บุณย์ธิดา สมชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนน บุณย์ธิดา สมชัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 8
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน พ.ศ. 2566
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 (40 ปี)
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549–2566)
ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน)

แนน บุณย์ธิดา สมชัย ชื่อเล่น แนน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 8 เป็นอดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ส.ส.อีสาน ของพรรคประชาธิปัตย์ อีกทั้งยังเป็น ส.ส.หญิงที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[1] และเป็นบุตรของนายอิสสระ สมชัย[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ประวัติ[แก้]

บุณย์ธิดา สมชัย เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 มีชื่อเล่นว่า "แนน" เป็นบุตรของนายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีต ส.ส.อุบลราชธานีหลายสมัย จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จ.อุบลราชธานี ก่อนจะมาเรียนต่อระดับชั้นมัธยม ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง[แก้]

บุณย์ธิดาเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (อิสสระ สมชัย) ผู้เป็นบิดา เรื่องมากระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อิสสระ สมชัย) และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อุบลราชธานี สมัยแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เป็นหนึ่งในสี่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2562 ก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

บุณย์ธิดาได้ติดตามผู้เป็นบิดาทำงานด้านการเมืองมาตั้งแต่เด็ก จึงซึมซับเข้ามาโดยไม่รู้ตัว เคยมีความฝันอยากจะเป็นเชฟมาก่อน และปัจจุบันนี้หากมีเวลาว่าง ก็จะปรุงอาหารรับประทานเองหรือรับประทานในครอบครัวเสมอ[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เจาะใจ"บุณย์ธิดา"ส.ส.หญิงเด็กสุดในสภาฯ เบื้องหลังบุญเก่าพ่อ"อิสสระ"สู่ทายาทการเมือง แบบไม่ธรรมดา
  2. "หน้าใหม่-ทายาทการเมืองชิงส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ 2011-12-24.
  3. บ้านนี้สีฟ้า, รายการทางบลูสกายแชนแนล: 6 พฤษภาคม 2556
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔