พรรคกิจประชาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคกิจประชาคม
หัวหน้าบุญชู โรจนเสถียร
เลขาธิการอาทิตย์ อุไรรัตน์
ก่อตั้ง23 สิงหาคม พ.ศ. 2525
ถูกยุบ14 เมษายน พ.ศ. 2532
ยุบรวมกับพรรคเอกภาพ
สีสีเหลือง
สภาผู้แทนราษฎร
14 / 357
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
ตราสัญลักษณ์ของพรรคประชาราษฎร์
ตราสัญลักษณ์เดิมของพรรคกิจประชาคม

พรรคกิจประชาคม หรือชื่อเดิม พรรคประชาราษฎร์ พรรคการเมืองที่จดทะเบียนลำดับที่ 10/2525 จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีนาย ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นเลขาธิการพรรค[1] ก่อนหน้านั้นเป็นการรวมตัวกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 เป็นกลุ่มการเมือง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง ส่งผลให้มีการยกเว้นการบังคับเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้คำว่า "กลุ่มการเมือง" เป็นการเรียกอย่างไม่เป็นทางการ[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นหัวหน้าพรรคในระยะสั้นๆ ก่อนที่นาย บุญชู โรจนเสถียร อดีตเลขาธิการ พรรคกิจสังคม จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ [3]

พรรคกิจประชาคม มีมติยุบพรรคเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2532 พร้อมกับพรรคก้าวหน้า ของนาย อุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนาย เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ไปรวมกับพรรครวมไทย ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532[4]

คณะกรรมการบริหารพรรค[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

เลขาธิการพรรค[แก้]

การเลือกตั้ง[แก้]

ยุคกลุ่มการเมืองประชาราษฎร์[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 7 ที่นั่ง จากภาคอีสานทั้งหมด[7]


ยุคพรรคกิจประชาคม[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 พรรคกิจประชาคม ได้รับเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 15 ที่นั่ง ต่อมานายแคล้ว นรปติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พ้นจากตำแหน่ง[8] โดยในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เป็นผู้สมัครจากพรรคราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่นี้ ส่งผลให้พรรคกิจประชาคม มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 14 ที่นั่ง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
กลุ่มประชาราษฎร์
2522
7 / 301
เพิ่มขึ้น 7 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
พรรคกิจประชาคม
2529
15 / 347
เพิ่มขึ้น 8 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน บุญชู โรจนเสถียร
2531
9 / 357
ลดลง 6 ที่นั่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาราษฎร์ พรรคแรงงานประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
  2. ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 วันที่ 22 เมษายน 2522 ออนไลน์ : สถาบันพระปกเกล้า
  3. 3.0 3.1 3.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาราษฎร์ ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคกิจประชาคม และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่)
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง ตามนัยมาตรา ๔๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
  5. 5.0 5.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคกิจประชาคมเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  8. คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ ๑/๒๕๒๙ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๙ เรื่อง การสิ้นสุดแห่งสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (กรณี นายแคล้ว นรปติ)