ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมหลวงเสรี ปราโมช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสรี ปราโมช

เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2476
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 (61 ปี)
โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพอดีตนักการเมืองและนักดนตรีชาวไทย
คู่สมรสคุณหญิงทิพยวดี มาลากุล ณ อยุธยา
บุตร
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา

หม่อมหลวงเสรี ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537) อดีตนักการเมืองและนักดนตรีชาวไทย

ประวัติ

[แก้]

หม่อมหลวงเสรี ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 มีชื่อเล่นว่า "ต้อย" เป็นบุตรชายคนโต ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ศาลิคุปต์) ในจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น 3 คน ชีวิตส่วนตัวสมรสกับคุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม มาลากุล ณ อยุธยา บุตรสาวหม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล) ในปี พ.ศ. 2507 มีบุตรทั้งหมด 3 คน ซึ่งบุตรชายคนกลางเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดี คือ อชิตะ ปราโมช ณ อยุธยา เป็นนักร้อง นักดนตรีในสังกัดแกรมมี่[1] และมีบุตรชายอีกคนหนึ่งที่มิได้เกิดจากคุณหญิงทิพยวดี คือ คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารอิมเมจ [2]

ม.ล.เสรี เริ่มต้นการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจากตามบิดา คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ไปอาศัยอยู่ที่นั่น หลังจาก ม.ร.ว.เสนีย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ได้เดินทางกลับประเทศไทยและจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และเคยไปศึกษาต่อที่เมืองจีลอง ประเทศออสเตรเลีย สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และเข้าทำงานมีตำแหน่งสูงสุดเป็นประธานกรรมการฝ่ายอำนวยการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

ม.ล.เสรี ปราโมช ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะของหัวใจล้มเหลว และมะเร็งลำใส้ใหญ่ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สิริอายุได้ 61 ปี

การเมือง

[แก้]

ในทางการเมืองเคยลงรับเลือกตั้งในจังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2518 ตามคำเชื้อชวนของ นายสราวุธ นิยมทรัพย์ ส.ส.เขตพื้นที่ของพรรค ม.ล.เสรี ปราโมช ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นในปี พ.ศ. 2522 ม.ล.เสรี ปราโมช ได้ลงรับเลือกตั้งอีก ในเขตกรุงเทพมหานครในทีมเดียวกับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) มารุต บุนนาค ก็ปรากฏว่าไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 ม.ล.เสรี ปราโมช จึงได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับการเลือกตั้งในเขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพญาไท และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

ซึ่งในระหว่างที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ผู้เป็นบิดาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระหว่างปี พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519 อยู่นั้น ม.ล.เสรี อยู่ในฐานะเลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี เหมือนเช่น นายกล้าณรงค์ จันทิก แต่ทว่ามิได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ ทั้งที่เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเต็มที่ เมื่อมีผู้ถามถึงในเรื่องนี้ ม.ร.ว.เสนีย์ เฉลยว่าเป็นเหตุผลของความเหมาะสม[3]

ดนตรี

[แก้]

ม.ล.เสรี ปราโมช นิยมการเล่นดนตรี โดยเฉพาะดนตรีสากลตามบิดา คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และเคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกวง อ.ส.วันศุกร์ เล่นดนตรีร่วมและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ร่วมกับบิดา และน้องชาย ม.ล.อัศนี ปราโมช ด้วย [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติ ทพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา จากไทยรัฐ
  2. "Kamron Pramoj na Ayudhya". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-10.
  3. 3.0 3.1 หนังสือ ชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช : กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548 ISBN 9789749353509
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒๑๓๙, ๔ ตุลาคม ๒๕๐๓