สโมสรฟุตบอลทหารบก
ชื่อเต็ม | ทหารบก เอฟซี | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ตรากงจักร | ||
สนาม | มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี | ||
เจ้าของ | บริษัท อาร์มี่ ฟุตบอล จำกัด | ||
ประธาน | พล.ต.เกษม เบญจนิรัติศัย | ||
ผู้จัดการ | พ.อ.สมสกุล วิจิตรภาพ | ||
ผู้ฝึกสอน | ร.ท.ชัยวัฒน์ นาคเอี่ยม | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 9 | ||
|
สโมสรฟุตบอลทหารบก (ทหารบก เอฟซี) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก
โดยสโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบกในอดีต เคยสร้างผลงานคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ในปี พ.ศ. 2542 และได้ตำแหน่งรองแชมป์ในการแข่งขันไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2551 ต่อมาได้มีการพักสโมสร และโอนผู้เล่นให้กับทาง สโมสรฟุตบอลทหารบก ในปี 2552 ก่อนที่จะกลับมาส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้งในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี พ.ศ. 2553 และสามารถกลับเข้าสู่ระบบลีกอาชีพได้ ด้วยการเป็นแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ประจำปี พ.ศ. 2557 ทำให้ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2อีกครั้งหนึ่ง
ในฤดูกาล 2558 หลังจากที่ได้กลับเข้ามาเล่นในดิวิชั่น 2 สโมสรได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นทหารบก เอฟซี โดยใช้สัญลักษณ์แบบเดิมของสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ดเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของสโมสร
ประวัติ
[แก้]ยุคกรมสวัสดิการทหารบก
[แก้]สโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.) ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการระดับสมัครเล่นอย่างฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และสามารถคว้าแชมป์ได้ในปี 2542 จากนั้นได้ขึ้นมาเล่นในไทยลีก ดิวิชัน 2 และสามารถคว้านำแหน่งรองแชมป์ไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2551 แม้จะได้เลื่อนชั้นไปสู่ไทยลีก ดิวิชัน 1 แต่ยังไม่ทันได้ลงแข่งก็มีการพักการแข่งขัน และโอนผู้เล่นที่อยู่ในการดูแลไปให้กับทางไปรวมกับสโมสรฟุตบอลทหารบก (เดิม) ที่ขณะนั้นลงแข่งขันในดิวิชั่น 1 อยู่เช่นกัน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยภายหลังจากที่สโมสรทหารบก ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก กรมสวัสดิการทหารบก ก็กลับมาส่งทีมลงแข่งขันอีกครั้งในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ปี 2553 เป็นต้นมา
ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2557 สโมสรภายใต้การคุมทีมของ พ.ท.ขวัญ รัตนรังษี ประสบความสำเร็จเมื่อผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ไปพบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามศุภชลาศัย สโมสรสามารถเอาชนะไปได้ 3-1 คว้าแชมป์และเลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในระดับดิวิชัน 2ได้สำเร็จ[1]
ทหารบก เอฟซี
[แก้]หลังจากคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ทำให้สโมสรได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ในโซนกรุงเทพและภาคกลาง และได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์และชื่อสโมสรใหม่เป็น ทหารบก เอฟซี
โดยทหารบก เอฟซี ลงแข่งขันภายใต้ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ในการแข่งขัน โตโยต้า ลีกคัพ 2558 รอบเพลย์ออฟที่พบกับสโมสรฟุตบอลปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด ที่สนามกีฬาพัฒนาสปอร์ต คลับ โดยสโมสรเอาชนะไปได้ 4-2 และเข้าถึงรอบ 64 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ส่วนการแข่งขันในลีกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 ในโซนกรุงเทพและภาคกลาง
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทำเนียบผู้ฝึกสอน
[แก้]ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง |
---|---|---|---|
พ.ท.ขวัญ รัตนรังษี | ไทย | มกราคม พ.ศ. 2557 | มกราคม พ.ศ. 2559 |
จ.ส.อ.แมน จันทนาม | ไทย | มกราคม พ.ศ. 2559 | ธันวาคม พ.ศ. 2559 |
ร.ท.อดุลย์ ฉำแสง | ไทย | มกราคม พ.ศ. 2560 | สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
จ.ส.อ. ยุทธนา แสนศักดิ์ | ไทย | สิงหาคม พ.ศ. 2562 | สิงหาคม พ.ศ. 2563 |
ร.ท.ชัยวัฒน์ นาคเอี่ยม | ไทย | สิงหาคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน
[แก้]เสื้อ | ผู้สนับสนุน | ช่วงปี |
---|---|---|
กีล่า สปอร์ต | เบียร์ช้าง | 2558-ปัจจุบัน |
เกียรติประวัติ
[แก้]- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.
- แชมป์ (2542) ,ในชื่อกรมสวัสดิการทหารบก
- ไทยลีก ดิวิชัน 2
- รองแชมป์ (2551) ,ในชื่อกรมสวัสดิการทหารบก
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.
- แชมป์ (2557) ,ในชื่อกรมสวัสดิการทหารบก
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | ||||
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
20 | 5 | 7 | 8 | 18 | 33 | 22 | อันดับที่ 10 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | นิพนธ์ คำทอง ศาสตรา โพธิ์คำ อติกันต์ เกาะแก้ว |
3 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
26 | 7 | 12 | 7 | 24 | 23 | 33 | อันดับที่ 9 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | คริษมายย์ ซึ้งตระกูลชัย นพดล กาแสน |
4 |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
26 | 8 | 6 | 12 | 25 | 39 | 30 | อันดับที่ 9 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | สุรัตน์ สุริยะฉาย | 7 |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
26 | 5 | 6 | 15 | 27 | 59 | 21 | อันดับที่ 9 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | รุ่งศักดิ์ คชรักษ์ สุกฤษฏ์ ขุนอินทร์ธานี |
4 |