พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
อธิบดีกรมตำรวจภูธร
ดำรงตำแหน่ง21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 - 14 เมษายน พ.ศ. 2472
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพลตรี พระยาวาสุเทพ
ถัดไปพลตำรวจตรี พระยาอธิกรณ์ประกาศ
ประสูติ3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414
สิ้นพระชนม์7 สิงหาคม พ.ศ. 2482 (67 ปี)
หม่อมหม่อมผาด
หม่อมแดง
หม่อมนุ่ม
พระบุตร9 คน
ราชสกุลปราโมช
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
พระมารดาหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช
รับใช้กองทัพบกสยาม
กรมตำรวจ
ชั้นยศ พลตำรวจเอก
พลโท

นายพลตำรวจเอก นายพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าคำรบ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ กับหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ เป็นทหารบก ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2444[1] ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก หลังจากนั้นทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 2 (ปัจจุบันคือ กองทัพภาคที่ 3) ระหว่าง พ.ศ. 2454 - 2457 ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ จากนั้นทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457[2] และกรมตำรวจ ระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2472 ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีบทบาทในการปรับปรุงกิจการตำรวจ โดยทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ พระองค์แรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 [3]

นายพลตำรวจเอก นายพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482 สิริพระชันษา 67 ปี 277 วัน

องคมนตรี[แก้]

ปี พ.ศ. 2458 ทรงได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี[4][5]

พระบุตรและพระธิดา[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ มีหม่อมทั้งหมด 3 คน คือ หม่อมผาด ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, หม่อมแดง บุนนาค และหม่อมนุ่ม มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 9 คน ได้แก่[6]

หน้าที่ราชการ[แก้]

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่[8]
  • 6 สิงหาคม พ.ศ. 2446 - ผู้บัญชาการทหารมณฑลนครสวรรค์[9]
  • ผู้บัญชาการกองพลที่ 6 มณฑลนครสวรรค์
  • กรกฎาคม พ.ศ. 2452 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 9 มณฑลปราจิณบุรี[10]
  • 26 กันยายน พ.ศ. 2453 - มรรคนายก วัดโสธรวรารามวรวิหาร[11]
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก และเป็นผู้รั้งแม่ทัพกองที่ 2[12]
  • มิถุนายน พ.ศ. 2455 - พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก และเป็นแม่ทัพกองที่ 2[13]
  • มิถุนายน พ.ศ. 2456 - ออกจากประจำการเป็นกองหนุนสังกัดกรมปลัดทัพบก และออกจากราชองครักษ์เวร[14]
  • ผู้ช่วยจเรเสือป่า
  • ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 - อธิบดีกรมตำรวจภูธร
  • 12:มีนาคม 2457 – ราชองครักษ์พิเศษ[15]
  • 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 - อธิบดีกรมตำรวจ

พระยศ[แก้]

  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 - ร้อยโท[16]
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2449 - พลตรี[17]
  • 7 ตุลาคม 2454 – นายหมู่เอก[18]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - นายหมู่ใหญ่[19]
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2457 - นายกองโท[20]
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2458 - นายพลโท[21]
  • 27 เมษายน พ.ศ. 2460 - นายกองเอก[22]
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - พระตำรวจตรี[23]
  • 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายกองใหญ่[24]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระยาวาสุเทพลาออกจากหน้าที่อธิบดีกรมตำรวจภูธร
  3. ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวน
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/112.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
  6. คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. โครงกระดูกในตู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามรัฐ, พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547. 109 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-131-1
  7. "หลวงอัครเทพฯ ทวิภพ ที่แท้ "ปู่ทวด" นีโน่!!". ผู้จัดการออนไลน์. 18 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  9. "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  10. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  11. พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
  12. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  13. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  14. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ถอนและตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  15. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  16. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  17. "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-30.
  18. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  19. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  20. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
  21. พระราชทานยศนายทหารบก
  22. พระราชทานยศเสือป่า
  23. พระราชทานยศพระตำรวจตรีพิเศษ
  24. พระราชทานยศเสือป่า
  25. ราชกิจจานุเบกษา 27 พฤศจิกายน 2464 เล่ม 38 หน้า 2471 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3120.PDF
  26. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  27. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  28. พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน
  29. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ถัดไป
พลตรี
พระยาวาสุเทพ (กุสตาฟ เชา)
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 6
(2458 – 2472)
พลตำรวจโท
พระยาอธิกรณ์ประกาศ
(หลุย จาติกวณิช)