สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ปราสาทสายฟ้า (The Thunder Castles) | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2513 ในชื่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2553 ในชื่อ บุรีรัมย์ พีอีเอ พ.ศ. 2555 ในชื่อ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | |||
สนาม | ช้างอารีนา (ความจุ: 32,600 ที่นั่ง) | |||
เจ้าของ | บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด | |||
ประธานสโมสร | เนวิน ชิดชอบ | |||
ผู้จัดการทีม | ชนน์ชนก ชิดชอบ | |||
ผู้ฝึกสอน | โบซีดาร์ บันโดวิช | |||
ลีก | ไทยลีก | |||
2562 | ไทยลีก, อันดับที่ 2 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
![]() |
ทีมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
ฟุตบอล (ชาย) | ฟุตบอลบี (ชาย) | อีสปอร์ต |
สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Buriram United F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2513 โดยปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก
เนื้อหา
ประวัติสโมสร[แก้]
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[แก้]
สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นสโมสรที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่ 2 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ เสร็จท่าน้ำ
หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือไทย ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก เป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 ร่วมกับสโมสรฟุตบอลยาสูบ อีกด้วย แต่ทั้ง 2 สโมสรกลับส่งรายชื่อผู้เล่นให้เอเอฟซีไม่ทันตามที่กำหนด จึงทำให้ทั้ง 2 สโมสรถูกตัดสิทธิและพลาดโอกาสลงเล่นในรายการระดับทวีปในท้ายที่สุด
ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552
ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์ เป็นทองสุข สัมปหังสิต อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา
การซื้อกิจการสโมสร[แก้]
การซื้อกิจการสโมสรเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาล 2552 จากความต้องการของนายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นในนามจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกันก็สร้างทีมใหม่อีกหนึ่งทีม ไต่อันดับขึ้นมาจากดิวิชันต่ำสุด[1] ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ [2] นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอทีและสโมสรฟุตบอลทหารบก[3] แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งมีผลงานสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์[2] หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็นบุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมดและทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน
ฤดูกาล 2553 - 2554[แก้]

การเข้ามาของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาทีมอย่างมาก มีการนำระบบบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลอาชีพเข้ามาใช้กับบริษัท เช่น การทำสัญญาจ้างนักฟุตบอล การเจรจา และทำสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลด้วยสัญญามาตรฐาน การสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ตามมาตรฐานของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า การจัดทำระบบบัญชี การเงิน กฎหมาย การตลาด การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความนิยมให้แก่ทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ และ ความน่าเชื่อถือแก่บริษัท
ผลจากการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจ และพัฒนาทีมอย่างจริงจัง ภายใต้นโยบายของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรคนใหม่ ส่งผลให้บุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็ว มีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือแฟนคลับ มากถึง 65,000 คน [4] มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขัน นัดละไม่น้อยกว่า 10,000 คน เมื่อเป็นเจ้าบ้าน และเมื่อเป็นทีมเยือน จะมีแฟนบอลติดตามไปชมไม่น้อยกว่า 1,500 คน อีกทั้งยังเป็นทีมที่สร้างสถิติผู้เข้าชมสูงสุดของไทยพรีเมียร์ลีก คือ 25,000 คน และ สร้างสถิติจำหน่ายของที่ระลึกได้สูงสุด 1,400,000 บาท ภายในวันเดียว คือนัดที่เตะกับเมืองทองยูไนเต็ด เมื่อวันที่ กันยายน 2553 [4]

ในฤดูกาล 2554 ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอได้เป็นแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกหลังจากเอาชนะ ทีมสโมสรฟุตบอลทหารบก ที่สนามกีฬากองทัพบก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ได้คะแนน 75 คะแนน ทิ้งห่างอันดับสอง ทั้งที่ยังมีการแข่งขันเหลืออีก 4 นัด [5] โดยมีพิธีมอบถ้วยรางวัลหลังการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล [6]
และยังได้ทริปเปิลแชมป์ หรือ 3 แชมป์ ในฤดูกาลเดียวกัน เมื่อเอาชนะทีมการท่าเรือไทย เอฟซี ไปได้ 2-0 ที่สนามศุภชลาศัย ได้แชมป์โตโยต้า ลีกคัพ หลังจากการได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก และไทยคม เอฟเอคัพ ไปแล้ว[7] โดยถือว่าเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่ทำได้[8]
และยังได้แชมป์ที่ 4 ด้วยการเอาชนะ ทีมเวกัลตะ เซนได จากเจลีก ด้วยลูกจุดโทษ ในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ ไปได้ 5-3 หลังในเวลาเสมอกัน 1-1[9]
ฤดูกาล 2555–2557[แก้]
ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฝ่ายเจ้าของสิทธิ์ของสโมสรเดิม คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเดิมอยู่ในการกำกับดูแลของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล จาก พรรคภูมิใจไทย ได้เปลี่ยนมาอยู่ในการกำกับดูแลของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ จาก พรรคเพื่อไทย ได้มีนโยบายที่จะย้ายสโมสรออกจากจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการเจรจาได้ข้อสรุปว่าฝ่ายนายเนวินจะขายหุ้น 70% [1] ที่ตนถืออยู่ออกไป จะแยกทีมการไฟฟ้าออกจากจังหวัดบุรีรัมย์และย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น ส่วนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอเดิม จะไปรวมกับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี ที่ได้แชมป์ ดิวิชั่น 1 และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2555 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" [10]
นายเนวินกล่าวว่า ในฤดูกาล 2555 สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (บุรีรัมย์ เอฟซีเดิม) จะลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก และเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วยโควตาชนะเลิศฤดูกาล 2554 ของบุรีรัมย์-พีอีเอ [11]
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวว่า ได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นจะเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ตามแผนเดิม ส่วนสิทธิการเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกของบุรีรัมย์ เอฟซีนั้น จะโอนให้กับ สงขลา เอฟซี ของนายนิพนธ์ บุญญามณี ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะไม่มีการส่งทีมเข้าแข่งขันรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกต่อไป [12]
ในฤดูกาล 2555 บุรีรัมย์จบอันดับ 4 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555 ด้วยการชนะอาร์มี่ ยูไนเต็ด ไป 2–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 รอบคัดเลือก[13] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2555 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 4–1[14] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย

ในฤดูกาล 2556 บุรีรัมย์จบอันดับ 1ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556ด้วยการชนะ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ไป 3–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 รอบแบ่งกลุ่ม[15] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2556สมัยที่3 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 2–1[16] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม
ในฤดูกาล 2557 บุรีรัมย์คว้าแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. และ แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2557 พร้อมกับจบที่อันดับ 1 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2557
ฤดูกาล 2558: ปีแห่งความสำเร็จ[แก้]

ถือเป็นปีทองของทัพ ปราสาทสายฟ้า เมื่อสามารถคว้าแชมป์มาประดับตู้โชว์ได้ถึง 5 รายการ แม้ว่าจะตกรอบแบ่งกลุ่มของศึกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกก็ตาม ซึ่งก่อนที่ฤดูกาลนี้จะเริ่มต้น ปราสาทสายฟ้า เสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมหลายราย ไม่ว่าจะเป็น นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, กรวิทย์ นามวิเศษ, นฤพล อารมณ์สวะ, โก ซุล-กิ, กิลแบร์โต มาเชนา, ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ซึ่งถือว่าเป็นขุมกำลังของทีมในฤดูกาล 2558
เปิดฉากความยิ่งใหญ่ด้วยแชมป์แรก ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ด้วยการเอาชนะ กระต่ายแก้ว บางกอกกล๊าส เอฟซี ไป 1-0 จากประตูชัยของ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 56[18]
เดินหน้าต่อกับแชมป์ที่ 2 โตโยต้า ลีกคัพ สมัย 4 สามารถเอาชนะ กูปรีอันตราย ศรีสะเกษ เอฟซี ที่เพิ่งเข้าชิงรายการนี้เป็นครั้งแรก ไป 1-0 จากประตูชัยของ โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 18[19]
สานต่อความสำเร็จในปีนี้ ด้วยแชมป์ที่ 3 ไทยพรีเมียร์ลีก และเป็นแชมป์ไร้พ่ายอีกด้วย โดยไม่แพ้ใครตลอด 34 นัด ชนะ 25 นัด และเสมอไป 9 นัด ทำประตูได้ถึง 98 ลูก มากที่สุดในลีก และเสียไปเพียง 24 ประตู ซึ่งน้อยที่สุดในลีก แถมจบซีซั่นด้วยการมีแต้มมากกว่า กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมรองแชมป์ถึง 13 คะแนนเลยทีเดียว ซึ่งการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกในครั้งนี้ เป็นการคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ติดต่อกันของ ปราสาทสายฟ้า นอกจากนี้ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ยังคว้าตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ไปครอง หลังโชว์ฟอร์มสุดโหดเหี้ยม ซัดไป 33 ประตูอีกด้วย ส่วนคู่หู่ในแนวรุกของเขาอย่าง กิลแบร์โต มาเชนา ก็ยิงไป 21 ประตู ได้อันดับ 3 ขณะที่ ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายทีมชาติไทย ก็ทำแอสซิสต์ ไป 19 ครั้ง ซึ่งสูงสุดในลีกปีนี้
ตามมาติด ๆ กับแชมป์ที่ 4 แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ปราสาทสายฟ้า ในฐานะแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ พบกับ สิงห์ร้ายแห่งนครวัด เบิงเกต อังกอร์ ทีมชั้นนำแห่งศึกฟุตบอลลีกกัมพูชา ในศึกฟุตบอลแห่งศักดิ์ศรีเพื่อชิงความเป็นเจ้าสโมสรแห่งภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเอาชนะไปได้ 1-0 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 67 ช่วยให้ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์รายการนี้ไปครอง[20]
และปิดท้ายปี พ.ศ. 2558 อย่างสมบูรณ์แบบ กับแชมป์ที่ 5 ช้าง เอฟเอคัพ โดยการเอาชนะ กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด คู่ปรับเก่าสมัยไทยพรีเมียร์ลีกไป 3-1 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 45, โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 51 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 70 คว้าแชมป์รายการนี้ไปครองเป็นสมัยที่ 4[21] และเป็นถ้วยแชมป์ที่ 5 ในปีนี้ รวมทั้งกลายเป็นสโมสรแรกจากทวีปเอเชีย ที่คว้าถ้วยรางวัล 5 ใบได้สำเร็จในฤดูกาลเดียวอีกด้วย[22]
ฤดูกาล 2559: ตกอับ[แก้]
หลังฤดูกาลที่แล้วสามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 5 รายการ ปราสาทสายฟ้า ก็ได้มีการเสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมเพิ่มอีกหลายรายเพื่อป้องกันทั้ง 5 แชมป์ในฤดูกาล 2559 และคว้าแชมป์ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น อดุล หละโสะ, อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริตซ์, ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า, สถาพร แดงสี, อนันต์ บัวแสง, เอมิเลียโน่ อัลฟาโร่[23] และได้จัดการแข่งขันรายการ ช้าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เอเชียนทัวร์ 2016 ขึ้นในวันที่ 22 - 31 มกราคม โดยรายได้มอบให้กับการกุศล โดยนัดแรกไปเยือน กัมพูชา ออลสตาร์ ในวันที่ 22 มกราคม จบ 90 นาทีเสมอกันที่ 2-2 โดยฝั่ง ปราสาทสายฟ้า ได้ประตูจาก สุเชาว์ นุชนุ่ม กัปตันทีมในนาทีที่ 45 และ ดิโอโก หลุยส์ ซานโต ซึ่งลงมาเป็นตัวสำรองในภายหลังในนาทีที่ 83 ส่งผลให้ต้องดวลจุดโทษกันและเป็น กัมพูชา ออลสตาร์ ที่ชนะไป 4-3 รวมผลสกอร์ 6-5[24] แต่หลังจากนันก็มาพลิกล็อกใน 2 นัดสุดท้าย ซึ่งชนะทั้งหมด โดยเปิดบ้านชนะ โปฮัง สตีลเลอส์ ยอดทีมจาก เคลีก ในประเทศเกาหลีใต้ ไป 2-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 9 และ ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ในนาทีที่ 33[25] และบุกไปชนะ ออลสตาร์ ลาว ไป 3-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 2 และ 30 และจุดโทษโดย อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 24[26] หลังจากนั้น ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ย้ายทีมแต่ก็ได้กองหน้าคนใหม่ คือ ไคโอะ ฟิลิปเป้ กอนซาเวซ รวมทั้ง คิม ซึง ยอง และ เวสลีย์ เฟย์โตซ่า
หลังจากเตรียมทีมมา 1 เดือน ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2015 เป็นแชมป์แรกได้สำเร็จ โดยเอาชนะ อัลบิเร็กซ์ นีงะตะ จากเจลีกไปได้ 2-1 จากลูกเตะมุมของ ธีราทร บุญมาทัน เปิดให้กับ โก ซุล-กิ โหม่งในนาทีที่ 50 และ 79[27] ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ได้อีกสมัย โดยสามารถเอาชนะคู่ปรับที่ยังไม่เคยชนะ ปราสาทสายฟ้า ได้เลย คือ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปได้ถึง 3-1 จาก ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 14, จุดโทษของอันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 66 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 83[28]

ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ปราสาทสายฟ้า ซึ่งถูกจับอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับ เอฟซี โซล, ซานตงลู่เนิ่งไท่ชาน และซานเฟรซ ฮิโรชิมะ ปรากฏว่าทำผลงานได้ย่ำแย่มาก ไม่ชนะใครเลย เสมอ 1 และแพ้ 5 ตกรอบแบ่งกลุ่ม โดยเป็นทีมอันดับสุดท้ายของกลุ่ม และเป็นทีมที่สถิติที่แย่ที่สุดของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปีนี้อีกด้วย[29] และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แฟนเพจอย่างเป็นทางการของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด [30] เปิดเผยแถลงข่าวการขาย ธีราทร บุญมาทัน ให้กับทีมร่วมลีกอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอซื้อจากหลายทีม [31]
หลังจบฤดูกาล 2559 ที่ไม่ค่อยสวยงาม ในไทยลีก ปราสาทสายฟ้า แข่งทั้งหมด 30 นัด มี 55 คะแนน ชนะ 15 เสมอ 10 แพ้ 5 อยู่อันดับที่ 4 ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[32] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอล ในโตโยต้า ลีกคัพ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์ร่วมกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดย ปราสาทสายฟ้า เลือกลงแข่งขันแม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ ปราสาทสายฟ้า ยุติเส้นทางไว้ที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย หลังบุกไปแพ้คู่ปรับตลอดกาลอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 3-1[33] และเมื่อเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แพ้ชลบุรี เอฟซี 3-0 จึงทำให้ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[34]
ฤดูกาล 2560: ปีแห่งการทวงคืน[แก้]
ในเดือนมกราคม 2560 เนวิน ชิดชอบได้ทำการเปิดตัวสโมสรด้วยสโลแกน "สไตรค์แบ็ค" หรือทวงคืนทุกแชมป์[35] ทางสโมสรได้ปล่อยตัวผู้เล่นออกไปหลายราย ไม่ว่าจะเป็น อนาวิน จูจีน (ย้ายไปสุพรรณบุรี[36]), เชาว์วัฒน์ วีระชาติ (ย้ายไปบางกอกกล๊าส[37]), สุรีย์-สุรัตน์ สุขะ (ย้ายไปอุบล ยูเอ็มที[38]), อันเดรส ตุญเญซ (ปล่อยยืมตัวให้กับสโมสรในสเปน), ไคโอะ ฟีลีปี และบรูนู โมเรย์รา ซึ่งเป็นกำลังหลักที่สำคัญเมื่อฤดูกาลที่แล้ว และทางสโมสรได้ทำการยืมตัวฌาฌาจากสโมสรโลเคอเรนในเบลเยียม[39] และซื้อตัวผู้เล่นใหม่อย่างโซลวี ออตเตเซน, พรรษา เหมวิบูลย์ และศุภชัย ใจเด็ด เข้าสู่ทีม
เปิดฤดูกาลด้วยการแข่งขันแม่โขงคลับแชมเปียนชิพซึ่งเลื่อนมาจากปีที่แล้ว บุรีรัมย์ซึ่งเป็นทีมเยือนในเลกแรกบุกไปแพ้ล้านช้าง ยูไนเต็ดที่ประเทศลาว ด้วยผล 1–0[40] แต่ในเลกที่สองที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ บุรีรัมย์กลับมาเอาชนะไป 2–0 ผลประตูรวม 2–1 ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ[41]
การแข่งขันรายการหลัก "ไทยลีก" ในนัดแรก บุรีรัมย์เริ่มต้นได้ไม่ดีนักเมื่อต้องเปิดบ้านไล่ตามตีเสมอชลบุรี 2–2 หลังจากที่โดนนำ 0–2 ในครึ่งแรก[42] แต่ในนัดถัด ๆ มา ทีมสามารถเก็บชัยชนะได้ 4 นัดรวด ก่อนที่จะสะดุดในเกมลีกนัดที่ 5 ที่ออกไปเยือนการท่าเรือ ผลจบลงด้วยการเสมอ 0–0 ต่อมาเกมลีกนัดที่ 6 บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะคู่ปรับสำคัญอย่างเอสซีจี เมืองทองได้สำเร็จด้วยผล 2–0 โดยได้ประตูจากฌาฌาและสุเชาว์ นุชนุ่ม[43] หลังจากนั้นทีมก็สามารถเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในเกมลีกนัดที่ 12 และ 13 ซึ่งบุรีรัมย์ออกไปแพ้บางกอกกล๊าส 2–1 (แพ้ในลีกเป็นเกมแรก)[44] และเปิดบ้านแพ้ราชบุรี มิตรผล 3–4[45] ทำให้โอกาสลุ้นแชมป์ยิ่งยากขึ้น เมื่อมีคะแนนตามหลังจ่าฝูงอย่างเมืองทองถึง 7 คะแนน
ทว่าอีกสามนัดถัดมา จ่าฝูงอย่างเอสซีจี เมืองทอง ทำคะแนนหายจากการพ่ายแพ้ต่อสามทีมน้องใหม่อย่างไทยฮอนด้า, สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ และอุบล ยูเอ็มที[46] ส่งผลให้บุรีรัมย์ที่เก็บแต้มอย่างต่อเนื่อง ทำคะแนนเทียบเท่าเมืองทองหลังจบเลกแรก เป็นรองเพียงแค่ผลต่างประตูได้เสีย
กลางเดือนมิถุนายน 2560 รันกอ ปอปอวิช ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[47] โดยมีโบซีดาร์ บันโดวิช เข้ารับตำแหน่งแทน[48] ต่อมาในเกมลีกนัดที่ 18 ของฤดูกาล หรือนัดแรกของเลกที่สอง บุรีรัมย์ซึ่งเปิดบ้านเอาชนะราชนาวี 2–0[49] สามารถแซงขึ้นไปเป็นจ่าฝูงได้สำเร็จ เนื่องจากเมืองทองสะดุดในนัดที่ออกไปเสมอสุโขทัย 2–2 ทั้งที่นำก่อน 2–0[50] และในอีก 16 นัดถัดมา บุรีรัมย์สามารถเก็บชัยชนะได้อย่างต่อเนื่อง และคว้าแชมป์ไทยลีกอย่างเป็นทางการในเกมนัดที่ 32 ซึ่งบุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 4–0[51] และยังสามารถทำสถิติเก็บแต้มในลีกสูงสุดที่ 86 คะแนน หลังจากบุกไปชนะชลบุรี 2–1 ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาล[52]
ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยรายการโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์จบเส้นทางที่รอบแปดทีมสุดท้ายหลังเปิดบ้านพ่ายต่อแชมป์เก่าร่วมอย่างเมืองทอง 0–2[53] และในช้าง เอฟเอคัพ บุรีรัมย์ตกรอบแปดทีมสุดท้ายเช่นกันหลังออกไปแพ้เชียงราย ยูไนเต็ด 1–0[54] โดยทั้งเมืองทองและเชียงรายที่ทำให้บุรีรัมย์ตกรอบ สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยได้ในบั้นปลาย
ฤดูกาล 2561[แก้]
หลังจบฤดูกาล 2560 สโมสรบุรีรัมย์ได้ปล่อยตัวฌาฌาเนื่องจากหมดสัญญายืมตัว[55] และได้ซื้อตัวกองหน้ารายใหม่ทดแทนอย่างเอ็ดการ์[56] และฮอง วู แซมซัน[57] นอกจากนี้ยังยืมตัวประวีณวัช บุญยงค์ จากบางกอกกล๊าส และซื้อขาดศศลักษณ์ ไหประโคน จากทรูแบงค็อก[58] หลังจากที่เคยลงเล่นแบบยืมตัวเมื่อเลกสองของฤดูกาลที่แล้ว
เปิดฤดูกาล 2561 ด้วยการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ เป็นการพบกันระหว่างแชมป์ไทยลีก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และแชมป์เอฟเอคัพ สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ผลการแข่งขันในเวลาจบลงด้วยผลเสมอ 2–2 ก่อนที่บุรีรัมย์จะพ่ายจุดโทษ 7–8[59]
บุรีรัมย์ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก จากการคว้าแชมป์ลีกเมื่อฤดูกาลที่แล้ว โดยบุรีรัมย์อยู่ในกลุ่มจี ร่วมกับกว่างโจวเอเวอร์แกรนด์, เซเรซโซ โอซากะ และเชจูยูไนเต็ด ซึ่งเป็นสโมสรที่มีส่วนชี้ขาดให้บุรีรัมย์ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ จากการทำประตูชัยของกรกช วิริยอุดมศิริ[60] ทำให้บุรีรัมย์เป็นสโมสรแรกจากไทยที่สามารถบุกไปเอาชนะสโมสรเกาหลีใต้ได้อีกด้วย[61] ต่อมารอบ 16 ทีมสุดท้าย บุรีรัมย์ซึ่งเป็นเจ้าบ้านในเลกแรกเอาชนะช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์จากเกาหลีใต้ไปได้ 3–2[62] ก่อนที่จะบุกไปแพ้ในเลกที่สอง 0–2[63] ผลประตูรวมบุรีรัมย์แพ้ 3–4 ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย
ในไทยลีก บุรีรัมย์ลงแข่งขันเกมลีกนัดแรกของฤดูกาล ด้วยการเปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผลไปได้ 2–1[64] และแพ้นัดแรกของฤดูกาลในเกมนัดที่ 11 ซึ่งเป็นนัดที่บุรีรัมย์บุกไปพ่ายต่อสิงห์เชียงราย 1–0 ยุติสถิติไร้พ่ายในลีก 31 นัดติดต่อกัน[65] ต่อมาเกมลีกนัดที่ 19 บุรีรัมย์แพ้ในบ้านนัดแรกต่อชัยนาท ฮอร์นบิล 0–1 และเสียตำแหน่งจ่าฝูงให้กับทรูแบงค็อก[66] อย่างไรก็ดี บุรีรัมย์สามารถทวงคืนตำแหน่งจ่าฝูงได้ในนัดถัดมาที่บุกไปเอาชนะพีที ประจวบ 2–1[67] ส่วนทรูแบงค็อกทำได้เพียงเสมอกับราชบุรีในวันก่อนหน้า[68] บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยลีกอย่างเป็นทางการในเกมนัดที่ 31 ที่เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 2–0[69] และในนัดสุดท้ายที่บุกไปชนะราชบุรี มิตรผล 1–0 นั้น บุรีรัมย์เก็บแต้มสูงสุดที่ 87 คะแนน ทำลายสถิติเดิมของตนเอง (86 คะแนน) เมื่อฤดูกาลที่แล้ว
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ในโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์ยุติเส้นทางที่รอบรองชนะเลิศหลังจากที่พ่ายต่อบางกอกกล๊าส 1–2 ที่สนามบุณยะจินดา[70] ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ บุรีรัมย์ได้เข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อสิงห์เชียงราย 2–3
ฤดูกาล 2562[แก้]
ในฤดูกาล 2562 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประเดิมแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพสมัยแรก ด้วยการล้างตาเอาชนะสิงห์เชียงราย 3–1 อย่างไรก็ตาม สโมสรทำผลงานในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกได้ไม่ดีนัก โดยเก็บได้เพียง 4 คะแนนจากการแข่ง 6 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้
สำหรับในไทยลีก ฤดูกาล 2562 สโมสรทำผลงานได้ไม่ค่อยต่อเนื่องนัก ต้องลุ้นแย่งแชมป์กับ สิงห์เชียงราย และ การท่าเรือ ในช่วงท้ายของฤดูกาล และในนัดปิดฤดูกาล วันที่ 26 ตุลาคม 2562 บุรีรัมย์บุกไปเยือนเชียงใหม่ โดยในนัดนี้ ถ้าบุรีรัมย์ชนะ หรือ บุรีรัมย์ เสมอหรือแพ้ แล้วสิงห์เชียงรายไม่ชนะ บุรีรัมย์จะคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 7 ทันที แต่สุดท้าย บุรีรัมย์ทำได้เพียงเสมอเชียงใหม่ 1–1 ส่วน สิงห์เชียงราย บุกไปเอาชนะ สุพรรณบุรี 5–2 ทำให้ทั้งสองทีมมีคะแนนเท่ากัน แต่สิงห์ เชียงราย มี เฮด-ทู-เฮด ที่ดีกว่า ทำให้บุรีรัมย์พลาดโอกาสคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 7 อย่างน่าเสียดาย ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศ บุรีรัมย์ตกรอบ ช้าง เอฟเอคัพ ด้วยการพ่ายแพ้ต่อ ราชบุรี มิตรผล ในรอบรองชนะเลิศ และในโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์เข้าชิงชนะเลิศกับ พีที ประจวบ ที่สนามกลางอย่างเอสซีจีสเตเดียม แต่สุดท้าย บุรีรัมย์ ก็พ่ายแพ้ในการยิงลูกโทษ ทำให้ในฤดูกาล 2562 ถ้าไม่นับไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพแล้ว บุรีรัมย์ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลยแม้แต่รายการเดียว
สนาม[แก้]
เขากระโดง สเตเดี้ยม (2553–2554)[แก้]
เขากระโดง สเตเดี้ยม | |
---|---|
เขากระโดง สเตเดี้ยม | |
ที่ตั้ง | อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
เจ้าของ | องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ |
ผู้ดำเนินการ | องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ |
ความจุ | 15,000 ที่นั่ง |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | 27 มีนาคม พ.ศ. 2553 |
ผู้ใช้งาน | |
องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ |
เขากระโดง สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้าเดิมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง สนามนี้เคยเป็นสนามขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และถูกปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้รองรับการใช้งานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553 ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยย้ายไปสนามแห่งใหม่ของตัวเองซึ่งมีความจุ 32,600 คน คือ สนาม นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม ปัจจุบันก็ได้โอนสนามนี้ให้เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์เหมือนเดิมและบริเวณที่ว่างข้างสนามได้สร้างศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์แห่งใหม่
ช้างอารีนา (2554–ปัจจุบัน)[แก้]
ช้างอารีนา หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (อังกฤษ: Chang ARENA, Thunder castle Stadium, Buriram Stadium) ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 35,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ และจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า, เอเอฟซี และเอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุค ว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน[71]
บันทึกคะแนนตามฤดูกาล[แก้]
ฤดูกาล | ลีก[72] | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | โตโยต้าพรีเมียร์คัพ | ควีนสคัพ | ถ้วย ก/แชมเปียนส์คัพ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | เอเอฟซีคัพ | อาเซียนคลับ | แม่โขงคลับ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดิวิชัน | P | W | D | L | F | A | Pts | Pos | ชื่อ | ประตู | ||||||||||
2547/48 | TPL | 18 | 9 | 5 | 4 | 23 | 19 | 32 | 2 | – | – | – | – | – | – | – | GR | – | ศุภกิจ จินะใจ | 10 |
2549 | TPL | 22 | 6 | 4 | 12 | 23 | 32 | 22 | 10 | – | – | – | – | – | DQ | – | – | – | ศุภกิจ จินะใจ | 7 |
2550 | TPL | 30 | 13 | 3 | 14 | 35 | 40 | 42 | 8 | – | – | – | – | – | – | – | – | – | ธนา ชะนะบุตร | 7 |
2551 | TPL | 30 | 18 | 7 | 5 | 38 | 15 | 61 | 1 | – | – | – | – | – | – | – | – | – | รณชัย รังสิโย | 16 |
2552 | TPL | 30 | 9 | 9 | 12 | 37 | 41 | 36 | 9 | R4 | – | – | รอบน็อคเอ้าท์ | RU | QR1 | GR | – | – | สุริยา ดอมไธสง | 9 |
2553 | TPL | 30 | 17 | 12 | 1 | 51 | 19 | 63 | 2 | R4 | RU | – | ไม่ได้เข้าร่วม | – | – | – | – | – | สุเชาว์ นุชนุ่ม | 11 |
2554 | TPL | 34 | 26 | 7 | 1 | 64 | 15 | 85 | 1 | W | W | – | – | – | – | – | – | – | แฟรงค์ โอฮานด์ซา | 19 |
2555 | TPL | 34 | 14 | 12 | 8 | 60 | 40 | 54 | 4 | W | W | W | – | RU | GR | – | – | – | แฟรงค์ โอโปคู | 12 |
2556 | TPL | 32 | 23 | 9 | 0 | 73 | 23 | 78 | 1 | W | W | RU | – | W | QF | – | – | – | การ์เมโล กอนซาเลซ | 23 |
2557 | TPL | 38 | 23 | 10 | 5 | 69 | 26 | 79 | 1 | R4 | RU | W | – | W | GR | – | – | – | คาเบียร์ ปาตีโญ | 21 |
2558 | TPL | 34 | 25 | 9 | 0 | 98 | 24 | 84 | 1 | W | W | W | – | W | GR | – | – | W | ดิโอโก | 33 |
2559 | TL | 30 | 15 | 10 | 5 | 55 | 38 | 55 | 4 | R4 | W | W | – | W | GR | – | – | W | อันเดรส ตุญเญซ | 9 |
2560 | T1 | 34 | 27 | 5 | 2 | 85 | 22 | 86 | 1 | QF | QF | – | – | – | – | – | – | – | ฌาฌา | 34 |
2561 | T1 | 34 | 28 | 3 | 3 | 76 | 25 | 51 | 1 | RU | SF | – | – | RU | R16 | – | – | – | จีโอกู | 34 |
2562 | T1 | 30 | 16 | 10 | 4 | 51 | 25 | 58 | 2 | SF | RU | – | – | W | GS | – | – | – | สุภโชค สารชาติ | 9 |
แชมเปียนส์ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น | กำลังแข่งขัน |
|
|
|
|
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นชุดเยาวชน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้ฝึกสอนชุดปัจจุบัน[แก้]
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ![]() |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | ![]() |
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู | ![]() |
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค | ![]() |
หัวหน้าศูนย์พัฒนาเยาวชน | ![]() |
หัวหน้าผู้ฝึกสอนชุด U-23 | ![]() |
ผู้ฝึกสอน[แก้]
รายชื่อผู้ฝึกสอน (2550 - ปัจจุบัน)
ผู้บริหาร[แก้]
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | ![]() |
รองประธานสโมสร | ![]() |
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด | ![]() |
ผู้จัดการทีม | ![]() |
ผู้อำนวยการสายงานบัญชีและการเงิน | ![]() |
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ | ![]() |
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร | ![]() |
ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าที่ระลึก | ![]() |
แพทย์ประจำสโมสร | ![]() |
เกียรติประวัติ[แก้]
รายการ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ปีชนะเลิศ | ปีรองชนะเลิศ | ปีที่เข้ารอบสูงสุด | รอบ |
---|---|---|---|---|---|---|
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | 0 | 0 | - | - | 2008, 2009, 2012 , 2013 , 2014 , 2015 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
เอเอฟซีคัพ | 0 | 0 | - | - | 2004 | รอบเพลย์ออฟ |
ไทยลีก | 7 | 3 | 2551, 2554, 2556, 2557, 2558, 2560, 2561 | 2547/48, 2553, 2562 | - | - |
ไทยเอฟเอคัพ | 4 | 1 | 2554, 2555, 2556, 2558 | 2561 | 2554, 2555, 2556, 2543, 2561 | รอบชิงชนะเลิศ |
ไทยลีกคัพ | 5 | 3 | 2554, 2555, 2556, 2558, 2559 | 2553, 2557, 2562 | 2553, 2554, 2555, 2556, 2557, 2558, 2559,2562 | รอบชิงชนะเลิศ |
ถ้วยพระราชทาน ก | 4 | 2 | 2556, 2557, 2558, 2559 | 2552, 2555 | 2552, 2555, 2556, 2557, 2558, 2559 | รอบชิงชนะเลิศ |
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ | 1 | 1 | 2562 | 2561 | 2561, 2562 | รอบชิงชนะเลิศ |
ไทยลีกดิวิชั่น 1 | 0 | 1 | - | 2546 | - | - |
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ | 2 | 0 | 2015, 2016 | - | - | รอบชิงชนะเลิศ |
ผู้สนับสนุน[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ศึก AFC แชมเปียนส์ลีก สิทธิ์นี้ตกเป็นของใคร
- ↑ 2.0 2.1 เนวินจะได้แต่ทีมการไฟฟ้าฯ แต่ไม่ได้นักเตะไปบุรีรัมย์
- ↑ เนวินเบนเป้าเล็งดึงทัพบกเล่นบุรีรัมย์ สยามกีฬา, 5 พฤศจิกายน 2552
- ↑ 4.0 4.1 เนวิน ชิดชอบ จากไทยรัฐ
- ↑ บุรีรัมย์ พีอีเอ คว้าแชมป์ ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ ลีก2011 Asian Thai NEWS Network, 17 ธันวาคม 2554
- ↑ 'วิชิต' ยัน 'บุรีรัมย์ พีอีเอ' ได้ถ้วยแชมป์นัดสุดท้าย ไทยรัฐ, 22 ธันวาคม 2554
- ↑ บุรีรัมย์เฮ 2-0 ซิว 3 แชมป์สมใจ จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ′บุรีรัมย์′ อัด ′สิงห์เจ้าท่า′ คว้าถ้วย ′โตโยต้าลีกคัพ′ สร้างสถิติ "ทริปเปิ้ลแชมป์" สุดยิ่งใหญ่ จากมติชน
- ↑ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดดวลโทษคว่ำเซนไดซิวถ้วยที่4 จากสนุกดอตคอม
- ↑ "บุรีรัมย์พีอีเอ" เตรียมแถลงข่าวแยกตัวออกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ThaiPBS, 11 ธันวาคม 2554
- ↑ "บิ๊กเน" ยันสิทธิ์เตะ "แชมเปียนส์ลีก" เป็นของบุรีรัมย์
- ↑ "เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด
- ↑ เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับอาร์มี่2-1
- ↑ เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี4-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
- ↑ เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับบางกอกกล็ส3-1
- ↑ เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี2-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
- ↑ "Report from Siamsport.co.th". Buriram United vs Muangthong United. Retrieved 26 December 2015.
- ↑ ซานโต้ยิงโทน! 'บุรีรัมย์' เฉือน 'บีจี' 1-0 คว้าแชมป์ถ้วย ก จาก ไทยรัฐ
- ↑ บุรีรัมย์เฉือนกูปรีคว้าแชมป์โตโยต้าลีกคัพ จาก โพสต์ทูเดย์
- ↑ "บุรีรัมย์" คว้าแชมป์แม่โขงคลับ จาก โพสต์ทูเดย์
- ↑ ปราสาทแกร่งจริง!ทุบกิเลน 3-1 ซิวแชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ จาก สยามกีฬารายวัน
- ↑ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! “บุรีรัมย์” 5 แชมป์ ทีมแรกเอเชีย จาก สนุก.คอม
- ↑ ′บุรีรัมย์′ เปิดตัว ′ดานิโล่,สถาพร,อนันต์′ ร่วมทัพ หวังกวาดหมดทุกถ้วยในปี 2016 จาก มติชน
- ↑ พลิกล็อก! "บุรีรัมย์" พ่ายจุดโทษออลสตาร์เขมร "กิเลน" แพ้เหงียน จาก ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ โมริตซ์-ดานิโลปลดล็อก! บุรีรัมย์อุ่นเชือดโปฮัง 2-1
- ↑ 'โมริตซ์' เบิ้ล! 'บุรีรัมย์' อัด 'ออลสตาร์ลีกลาว' 3-1 จาก ไทยรัฐ
- ↑ "โกซุลกิ" เหมา2ปราสาทแซงคว้าแชมป์พรีเมียร์คัพ จาก เดลินิวส์
- ↑ ปราสาทผ่ากิเลน 3-1 ซิวถ้วย ก 4 สมัยติด
- ↑ เนวินขอบคุณGU12ยืนหยัดข้างบุรีรัมย์แม้จบACLด้วยสถิติแย่สุด
- ↑ แถลงการณ์จากสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ↑ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แถลงข่าวปล่อยตัว ธีราทร บุญมาทัน ให้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- ↑ ตารางคะแนนไทยลีก
- ↑ "เมืองทองฯ 3 - 1 บุรีรัมย์ : กิเลนฝังแค้นลึกลงใจปราสาท 10 คน". FourFourTwo. 3 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561.
- ↑ "ฝันสลาย!"บุรีรัมย์-บีจี"หมดลุ้น"ACL"หลังกิเลนร่วงช้างเอฟเอคัพ". Goal Thailand. 21 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561.
- ↑ ""ปฏิบัติการทวงคืน-STRIKE BACK"บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเปิดตัวยิ่งใหญ่สู้ศึกฤดูกาลใหม่". ข่าวสด.คอม. 13 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ ""อนาวิน" เผยเหตุลาปราสาทสายฟ้าซบสุพรรณบุรี". เอ็มไทย.คอม. 15 ก.พ.2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "'บีจี' เปิดตัว 'เชาว์วัฒน์' เสริมทัพล่าความสำเร็จปีหน้า". ไทยรัฐ. 1 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "'สุรีย์-สุรัตน์' ย้ายซบ 'อุบล ยูเอ็มที' บู๊ไทยลีกฤดูกาลหน้า". ข่าวสด. 21 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์คว้า "ชาช่า" หอกยักษ์อดีตค่าตัว 150 ล้านบาทล่าแชมป์ 2017". โกล.คอม. 13 ม.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "ล้านช้าง 1 - 0 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด : ปราสาทเสียท่านัดแรกศึกชิงแม่โขง Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/news/laanchaang-1-0-buriiramy-yuuainetd-praasaathesiiythaanadaerksuekchingaemokhng#2ik9fpV3dSIF3Rd6.99". โฟร์โฟร์ทู. 4 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. line feed character in
|title=
at position 68 (help); External link in|title=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์อัดล้านช้าง 2-0 พลิกซิวแชมป์แม่โขง 2 สมัยซ้อน". โกล.คอม. 8 ม.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 2 - 2 ชลบุรี : ปราสาทรัว 2 เม็ดคัมแบ็คเจ๊าฉลามสุดมัน". โฟร์โฟร์ทู. 12 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 2-0 เมืองทอง : กิเลนแพ้นัดแรกร่วงจ่าฝูง". โฟร์โฟร์ทู. 3 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บางกอกกล๊าส 2-1 บุรีรัมย์ : คัมโปสคมกริบ ยัดเยียดปราชัยปราสาทนัดแรก". โฟร์โฟร์ทู. 3 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 3 - 4 ราชบุรี : ราชันมังกรบุกพ่นไฟใส่ปราสาทนาทีท้าย". โฟร์โฟร์ทู. 7 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "กิเลนพ่าย4นัดติดครั้งแรกในประวัติศาสตร์". โกล.คอม. 20 พ.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ รันกอ ปอปอวิช ลาออก
- ↑ บุรีรัมย์ตั้งโบซีดาร์ บันโดวิช คุมทีม
- ↑ "บุรีรัมย์ 2-0 ราชนาวี : บันโดวิช แผลงฤทธิ์พา "ปราสาทสายฟ้า" ทะยานจ่าฝูงชั่วคราว". โฟร์โฟร์ทู. 17 มิ.ย. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "สุโขทัย 2-2 เมืองทอง : คาตาโนะยิงเบิ้ลทำกิเลนอดผยอง". โฟร์โฟร์ทู. 18 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 4-0 โปลิศ เทโร : ปราสาทสายฟ้าผงาดคว้าแชมป์สมัย 5". โฟร์โฟร์ทู. 8 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "ชลบุรี 1-2 บุรีรัมย์ : ปราสาทขึ้นแท่นแชมป์เก็บแต้มมากสุด". โฟร์โฟร์ทู. 18 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 0-2 เมืองทอง : ปราสาทตกรอบ 8 ทีมลีกคัพครั้งแรก". โฟร์โฟร์ทู. 11 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "เชียงราย 1-0 บุรีรัมย์ : ปราสาทร่วงอีกถ้วย". โฟร์โฟร์ทู. 18 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ปล่อย ชาชา คืนต้นสังกัด". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "'บุรีรัมย์' คว้าเอ็ดการ์ ระเบิดตาข่ายไทยลีก!!". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์เปิดตัว "ฮอง วู แซมสัน" โควตาอาเซียน". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "ปราสาทสายฟ้าซื้อขาด" ศศลักษณ์". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "เชียงราย 2 (8) -2 (7) บุรีรัมย์ : กฎใหม่ใช้งานคุ้มกว่างฯแม่นโทษดับเซาะกราว". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "เจจู 0 - 1 บุรีรัมย์ : กรกชฮีโร่พาปราสาทเข้ารอบ 16 ทีม ACL ครั้งที่ 2 Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/features/ecchcchuu-0-1-buriiramy-krkchhiiorphaapraasaathekhaarb-16-thiim-acl-khrangthii-2-0#4OIcPTjmTU5lG4UW.99". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. line feed character in
|title=
at position 70 (help); External link in|title=
(help) - ↑ ""บุรีรัมย์" ทีมแรกจากไทยปักธงชัยที่เกาหลีใต้ACL". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 3-2 ชอนบุค : ปราสาทเปิดซิงทีมไทยชนะชอนบุค". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "ชอนบุค 2 - 0 บุรีรัมย์ : ปราสาทต้านไม่อยู่ตกรอบ 16 ทีม ACL Read more at https://www.fourfourtwo.com/th/features/chnbukh-2-0-buriiramy-praasaathtaanaimyuutkrb-16-thiim-acl#2mL7jCgtfAWkR4mP.99". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. line feed character in
|title=
at position 59 (help); External link in|title=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ 2- 1 ราชบุรี : ปราสาทประเดิมชัยไทยลีก 2018". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "เชียงราย 1 - 0 บุรีรัมย์ : ปราสาทเสียสถิติไร้พ่าย 31 นัด". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ 0-1 ชัยนาท : ปราสาทฯช็อกร่วงจ่าฝูง". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "http://www.goal.com/th/match/ประจวบ-v-บุรีรัมย์-ยูไนเต็ด/6dau7ovy8ezpkmojrcjott6cq". บุรีรัมย์บุกอัดประจวบ 2-1 คัมแบ็คจ่าฝูง. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. External link in
|title=
(help) - ↑ "แบงค็อก 1-1 ราชบุรี : "แข้งเทพ" สะดุดหยุดสถิติชนะรวด 11 นัด". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "บุรีรัมย์ฯ 2-0 โปลิศ เทโร : 'ปราสาทสายฟ้า' เข้าป้ายแชมป์ลีกหลังคว้าชัยเหนือมังกรโล่เงิน". โฟร์โฟร์ทู. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ "'บุรีรัมย์' พ่าย 'บางกอกกล๊าส เอฟซี' 1-2 ชวดเข้าชิงลีกคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
- ↑ ยลโฉมสนามไอ-โมบาย สเตเดียม อลังการมาตรฐานสุดจะบรรยาย
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2014. Select link to season required from chronological list.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|
|
|