การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง
![]() | บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
ชนวนเหตุ
|
ลำดับเหตุการณ์หลัก
|
พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง
|
องค์กร กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา
ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย
ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ[ต้องการอ้างอิง]) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส "ต้านทักษิณ" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน
การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
เนื้อหา
ประเด็นในการขับ[แก้]
- การต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ[1] ดังนี้
- หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ
- โกงกินชาติบ้านเมือง
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สำหรับกรณีของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริง สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลง การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้น มีคำสั่งจากศาลปกครองว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[2]
- การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- การทุจริตในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องสแกนสัมภาระซีทีเอกซ์
- การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุกคามสื่อ
- ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับ[3]
- ผลประโยชน์ทับซ้อน
- ทำผิดจริยธรรม
- รวยเพราะผูกขาดกีดกัน
- เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
- สถานการณ์ความไม่สงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- แปรรูปผิด ไม่รับผิด
- นโยบายการค้าเสรีกับต่างประเทศ
ลำดับเหตุการณ์[แก้]
เมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 มีการรวมตัวของ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ โดยมีแกนนำประกอบด้วย นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อัมรินทร์ คอมันตร์ พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม นายสมาน ศรีงาม นายประพันธ์ คูณมี นายเพียร ยงหนู ได้มีการชุมนุมปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547[4] และมีการจัดรายการวิทยุ ทางคลื่นวิทยุชุมชน FM 92.25 MHz ของนายประชัย และเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ของนายเอกยุทธ
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2548 เมื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เมื่อนายสนธิได้อ่านบทความเรื่อง ลูกแกะหลงทาง[ต้องการอ้างอิง] บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกะทันหัน โดยนายธงทอง จันทรางศุ บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน [5]
โดยการกระทำเช่นนี้ ถูกมองว่าอาจเป็นการคุกคามสื่อ และเป็นการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการปลดรายการว่าจาบจ้วงสถาบันฯ แม้ว่าผู้จัดรายการจะยืนยันว่าเนื้อความดังกล่าวเป็นการยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพูดถึงบางคนที่ไม่ฟังคำเตือนที่ปรารถนาดีของกษัตริย์ว่าเป็นลูกแกะหลงทางเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การปลดรายการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และสื่ออื่น ๆ ในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี
หลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 14 ในคืนวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2549 มีการเปิดตัวผู้สนับสนุนคือ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านหลายคน มีการเดินเท้าเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากสวนลุมพินีมาที่ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น[6] เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้รัฐบาลเริ่มเพ่งเล็งและมีมาตรการเด็ดขาดขึ้น

การชุมนุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พล.ร.ท. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายได้ระบุไว้ว่าให้ยกเว้นภาษี[7]

การชุมนุมครั้งถัดมาจัดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้นเนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม พร้อมได้เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก โดยมีแกนนำทั้งหมด 5 คน คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางโดยให้เหตุผลว่ามีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไปที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง
การชุมนุมที่สนามหลวงวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพล.ต. จำลอง ศรีเมือง ว่าจะนำเครือข่ายกองทัพธรรมและสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุม ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงเชิญพลตรีจำลองร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำด้วย การประกาศตัวของพลตรีจำลองเป็นสัญญาณว่าการชุมนุมนี้จะยืดเยื้อยาวนาน และสร้างความกังวลให้กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร[8] จนประกาศยุบสภาในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และได้มีการกำหนดเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549

มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สนามหลวงใช้ชื่อว่า "เอาประเทศไทยของเราคืนมา" สลับกับการเคลื่อนขบวนใหญ่เพื่อกดดันสองครั้ง ในคืนวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 จากสนามหลวงมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
และในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2549 จากสนามหลวงมาที่ทำเนียบรัฐบาลระหว่างมีการประชุมคณะรัฐมนตรี และย้ายการชุมนุมมาปักหลักบริเวณสี่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์สลับกับสี่แยกสวนมิสกวันและถนนพิษณุโลกช่วงข้างทำเนียบรัฐบาล ประมาณจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลประเมินว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณสองหมื่นคน ขณะที่ฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมได้ประเมินว่ามีผู้ร่วมชุมนุมราวหนึ่งแสนคน[9]
มีการเคลื่อนขบวนย่อยไปชุมนุมที่สถานที่ต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง สถานทูตสิงคโปร์ ถนนสีลม การชุมนุมครั้งสำคัญสืบเนื่องจาก การเคลื่อนขบวนจากสนามกีฬาแห่งชาติ มาบริเวณสยามสแควร์และถนนสุขุมวิท ในวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2549 จากนั้นแกนนำได้คิดที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันพุธที่ 29 มีนาคม 2549 การชุมนุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของการชุมนุมทางการเมืองศูนย์ธุรกิจหลักประเทศ เพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลในขณะนั้น และเป็นการชุมนุมที่สร้างความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องปิดทำการระหว่าง 29-30 มีนาคมพ.ศ. 2549เพราะรัฐบาลให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสรีและไม่มีการปะทะกันใดๆ ทั้งสิ้น[10]
หลังจากได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แล้ว กลุ่มผู้ที่ไม่ยอมรับในผลการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตยและพยายามผลักดันให้ยกเลิกการเลือกตั้งครั้งนั้น ได้มีการร้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเป็นโมฆะ นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นผลให้การเคลื่อนไหวต่อต้านนายกรัฐมนตรีรุนแรงมากขึ้น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 กิจกรรมต่อต้านนายกรัฐมนตรีเบาบางลงชั่วคราว เนื่องจากเป็นช่วงเดือนที่มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และในเดือนกรกฎาคม จึงมีการชุมนุม อภิปราย และสัมมนาขนาดย่อย ๆ อีกหลายครั้งโดยองค์การและสถาบันบางส่วนต่าง ๆ นายสนธิและนางสาวสโรชาได้กลับมาจัดการชุมนุมที่สวนลุมในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่าเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร "คอนเสิร์ตการเมือง" ในระหว่างนั้นมีคดีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา อันนำมาซึ่งคำพิพากษาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม[11] จนมีการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 วิรัช ชินวินิจกุล เลขานุการศาลฎีกา ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า เราต้องการให้ กกต.ทบทวนตัวเองอีกครั้ง[12]ก่อนการประชุมใหญ่ศาลฎีกาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549[13]ระหว่างที่ศาลได้มีคำตัดสินในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการเลือกตั้งหลายกลุ่มได้มาชุมนุมให้กำลังใจ จนเกิดกระทบกระทั่งกันกับกลุ่มฝ่ายตรงข้าม[14] และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาให้ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายรับโทษในกรณีหมิ่นศาล ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุและเว็บไซต์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งศาลได้ปิดตัวลง
ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ จำนวนประมาณ 20 - 30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คนเลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำร้ายร่างกายผู้ตะโกน 2 ราย[15], [16]
หลังจากเหตุการณ์ที่สยามพารากอน ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้มีการประชุมต่อเนื่องจากเหตุการณ์ทำร้ายกลุ่มผู้ต่อต้าน โดย ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกรัฐมนตรีใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน[17]
เหตุการณ์ยังคงไม่คลี่คลาย มาจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม ได้เกิดเหตุในลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ทั้งที่มีการวางกำลังตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขานายกรัฐมนตรี ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ เพราะเกรงว่าอาจถูกลอบสังหารตามที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รายงานมาก่อนหน้า หรือเกรงจะเกิดการปะทะซ้ำรอยเหตุการณ์ที่สยามพารากอน โดยได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัดทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทราบชื่อได้แก่ น.ส.วศุพร บุญมี นาย อิทธิพล สรวิษศกุล และนาย ขวัญชัย จุ้ยมณี[18] ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีและกลุ่มที่สนับสนุน บางส่วนของผู้ต่อต้านนายกฯ ถูกดำเนินคดีในข้อหารบกวนความสงบเนื่องจากเป็นต้นเหตุการก่อให้เกิดเสียงเอะอะรำคาญ[19] เหตุการณ์ทั้งสองถูกประณามว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้านนายกรัฐมนตรีน่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพราะเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด[20]
นอกจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว ยังมีเหตุการณ์ต่อต้านนายทักษิณโดยกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ รวมทั้งการรวมตัวครั้งใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2549 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส ต้าน"ทักษิณ" ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีในทันที มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ก่อนจะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯและเครือข่าย โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศยุติการชุมนุมทันที ทั้งที่ได้มีการนัดหมายกันในวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานพระรูป เนื่องจากมีการทำรัฐประหารเป็นที่เรียบร้อยแล้วและอาจจะเป็นการไม่ปลอดภัย
ลักษณะกิจกรรมการต่อต้าน[แก้]
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมสร้างและเผยแพร่ทฤษฎี "ปฏิญญาฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยและก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมสร้างทฤษฎีไม่เคยแสดงหลักฐานแต่อย่างใดเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีสมคบคิดนี้มีจริง ส่วนตัว พ.ต.ท. ทักษิณ นั้นได้ปฏิเสธเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากที่ปฏิวัติยึดอำนาจไว้ได้ ก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือสอบสวนรายละเอียดของแผนฟินแลนด์แต่อย่างใด[21][22][23]
การชุมนุมในแต่ละครั้งของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสริมบรรยากาศในการชุมนุม เช่น การแสดงดนตรี การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ การละเล่นและบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ละครศาลจำลอง การนำบุคคลต่าง ๆ และแขกรับเชิญนอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพือประชาธิปไตยมาสัมภาษณ์ รายการเสียงจากประชาชน (การพูดปราศรัยสั้น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไปที่อาสาขึ้นเวที) กิจกรรมเกมส์ต่อต้านระบอบทักษิณ และกิจกรรมระดมทุน รับบริจาคและขายของที่ระลึก เป็นต้น ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในการประชุม ได้แก่ ผ้าพันคอและผ้าโพกศีรษะสีเหลือง/ขาวที่สกรีนข้อความ "กู้ชาติ" ผ้าผูกข้อมือ เสื้อยืด เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ แฮนด์บิลล์ ซีดีเพลง บันทึกรายการในแต่ละครั้ง และอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละกลุ่ม บทเพลงยอดนิยมที่ผู้แต่งเพลงนิรนามส่งมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เปิด มีหลายบทเพลง เป็นบทเพลงที่บรรยายความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณ และมีเนื้อหารุนแรง เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือเพลง ไอ้หน้าเหลี่ยม[ต้องการอ้างอิง]
ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม ได้มีปรากฏการณ์การต่อต้านทางสังคมเกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่ อาทิ เจ๊ไก่ ออกมาตะโกนขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[24]
กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่องอหิงสาและอารยะขัดขืน และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการพยายามยับยั้งไม่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" การกาด้วยปากกาแดง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิได้กล่าวว่าการฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือการกรีดเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อกาบัตรลงคะแนนโดยนายยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ[25]
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ จากหลายกลุ่มองค์กร เช่น[ต้องการอ้างอิง]
- กิจกรรมต่อต้านทางสังคม ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ
- กิจกรรมสัมมนา เวทีอภิปรายในสถานศึกษา หรือถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ 92.25, 97.75 และเอเอสทีวี
- การจัดทอล์คโชว์ เช่น แผนลอบสังหารท่านผู้นำของผม ที่ล้มเหลวและน่ารำคาญ โดย นายจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ ซูโม่ตู้
- การเรียกร้องขอให้ข้าราชการอย่าทำตามคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมของนักการเมือง โดยเครือข่ายเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆตามแนวทางอหิงสา (จากการประชุมเครือข่ายครั้งใหญ่ ในวันที่ 2 กันยายน 2549) [26] ได้แก่
- เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาดทันที เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรตรวจสอบเข้ามาพิสูจน์ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่มีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ
- เรียกร้องให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐคำนึงถึงศักดิ์ศรีว่ามิใช่ข้าพนักงานของบริษัทรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม
- เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้เคารพกราบไหว้บุคคลผู้ไร้สัตย์ อย่าต้อนรับ อย่าให้ความสำคัญกับบุคคลประเภทนี้ไม่ว่าบุคคลประเภทนี้จะไปปรากฏกาย ณ สถานที่ใดๆ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านและประท้วงโดยสันติทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องจนกว่า พ.ต.ท. ทักษิณจะยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาด ทำกิจกรรมที่เน้นหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่จะใช้ความอดทน เช่น
- การเดินขบวนเรียกร้อง จนกว่าจะขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ
- ไม่อยากให้มีการตะโกนไล่ แต่อยากเห็นคนไทยไม่ต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อพบเห็นก็รวมกลุ่มกันหัวเราะไล่ผู้นำดีกว่าการใช้ความรุนแรง
- ไม่สนับสนุนหรือซื้อสินค้าของบริษัท ห้างร้าน ที่เชื่อว่าสนับสนุนระบอบทักษิณ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น ไทยแอร์เอเชีย เป็นต้น
องค์กรและกลุ่มบุคคลที่ออกมาร่วมขับ[แก้]
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- กลุ่มนักเรียนนักศึกษาในต่างประเทศ (petition 49) [27]
- กลุ่มแรงคิด ต้นกล้าประชาธิปไตย
- ศูนย์ประสานงานนักเรียนนิสิตนักศึกษา (ศนศ.) [[1]]
- องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
- เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปทางการเมือง[[2]]
- กลุ่มนักศึกษานิด้าเพื่อประชาธิปไตย [28]
- คณาจารย์ ม.ศิลปากร [29]
- สภาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- กลุ่มนิสิตนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา
- สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยทักษิณ
- กลุ่มนักเรียนเพื่อประชาธิปไตย [30]
- สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย [31]
- กลุ่มแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดีและมหาวิทยาลัยมหิดล
- กลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ [32]
- กลุ่มสถาปนิกฯ [33]
- สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [34]
- สหพันธ์ศิลปินเพื่อชีวิต เพื่อประชาชนภาคใต้ [35]
- สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) [36]
- กลุ่มวิชาการเพื่อสังคม จังหวัดขอนแก่น [37]
- เครือข่ายประชาชนขอนแก่นเพื่อประชาธิปไตย [38]
- กลุ่มประชาธิปไตยประชาชน [39]
- เครือข่ายกองทัพธรรม
- สันติอโศก
- กลุ่มนักเรียนมงฟอร์ตต่อต้านทักษิณ
- กลุ่มคณาจารย์และศิษย์เก่าจุฬาฯ - เครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย (จคป.)
- สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ [40]
- กลุ่มราชนิกุล และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 95 คน ยื่นฎีกาเพื่อให้โปรดเกล้าฯรัฐบาลพระราชทาน ตาม มาตรา 7 นำโดยนายชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย [41]
- สมัชชาคนจน[42]
- เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 [43]
- ชมรมนักศึกษานิเทศศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต [44]
- คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และพันธมิตร 11 เครือข่าย [45]
- กลุ่มนักเรียนไทยในรัฐฮาวาย`อิ [46]
- กลุ่ม เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ นำโดย ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เว็บไซต์ของกลุ่ม
- กลุ่มบุคคลพรรคถวายจริง นำโดย จรัสพงษ์ สุรัสวดีหรือซูโม่ตู้ เว็บไซต์ของกลุ่ม
- กลุ่มบุคคลหลากหลาย ที่โดนออกหมายจับในกรณีออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและโจมตีนายกรัฐมนตรี [47]ประกอบด้วย
- นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร
- นายอวยชัย วะทา อดีตผู้สมัคร ส.ว.มหาสารคาม ในฐานะประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูภาคอีสาน
- นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สร.กฟน.) และรองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
- นายสุวิทย์ วัดหนู สมาชิกองค์กรสลัมเพื่อประชาธิปไตย
- นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน
- นายศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสมาพันธ์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.)
- น.ส. รสนา โตสิตระกูล ว่าที่ ส.ว.กทม.
- นายการุณ ใสงาม รักษาการ ส.ว.บุรีรัมย์
- กลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อ ปลุกกระแสต้าน"ทักษิณ" เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2549 ที่หน้าพระบรมรูป 2 รัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยกลุ่มดังต่อไปนี้ (บางกลุ่มเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวมาก่อนหน้านี้แล้ว) [48]
- กลุ่มจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย (จคป)
- ชาวอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ใฝ่หาจริยธรรมทางการเมือง
- เครือข่ายอาจารย์และบุคลากร มศว เพื่อประชาธิปไตย
- เครือข่ายวิชาการเพื่อประชาธิปไตย
- เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคม
- กลุ่มพี่น้องมหิดล
- กลุ่มผู้รักประชาธิปไตยศาลายา
- กลุ่มวิชาการเพื่อสังคม ขอนแก่น
- เครือข่ายแพทย์พยาบาลเพื่อประชาธิปไตย
- เครือข่ายเภสัชกรเพื่อสังคม
- ชมรมเภสัชชนบท
- ชมรมพยาบาลชุมชน
- กลุ่มมหาสารคามรวมพลคนไล่หน้าเหลี่ยม
- นิด้าพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย
- คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (U-MDC)
- สถาบันภาษามหาวิทยาลัยทักษิณ
- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
- สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยทักษิณ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนก่น
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- ประชาชน จ.มหาสารคาม
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยวันศุกร์
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
- โรงพยาบาลแก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา
- โรงพยาบาลขนอม
- โรงพยาบาลเชียงกลาง จ.น่าน
- โรงพยาบาลทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
- โรงพยาบาลปลาปาก จ.นครพนม
- โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา
- โรงพยาบาลสูงเนิน จ.นครราชสีมา
- นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก
- สมาคมศิษย์เก่าเล่าปัง
บุคคลมีชื่อเสียงที่ออกมาร่วมขับ[แก้]

- พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
- สนธิ ลิ้มทองกุล
- ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
- สมณะโพธิรักษ์
- สุริยะใส กตะศิลา
- สมศักดิ์ โกศัยสุข
- เสนาะ เทียนทอง
- ประมวล รุจนเสรี
- อภิชาติ หาลำเจียก
- อภิชาติ ดำดี
- อุทัย พิมพ์ใจชน
- พ.อ.วินัย สมพงษ์
- น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
- คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
- การุณ ใสงาม
- พิเชฐ พัฒนโชติ
- ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร
- รสนา โตสิตระกูล
- สุภิญญา กลางณรงค์
- สาวิทย์ แก้วหวาน
- อัญชะลี ไพรีรัก
- คุณหญิงวิจันทรา บุนนาค
- หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี
- หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล
- นางสุมาลี วีระไวทยะ
- นางตวงทิพย์ วีระไวทยะ
- นางปราไพ ปราสาททองโอสถ
- นางสาวกชวรรณ ชัยบุตร เลขาธิการสนนท.
ศิลปินเพลง[แก้]
- คาราวาน
- พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
- พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
- แฮมเมอร์
- มาลีฮวนน่า
- ซูซู
- สีเผือก คนด่านเกวียน
- สิบล้อ
- วสันต์ สิทธิเขตต์
- สุนทรี เวชานนท์
- โฮป แฟมิลี่
- ประทีป ขจัดพาล
- อพาร์ตเมนต์คุณป้า
- นรเศรษฐ หมัดคง (ดีเจซี้ด )
- จ๊อบ บรรจบ
- อ๊อด คีรีบูน
- วงสิชล
- ณัฐ ยนตรรักษ์
- ซาซ่า
นักวิชาการ[แก้]
- ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช
- ศ.ดร. ปราโมทย์ นาครทรรพ
- ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ
- รศ.ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
- รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา
- รศ.ดร. สมยศ เชื้อไทย
- รศ.ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
- รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์
- ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา
- ผศ.ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
- รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค
- ดร. แก้วสรร อติโพธิ
- รศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร
- รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย
- ผศ.น.พ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์
- ดร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
ดารานักแสดง[แก้]
- ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
- พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
- วรรณพร ฉิมบรรจง
- ดี๋ ดอกมะดัน
- จรัสพงษ์ สุรัสวดี (ซูโม่ตู้) [49]
- ณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม
- สนธยา ชิตมณี (สน เดอะ สตาร์)
- ลานนา คัมมินส์
นักคิด นักเขียน[แก้]
การเคลื่อนไหวของสังคมออนไลน์[แก้]
- thaksingetout.org การรณรงค์ให้เจ้าของเว็บไซต์ร่วมแสดงจุดยืนในการขับ โดยคาดแถบข้อความว่า "Thaksin Get Out"
- มีการถ่ายถอดเสียงการชุมนุมขับผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ เช่น สถานีวิทยุประชาชน 92.25 Mhz หรือ fm9225.net[50], สถานีวิทยุผู้จัดการ (คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน) 97.75 Mhz หรือ managerradio[51] และมีการถ่ายถอดเสียงการต่อต้านการชุมนุมขับและให้กำลังใจโดย FM 94.25 คลื่นคนรักชาติ
- มีการรณรงค์ต่อต้านการแสดงความเห็นลักษณะสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในเวบบอร์ดยอดนิยมพันทิป.คอม ห้องการเมืองที่ใช้ชื่อว่าราชดำเนิน โดยกลุ่มสมาชิกราชดำเนินกลุ่มหนึ่ง มีจำนวนกว่า 300 คน ได้จัดตั้งเวบบอร์ดขึ้นมาใหม่เป็นเวทีพูดคุยแทนห้องราชดำเนิน โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ด[52] ในทางกลับกัน ก็มีกลุ่มสมาชิกราชดำเนินอีกกลุ่มที่คัดค้านการต่อต้านและให้กำลังใจโดยใช้ชื่อกลุ่มว่าชื่อกลุ่ม รักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก[53] มีสมาชิกร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนประมาณกว่า 1,500 คน และอีกกลุ่มที่ต่อต้านการขับนี้ที่ชื่อกลุ่ม ฅนผ่านฟ้ารักษาประชาธิปไตย[54] เน้นตรวจสอบสื่อ สมาชิกประมาณ 300 คน มีแกนนำบางคนมาจากกลุ่มรักเมืองไทยฯ
- ในช่วงก่อนวันเสาร์อาทิตย์ที่ 29-30 สิงหาคม 2549 ได้มีเหตุการณ์วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม เกี่ยวเนื่องกับกรณีคดี กกต. ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และการสนับสนุนให้ทั้งทักษิณและกกต. ให้ทำงานต่อ ทำให้เว็บบอร์ดต้องปิดตัวชั่วคราวระหว่างวันสุดสัปดาห์ 2 วันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้งและกระทู้ที่หมิ่น / ละเมิดอำนาจศาล และเปิดทำการใหม่ตามปรกติในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม[ต้องการอ้างอิง]
- เว็บไซต์ เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ[55] ได้มีการเชื้อเชิญให้ติดแผ่นป้ายต่อต้าน เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนโดยสันติวิธี
- เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์ของ The Reporter[56] ได้จัดรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิล โดยมีโครงการเริ่มต้นที่ UBC9 (TATV-โทรทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวทาง UBC) แต่ต่อมาอ้างว่ามีความขัดข้องทางเทคนิค แล้วย้ายมาจัดทางอินเทอร์เน็ตแทนที่นี่แทน รายการที่ได้รับการประชาสัมพันธ์และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จัดโดย นายสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ เนื้อหาเป็นการสนทนาปัญหาบ้านเมืองในแนวทางสนับสนุนและต่อต้าน เนื่องจากกลุ่มนี้เชื่อว่าส่วนใหญ่บิดเบือนและให้ร้ายต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ
- วันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหาร เว็บไซต์ที่สนับสนุนทักษิณ ถูกปิดกั้นทั้งหมด รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ MV1 และเว็บไซต์ของพรรคไทยรักไทย และได้มีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ให้กระทรวง ICT ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร[ต้องการอ้างอิง]
การคุกคามสื่อระหว่างเหตุการณ์[แก้]
ได้มีบางส่วนของกลุ่มคาราวานคนจนมาชุมนุมบริเวณด้านหน้าของสำนักงานหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เนื่องจากมีการตีพิมพ์ข่าวไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหมิ่นเบื้องสูง โดยอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอการให้สัมภาษณ์[57] จากการออกมาปฏิเสธของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปจนถึงขั้นมีเหตุการณ์ชุลมุน และในเวลาต่อมาไม่นาน ได้มีกลุ่มขบวนรถมอเตอร์ไซด์หลายร้อยคันไปชุมนุมที่บ้านพระอาทิตย์ สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการในวันเดียวกัน แต่การชุลมุนก็จบลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด
กลุ่มที่มีความเห็นตรงข้ามกับการชุมนุม[แก้]
กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม[แก้]
กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม นำโดยกลุ่มคาราวานคนจนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนพลโดยรถอีแต๋นและเดินเท้ามาจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาปักหลักที่บริเวณสวนจตุจักร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้มีการสมทบกับ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร นักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงเรื่องการอดอาหารประท้วงในครั้งนี้ด้วย ร.ต. ฉลาด วรฉัตร กล่าวว่าจะทำการแขวนคอตายหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
กลุ่มที่ชื่นชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[แก้]
กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ และกลุ่มอื่น ๆ ที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการทางการเมือง ตามแนวทางประชาธิปไตย แบบที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำไป และเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดีที่สุด มีหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น กลุ่มผู้มาให้กำลังใจมอบดอกกุหลาบแดงให้ในหลายวาระ รวมทั้งการรวมพลปราศรัยครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549
กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น
- รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ (อาจารย์แม่) อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- พ.ต.ท. สำเนียง ลือเจียงคำ รองผู้กำกับสืบสวนสอบสวน สภ.อ.เมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ผู้ฟ้องร้องนายสนธิและนางสาวสโรชา[58]
- กลุ่มผู้ให้บริการแทกซี่/กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้างบางส่วน
- กลุ่มชาวบ้านจากจังหวัดในภาคเหนือบางส่วน [59]
- กลุ่มนักธุรกิจ ในเครือซีพี
- กลุ่มรักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก [3] (รวมตัวกันจากห้องราชดำเนิน พันทิป.คอม — แต่ไม่ใช่ตัวแทนของห้องราชดำเนิน)
- กลุ่มคนผ่านฟ้า [4]
- กลุ่มวายุภักษ์ รักษ์แผ่นดิน [5]
- หมอดูอีที ชาวพม่า
- คลื่นวิทยุ Wisdom Radio FM 105 Mhz, FM.94.25 Mhz โดยเฉพาะช่วง รายการ "เปิดแฟ้มความคิด" โดย นายมังกรดำ หรือนายธรชัย ศักดิ์มังกร และปกภูมิ เดชดีหนูแก้ว ซึ่งต่อมาได้ถูกปิดรายการลงหลังจากมีกรณีหมิ่นศาล[60]
- รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปค (ฝ่ายสัมมนาและเผยแพร่) เจ้าของแนวความคิด "ไม่เลือกทักษิณ หรือจะเลือกทุนนิยมล้าหลัง?"[61]
- นายเทพพนม ศิริวิทยารักษ์ ประธานสมัชชาภาคอีสานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และในฐานะแกนนำ ผู้ประสานนำตัว 16 ผู้สนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในกรณีเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล[62]
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสถียร วิพรมหา อาจารย์จากมหามกุฏราชวิทยาลัย เลขาธิการเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และแกนนำ ผู้สนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้งอีก 14 คน ที่ต้องโทษกรณีหมิ่นศาล
- นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกลุ่มบุคคลผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการการเลือกตั้ง 12 คน
- นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ และขัดแย้งกับกลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ ในกรณีพิพาท เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม จากกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณถูกต่อต้านที่สยามพารากอน
- นายมงคล เสมอภาพ แกนนำ กลุ่มรักสันติสามัคคีเพื่อประชาธิปไตย ราว 100 คน เป็นกลุ่มที่จะชุมนุมให้กำลังใจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทุกวันตามสถานที่สำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร[63]
- ฯลฯ
ผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมเนื่องจากได้รับความเดือดร้อน[แก้]
สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ เห็นพ้องว่า การที่มีการชุมนุมขนาดใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งยาวนานต่อเนื่องกลางกรุงเทพมหานครนั้น เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาจราจรทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้เศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศหยุดชะงักลง และเศรษฐกิจภายในประเทศหยุดการเติบโต ทั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการขาดเสถียรภาพ การโจมตีรัฐบาลในบางครั้งสื่อผู้จัดการนั้นกล่าวหาอยากเกินจริง อาทิการพาดหัว ทักษิณโกหกหน้าวัดพระแก้ว ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับฝ่ายถูกกล่าวหา รวมถึงการพูดด้วยถ้อยคำไม่สุภาพบนเวทีปราศัย อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ต้องการเป็นข่าวออกมาชุมนุม เพื่อให้ตัวเองได้ออกหนังสือพิมพ์ การชุมนุมจึงมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอีกด้วย
ดูเพิ่ม[แก้]
- การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
- กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
- เทียนแห่งธรรม
- บทวิเคราะห์จำนวนผู้ร่วมขับ จาก fringer.org ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3
รวมวิดีโอการปราศรัย[แก้]
รวมวิดีโอการปราศรัยที่ท้องสนามหลวง จากเว็บหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
- รวมคลิปเสียงการปราศรัย วันที่ 20 มีนาคม 2549
- รวมคลิปวิดีโอการปราศรัย วันที่ 24 มีนาคม 2549
- รวมคลิปวิดีโอการปราศรัย วันที่ 25 มีนาคม 2549
- ปราศรัยโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
- รวมวิดีโอคลิป สีสัน กู้ชาติ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ, แก้วสรร อติโพธิ
- ↑ คำสั่งศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ
- ↑ เว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายฯ
- ↑ http://www.nationweekend.com/2006/10/06/NW11_124.php?SecId=NW11&news_id=21759950
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9480000136574 อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=sunday&post_date=15/Jan/2549&news_id=118686&cat_id=110200 อ้างอิงเว็บไซต์ไทยโพสต์
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/2006/01/23/w001_70619.php?news_id=70619 อ้างอิงเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ อ้างอิง เว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ http://tnews.teenee.com/politic/1030.html
- ↑ ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน
- ↑ จับตา! สั่งคดีพรุ่งนี้-ศาลฎีกาถก 31 พ.ค.แย้มท่าทีคว่ำบาตร 3 กกต.
- ↑ เมื่ออดีตไล่ล่าประธาน กกต. “วาสนา เพิ่มลาภ” จำคุก 2 ปี จากวิกฤตเลือกตั้ง ปี 2549…ผมเป็นแพะบูชายัญ
- ↑ อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ https://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=25565
- ↑ ข่าวจากมติชนรายวัน 20 สค.49 เจอตะโกนไล่คา"พารากอน" สั่งรวบรวมหลักฐานเอาผิด
- ↑ ข่าว"ทรท."ปูดฝ่ายต้าน"แม้ว" มีแผนฆ่า! รุมประณามรปภ.นายกฯ จากมติชน 21 สค.49
- ↑ https://prachatai.com/journal/2006/08/9387
- ↑ ข่าวโดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2549 18:33 น.
- ↑ ประมวลข่าวแก๊งค์เชลียร์แม้ว
- ↑ The Nation,"'Finland plot' on dangerous ground", 25 May 2006 (อังกฤษ)
- ↑ The Nation, "Burning Issue: Finland, monarchy: a dangerous mix", May 25, 2006 (อังกฤษ)
- ↑ The Bangkok Post, "Manager sued for articles on 'Finland plot'", 31 May 2006 (อังกฤษ)
- ↑ เว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ อ้างอิงข่าวมติชน, มติชน, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
- ↑ ข่าวมติชน 92"หมอ-เภสัช-อจ."จี้"แม้ว" วางมือทันที! ปลุกชาวบ้านเลิก"ต้อนรับ"
- ↑ ข่าวจาก The Nation
- ↑ แถลงการณ์ของกลุ่มนักศึกษานิด้าเพื่อประชาธิปไตย
- ↑ ข่าวแถลงการณ์คณาจารย์ ม.ศิลปากร หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
- ↑ แถลงการณ์จำนวน 14 ข้อ ไม่เห็นชอบกับการดำรงตำแหน่งของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร
- ↑ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ประกาศจุดยืนชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตร
- ↑ แถลงการณ์ของกลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ
- ↑ แถลงการณ์ หยุดระบอบทักษิณ ของกลุ่มสถาปนิกฯ
- ↑ แถลงการณ์ - เรียกร้อง"ทักษิณ"ลาออก
- ↑ แถลงการณ์ สหพันธ์ศิลปินเพื่อชีวิต เพื่อประชาชนภาคใต้
- ↑ แถลงการณ์ไล่ทักษิณ ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
- ↑ แถลงการณ์ กลุ่มวิชาการเพื่อสังคม จังหวัดขอนแก่น
- ↑ แถลงการณ์ ทักษิณต้องออกไป ของเครือข่ายประชาชนขอนแก่นเพื่อประชาธิปไตย
- ↑ แถลงการณ์ หยุดระบอบทักษิณ ของกลุ่มประชาธิปไตยประชาชน
- ↑ สภาอาจารย์ มอ.แถลง ขอเป็นข้าราชการของในหลวง-ไม่อยู่ภายใต้ระบอบทักษิณ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2549 17:20 น.
- ↑ ข่าวการยื่นฎีกาเพื่อให้โปรดเกล้าฯรัฐบาลพระราชทาน ตาม มาตรา 7
- ↑ แถลงการณ์ - ทักษิณต้องออกไป ปฏิรูปการเมืองใหม่เพื่อคนจน ณ เวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สวนมิสกวัน
- ↑ แถลงการณ์ - ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อต้านนายกฯ ที่มาจากการแต่งตั้งและกระบวนการนอกรัฐสภา สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน
- ↑ แถลงการณ์ - เรื่องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยด่วน
- ↑ กป.อพช. สนับสนุนการชุมนุมแสดงออกให้นายกทักษิณลาออกจากตำแหน่งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธี
- ↑ จดหมายเปิดผนึก ถึงประธานรัฐสภา ฉบับที่ 1 กรณีการชุมนุมปฏิเสธรัฐบาลทักษิณ วันที่ 4 ก.พ. 49
- ↑ ข่าวพันธมิตรโวยถูกสกัดเคลื่อน ขอจับ8แกนนำ จากมติชน 30สค.49
- ↑ ข่าวมติชน เปิด92ชื่อ-43องค์กร ไม่เอา"ทักษิณ" 3 กย.49
- ↑ ทอล์คโชว์ - คอนเสิร์ท พี่ตู้ จรัสพงษ์ สุรัสวดี ตอนแผนลอบสังหารท่านผู้นำของผมที่ล้มเหลวและน่ารำคาญ
- ↑ http://www.fm9225.net
- ↑ http://www.managerradio.com
- ↑ เว็บไซต์ของขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ด
- ↑ เว็บไซต์กลุ่มรักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก
- ↑ เว็บไซต์ของฅนผ่านฟ้า
- ↑ http://www.StopThaksin.com
- ↑ http://www.1reporter.tv/
- ↑ คลิปวิดีโอ
- ↑ ข่าว‘ผบช.ภ.3’ เรียกประชุมชี้มูลคดีแจ้งจับ “สนธิ” 17 พ.ย.นี้ จาก นสพ.ผู้จัดการ 14 พย.48
- ↑ ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ 3มีค 49 กลุ่มเชียร์'ทักษิณ'จากเหนือ รวมตัวลานพระรูป
- ↑ ข่าว'มังกรดำ' ชิ่ง 105 ชี้เหตุปล่อยคนด่าศาลหลังส่งกกต.เข้าคุก จากผู้จัดการ
- ↑ บทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ 9-10 มีนาคม 2549
- ↑ ข่าว“ทนายแม้ว-ทีมหมิ่นศาล” จ๋อย! เข้ารายงานตัวตามหมายเรียกแล้ว โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2549
- ↑ ข่าวมติชน 30 สค 49