ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2501
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
เสียชีวิต13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (57 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย
เอกภาพ
ไทยรักไทย
พรรคพลังประชาชน
ภูมิใจไทย[1]
คู่สมรสกิ่งกาญจน์ ตั้งศรีเกียรติกุล

ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 5 สมัย สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน[2] และเป็นคนสนิทและเป็นเพื่อนรักของ เนวิน ชิดชอบ[3][4]

ประวัติ[แก้]

ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล หรือ "กำนันเม้ง" เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2501 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นายประสิทธิ์ สมรสกับนางกิ่งกาญจน์ ตั้งศรีเกียรติกุล

ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล เสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพัฯนธ์ พ.ศ. 2558 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558[5]

การทำงาน[แก้]

ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประกอบธุรกิจฟาร์มไก่ และโรงพยาบาลเอกชน[6] เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ร่วมทีมกับ เนวิน ชิดชอบ และทรงศักดิ์ ทองศรี สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งยกทีม ส่งผลให้เขาเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ร่วมกับนายเนวิน และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2

ในปี 2540 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม ร่วมทีมกับกรุณา ชิดชอบ และศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในนามพรรคชาติไทย ในปี 2545 เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเนวิน ชิดชอบ) และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2547 หลังจากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยทั้ง 3 คน และได้รับเลือกตั้งเช่นเดิม และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ)[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 ในนามพรรคพลังประชาชน ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย พร้อมกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อนเนวิน

ในปี 2553 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หลังจากนั้นเขาก็วางมือทางการเมือง จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2558

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมาชิกรัฐสภา". www.parliament.go.th.
  2. "แฉลึก" ที่มา 2กลุ่มการเมือง "งูเห่า" แทงหลังนายเก่า คบคิดศัตรู สู่ย้ายพรรค
  3. ย้อนอดีต เนวิน “รับขวัญ”หลากผู้นำรัฐบาล ก่อนประยุทธ์เยือนบุรีรัมย์
  4. เพื่อไทยเจาะ-ปชป.แทรก ถล่มป้อมค่ายบุรีรัมย์ดับฝัน'เนวิน'[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.mesati.com/funeral/name.php?id=3906
  6. นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์
  7. แม้วไม่ทิ้ง "วรเดช" บำเหน็จเก้าอี้ ผช.รัฐมนตรี
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗