ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลกรุงเทพ

พิกัด: 13°44′42″N 100°35′6″E / 13.74500°N 100.58500°E / 13.74500; 100.58500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลกรุงเทพ
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลทางเลือก
ที่ตั้ง2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
13°44′42″N 100°35′6″E / 13.74500°N 100.58500°E / 13.74500; 100.58500
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
ผู้อำนวยการพญ. เมธินี ไหมแพง
จำนวนเตียง488
เว็บไซต์www.bangkokhospital.com

โรงพยาบาลกรุงเทพ (อังกฤษ: Bangkok Hospital) ในปี พ.ศ. 2561 ได้ขยายเครือข่ายรวม 46 สาขา ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2562 ได้เปิดขยายสาขาอีก 3 สาขาได้แก่ Samitivej Japanese Regional Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพเขาใหญ่ โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย และในปี พ.ศ. 2563 ได้เปิด โรงพยาบาลกรุงเทพจอมเทียน และขยายเครือข่ายรวม 50 สาขา ในปี พ.ศ. 2563

ภาพบางส่วนของกลุ่มอาคารโรงพยาบาลกรุงเทพในสมัยปัจจุบัน(ถ่ายตรงสะพานลอยที่เชื่อมระหว่างอาคาร r และบางกอกพลาซ่า)

โรงพยาบาลครอบคลุมพื้นที่ให้บริการแทบทุกภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง บุคลากรมืออาชีพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง เพรียบพรัอมด้วยบริการฉุกเฉินและบริการพิเศษเหนือระดับ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อสนองตอบทุกความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บริษัทเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายในไทยและกัมพูชา ดำเนินการภายใต้ชื่อโรงพยาบาล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบี เอ็น เอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล นอกจากนี้เครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ยังรวมถึงธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ ได้แก่ ธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ธุรกิจผลิตยาและธุรกิจผลิตน้ำเกลือ เป็นต้น

ตั้งอยู่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร และเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับพระราชทานตราครุฑ[1]

รางวัล

[แก้]
  1. Joint Commission International (JCI) Gold Seal of ApprovalTM
  2. Telemedicine for the Mobile Society (TEMOS)
  3. Hospital Accreditation (HA) of Thailand
  4. Asian Hospital Management Award (AHMA)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bangkok Airways receive the Royal Garuda Emblem". Travel Blackboard. April 16, 2007. สืบค้นเมื่อ January 24, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]