เขตบางนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เขตบางนา | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: สู่บูรพาวิถี ของดีสายใจไทย ศูนย์ประชุมใหญ่ไบเทค ร้านอาหารใหญ่เล็กรสเลิศ สี่วัดประเสริฐชาวพุทธ ชุมชนเร่งรุดพัฒนา แหล่งวีรชนกล้าทหารเรือ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°40′48.29″N 100°35′30.48″E / 13.6800806°N 100.5918000°E | |
อักษรไทย | เขตบางนา |
อักษรโรมัน | Khet Bang Na |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 18.789 ตร.กม. (7.254 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563) | |
• ทั้งหมด | 88,535[1] คน |
• ความหนาแน่น | 4,712.07 คน/ตร.กม. (12,204.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10260 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1047 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 888 ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/bangna |
![]() |
เขตบางนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระโขนง มีคลองบางอ้อ, ถนนวชิรธรรมสาธิต, ซอยวชิรธรรมสาธิต 32, ซอยอุดมสุข 29 และถนนอุดมสุขเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองเคล็ดและคลองบางนา (สาหร่าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2457)[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง[3] แต่ใน พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า[4]
ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย[5] ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506[6] จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล[7]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง
ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางนาและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 2 แขวง[12] โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตบางนาในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2563) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2563) |
---|---|---|---|---|---|
บางนาเหนือ | Bang Na Nuea | 5.161 |
40,897 |
31,770 |
7,924.24
|
บางนาใต้ | Bang Na Tai | 13.628 |
47,638 |
35,839 |
3,495.60
|
ทั้งหมด | 18.789 |
88,535 |
67,609 |
4,712.07
|
โดยมีถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทั้ง 2 ดังกล่าว ตั้งแต่ท่าเรือสรรพาวุธจนถึงสะพานข้ามคลองบางนา
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางนา[13] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2541 | 99,312 | แบ่งเขต |
2542 | 100,201 | +889 |
2543 | 100,312 | +111 |
2544 | 100,854 | +542 |
2545 | 102,125 | +1,271 |
2546 | 102,777 | +652 |
2547 | 101,737 | -1,040 |
2548 | 101,667 | -70 |
2549 | 101,695 | +28 |
2550 | 101,360 | +335 |
2551 | 100,474 | -886 |
2552 | 99,561 | -913 |
2553 | 98,869 | -692 |
2554 | 97,039 | -1,830 |
2555 | 95,855 | -1,184 |
2556 | 95,204 | -651 |
2557 | 94,315 | -889 |
2558 | 93,297 | -1,018 |
2559 | 92,023 | -1,274 |
2560 | 90,852 | -1,171 |
2561 | 90,148 | -704 |
2562 | 90,125 | -23 |
2563 | 88,535 | -1,590 |
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางนา ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ถนนวชิรธรรมสาธิตถึงซอยสุขุมวิท 107 (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนอุดมสุข ตั้งแต่แยกอุดมสุขถึงคลองเคล็ด
- ถนนเทพรัตน ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนศรีนครินทร์ ตั้งแต่คลองเคล็ดจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนสรรพาวุธ ตั้งแต่แยกบางนาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ตั้งแต่คลองบางอ้อจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์ ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบูรพาวิถี ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ระบบขนส่งมวลชน
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง)
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (กำลังก่อสร้าง)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดบางนาใน
- วัดบางนานอก
- วัดศรีเอี่ยม
- วัดผ่องพลอยวิทยาราม
- ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (ไบเทค)
- ศูนย์พัฒนากีฬาราชนาวี บางนา
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง
สถานศึกษา[แก้]
|
|
สโมสรกีฬา[แก้]
- สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ
- สโมสรฟุตบอลบางนา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 5 มกราคม 2564.
- ↑ สำนักงานเขตพระโขนง. "ประวัติสำนักงานเขตพระโขนง." [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001018&strSection=aboutus&intContentID=184 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 31 มีนาคม 2555.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตต์จังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญญะบุรีในมณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 153–158. 21 สิงหาคม 2470. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตต์ท้องที่ในจังหวัดพระนครและพระประแดง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46: 2–5. 7 เมษายน 2472. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (79): 1776–1780. 30 พฤศจิกายน 2497. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประเวศ อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121): 2742–2743. 24 ธันวาคม 2506. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (พิเศษ 124 ก): 28–32. 31 ธันวาคม 2507. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง และตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 35–39. 18 พฤศจิกายน 2540. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางนา เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 26–28. 24 ธันวาคม 2540. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 50–52.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์สำนักงานเขตบางนา
- แผนที่เขตบางนา
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตบางนา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°40′48″N 100°35′30″E / 13.680083°N 100.591802°E
![]() |
เขตพระโขนง | เขตประเวศ | ![]() | |
อำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) แม่น้ำเจ้าพระยา |
![]() |
อำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) | ||
| ||||
![]() | ||||
อำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) | อำเภอเมืองสมุทรปราการ |