA)

บุญรอด บิณฑสันต์ ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2509[3] และดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยยาวนานถึง 20 ปี (พ.ศ. 2518-2538) [4]

ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

การทำงาน[แก้]

บุญรอด บิณฑสันต์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เป็นอาจารย์ที่มีอายุเพียง 18 ปี[5] ต่อมาเมื่อได้มีการจัดตั้งสำนักงานพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2496 จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511

ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2516 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นคนแรกของไทย และตำแหน่งต่อมาคือ ผู้ว่าการการประปานครหลวง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2516 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชีวประวัติ บุญรอด บิณฑสันต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  2. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กย 2560
  3. ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  5. "หอเกียรติยศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๑๖๙, ๑๔ เมษายน ๒๕๑๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
ก่อนหน้า บุญรอด บิณฑสันต์ ถัดไป
ไม่มี
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (ครม. 32)
(19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
อรุณ สรเทศน์